Coaching and
Mentoring: ระบบพัฒนาการคิดของครู
พิทักษ์
โสตถยาคม
ภาคเรียนที่ผ่านมา
(เมษายน-สิงหาคม ๒๕๕๖) ผมได้รับโอกาสร่วมเป็นโค้ชกับทีมโค้ชของคณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching
and Mentoring) ตามความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สพฐ.) โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ กับคณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ครู ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์
มีความสามารถในการพัฒนาคุณภาพงานในหน้าที่ ไปสู่การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน รูปแบบการพัฒนาเน้น On the job training และให้มีระบบสนับสนุนแบบ Coaching & Mentoring เพื่อส่งเสริมจิตวิญญาณ อุดมการณ์ของความเป็นครู
และการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถด้าน Literacy,
Numeracy, Reasoning Ability และ ๕ Steps ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
ผมรับผิดชอบเป็นตัวช่วยเสริมสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงของโรงเรียน
จำนวน ๒ แห่ง จากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาทั้งสิ้น จำนวน ๑๖ แห่ง
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ โรงเรียนหนึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
มีนักเรียนประมาณ ๒,๔๐๐ คน
อีกโรงเรียนหนึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางที่มีนักเรียนประมาณ ๙๐๐ คน มีครู ผู้บริหารโรงเรียน
และศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับ ๒ โรงเรียน เรียนรู้ไปด้วยกัน จำนวน ๑๒ คน
กิจกรรมที่ผมเข้าไปร่วม workshop ๒ วัน ในช่วงเริ่มต้นโครงการ (๑-๒ พ.ค. ๒๕๕๖) ไปนิเทศติดตามด้วยระบบสนับสนุนแบบ
Coaching & Mentoring จำนวน ๒ ครั้ง (๑๔ มิ.ย. และ ๑๗ ก.ค. ๒๕๕๖) ระหว่างนั้น
ผมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง ๒ โรงเรียน ผ่านเว็บไซต์ชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู
(Educational Professional Learning Community) http://www.edu-prof.net/ พิจารณาแผนการจัดการเรียนรู้
และบล็อกการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการ
สิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้หลักของการโค้ชจากหัวหน้าโค้ช
(รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา) ก็คือ โค้ชจะไม่ทำ ๓ อย่างคือ (๑) ไม่สั่ง (๒)
ไม่สอน (๓) ไม่บอกคำตอบ และจะทำ ๓ อย่างคือ (๑) ให้กำลังใจ (๒) ชวนคิด
และ(๓) เชียร์ทำ เมื่อผมได้ลงพื้นที่ไปนิเทศติดตามโรงเรียนที่รับผิดชอบ ๒
โรงเรียน ด้วยระบบสนับสนุนแบบ Coaching & Mentoring ก็มุ่งเน้น “การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู”
ให้เกิดพลังความคิดที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
เมื่อโค้ชยึดมั่นในหลักการไม่ทำ ๓ อย่าง และจะทำ ๓ อย่างนั้นแล้ว
ระบบและกระบวนการโค้ชจึงช่วยกระตุ้นให้ครูได้คิด ได้ไตร่ตรองค้นคว้าหาคำตอบ
หรือตั้งสมมติฐานเพื่อพิสูจน์ในโอกาสต่อไป ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาที่ผมได้พูดคุยกับครูรายบุคคล
ขณะลงพื้นที่ไปโค้ชผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๒ คน เป็นครั้งแรก ในวันที่ ๑๔
มิถุนายน ๒๕๕๖
๑. ผอ.
เราพบ ผอ.ในเช้าวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มิ.ย. เวลาประมาณ
๐๘.๒๐ น. ณ ห้องทำงานของ ผอ.
ขณะที่ทีมโค้ชไปถึงโรงเรียนก่อนหน้านั้นประมาณ ๒๐ นาที ผอ.บอกว่า
เช้านี้เข้าไปติดต่องานที่สำนักงานเขตก่อนที่จะเดินทางมาโรงเรียนจึงมาช้าหน่อย
แล้วสอบถามถึงการสถานที่พักแรมของทีมโค้ช จากนั้น ผอ.ก็นั่งอ่านงานต่างๆ
ที่อยู่บนโต๊ะ ขณะนั้น ผมได้ยินรอง
ผอ.ประกาศเสียงตามสายของโรงเรียนเชิญครูตามรายชื่อที่ประกาศให้มาร่วมประชุมที่ห้องประชุมใกล้ห้อง
ผอ. จากนั้นเวลา ๐๘.๔๕ น.
เราได้รับแจ้งว่าคุณครูทุกท่านมาพร้อมแล้ว และเชิญทีมเราไปที่ห้องประชุม ผอ.กล่าวสั้นๆ ช่วงเริ่มประชุมว่า
พร้อมรับคำแนะนำจากทีมโค้ช ผมจึงตั้งคำถามเริ่มต้นคุย ดังนี้
โค้ช: ขอให้ท่าน ผอ.เล่าว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
ผอ.: ได้กระตุ้นรองฯ และครู ถามว่าทำถึงไหนแล้ว และติดตาม
รอง ผอ.: ขอเสริมท่าน ผอ. หลังจากกลับมาก็มีการประชุมที่ห้องนี้ มีการดู VDO lesson study และตอบ blog
หลังจากที่ ผอ.นั่งรับฟังการสนทนาระหว่างโค้ชและครู ตั้งแต่ ๐๘.๔๕-๑๑.๐๐ น. ผอ.กล่าวในตอนท้ายของการประชุมว่า... “วันนี้เข้าใจมากขึ้น แล้ววงจร ๒ จะดีขึ้นมาก ที่ผ่านมาทำแบบหลวมๆ จากนี้ ผอ.ก็จะเข้ามาศึกษาข้อมูล (โครงการ) ให้มากขึ้น” นอกจากนั้นยังเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ที่ ผอ.มองว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับ IS (Independent Study) ที่ต้องดำเนินการในฐานะโรงเรียนมาตรฐานสากล
สะท้อนคิดกรณี ผอ.
แรกๆ ผอ.ดูเฉยๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมอบให้รองฯ และครูดำเนินการกันไป ซึ่งแสดงถึงการมีส่วนร่วมในเชิงความคิด และการนำองค์กรยังไม่มากนัก หลังจากผ่านไป ๒ ชั่วโมงของการสนทนาพูดคุย ผอ.ได้สะท้อนความคิดว่า ผอ.มีความเข้าใจมากขึ้น และตั้งใจจะศึกษาลงลึกเกี่ยวกับโครงการให้มากขึ้น จะจัดทำแผนและดำเนินการให้กระชับและมีโฟกัสมากขึ้น
ผมรู้สึกพึงพอใจที่เห็นความคิด ความเข้าใจของ ผอ.เช่นนี้ แต่มีประเด็นหนึ่งคือ ผอ.ยังไม่มีคู่บัดดี้ (ร.ร.นี้มีผู้เข้าร่วมโครงการ ๙ คน จับคู่ได้ ๔ คู่ เหลือ ผอ.หนึ่งคน) ดังนั้น อาจขอให้ ศน.ประจำโรงเรียนมาเป็นคู่บัดดี้ร่วมเรียนรู้กับท่าน ผอ.
๒. รอง ผอ.
รอง ผอ.เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียน ได้เล่าให้ทีมโค้ชฟังว่า หลังจากกลับมาก็มีการประชุมที่ห้องนี้ มีการดู VDO lesson study และตอบ blog ส่วนคู่บัดดี้ของรอง ผอ.คือ ครูคนที่ ๙ ครูผู้สอนภาษาไทย ครูคนที่ ๙ บอกว่า ท่านรองฯมีภาระงานเยอะ แต่ก็จะช่วยให้คำแนะนำได้ และรองฯ ก็ชื่นชมครูคนที่ ๙ ว่าเป็นครูดีที่ได้รับเลือกให้เป็นครูประกายเพชร (ได้ยินว่าเกี่ยวข้องกับทีวีไกลกังวล) ซึ่งรองฯ ไม่ห่วงอยู่แล้ว
โค้ชมองว่า เมื่อครูมีคู่บัดดี้และพูดคุยกันเกี่ยวกับ “ความสามารถในการสอน” ใน ๔ จุดเน้น ซึ่งรองฯ ก็สามารถช่วยครูคนที่ ๙ ในเรื่องนี้ได้ แล้วครูคนที่ ๙ จะช่วยรองฯในประเด็นใด เพราะคู่บัดดี้ต้องมีทั้ง give & take ผมจึงตั้งคำถามกับรองฯ ดังนี้
ผอ.: ได้กระตุ้นรองฯ และครู ถามว่าทำถึงไหนแล้ว และติดตาม
รอง ผอ.: ขอเสริมท่าน ผอ. หลังจากกลับมาก็มีการประชุมที่ห้องนี้ มีการดู VDO lesson study และตอบ blog
หลังจากที่ ผอ.นั่งรับฟังการสนทนาระหว่างโค้ชและครู ตั้งแต่ ๐๘.๔๕-๑๑.๐๐ น. ผอ.กล่าวในตอนท้ายของการประชุมว่า... “วันนี้เข้าใจมากขึ้น แล้ววงจร ๒ จะดีขึ้นมาก ที่ผ่านมาทำแบบหลวมๆ จากนี้ ผอ.ก็จะเข้ามาศึกษาข้อมูล (โครงการ) ให้มากขึ้น” นอกจากนั้นยังเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ที่ ผอ.มองว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับ IS (Independent Study) ที่ต้องดำเนินการในฐานะโรงเรียนมาตรฐานสากล
สะท้อนคิดกรณี ผอ.
แรกๆ ผอ.ดูเฉยๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมอบให้รองฯ และครูดำเนินการกันไป ซึ่งแสดงถึงการมีส่วนร่วมในเชิงความคิด และการนำองค์กรยังไม่มากนัก หลังจากผ่านไป ๒ ชั่วโมงของการสนทนาพูดคุย ผอ.ได้สะท้อนความคิดว่า ผอ.มีความเข้าใจมากขึ้น และตั้งใจจะศึกษาลงลึกเกี่ยวกับโครงการให้มากขึ้น จะจัดทำแผนและดำเนินการให้กระชับและมีโฟกัสมากขึ้น
ผมรู้สึกพึงพอใจที่เห็นความคิด ความเข้าใจของ ผอ.เช่นนี้ แต่มีประเด็นหนึ่งคือ ผอ.ยังไม่มีคู่บัดดี้ (ร.ร.นี้มีผู้เข้าร่วมโครงการ ๙ คน จับคู่ได้ ๔ คู่ เหลือ ผอ.หนึ่งคน) ดังนั้น อาจขอให้ ศน.ประจำโรงเรียนมาเป็นคู่บัดดี้ร่วมเรียนรู้กับท่าน ผอ.
๒. รอง ผอ.
รอง ผอ.เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียน ได้เล่าให้ทีมโค้ชฟังว่า หลังจากกลับมาก็มีการประชุมที่ห้องนี้ มีการดู VDO lesson study และตอบ blog ส่วนคู่บัดดี้ของรอง ผอ.คือ ครูคนที่ ๙ ครูผู้สอนภาษาไทย ครูคนที่ ๙ บอกว่า ท่านรองฯมีภาระงานเยอะ แต่ก็จะช่วยให้คำแนะนำได้ และรองฯ ก็ชื่นชมครูคนที่ ๙ ว่าเป็นครูดีที่ได้รับเลือกให้เป็นครูประกายเพชร (ได้ยินว่าเกี่ยวข้องกับทีวีไกลกังวล) ซึ่งรองฯ ไม่ห่วงอยู่แล้ว
โค้ชมองว่า เมื่อครูมีคู่บัดดี้และพูดคุยกันเกี่ยวกับ “ความสามารถในการสอน” ใน ๔ จุดเน้น ซึ่งรองฯ ก็สามารถช่วยครูคนที่ ๙ ในเรื่องนี้ได้ แล้วครูคนที่ ๙ จะช่วยรองฯในประเด็นใด เพราะคู่บัดดี้ต้องมีทั้ง give & take ผมจึงตั้งคำถามกับรองฯ ดังนี้
โค้ช: ถ้าครูดูกันที่ความสามารถในการสอน แล้วกรณีรองฯล่ะจะดูประเด็นใด
รอง ผอ.: การสนับสนุนครู
โค้ช: นั่นแสดงว่า รองฯช่วยครูคนที่ ๙ ในเรื่องความสามารถในการสอน และครูคนที่ ๙ ช่วยรองฯในเรื่อง ความสามารถในการสนับสนุน นิเทศช่วยเหลือครู ดังนั้น ในการทำงานของคู่บัดดี้คู่นี้ รองฯก็จะได้ทำหน้าที่นิเทศช่วยเหลือครู โดยมีครูคนที่ ๙ เป็นกรณีศึกษา ให้รองฯ ได้ทดลองใช้วิธีการสนับสนุนต่างๆ และดูผลที่เกิดขึ้น และครูคนที่ ๙ จะเป็นกระจกสะท้อนการทำหน้าที่นี้ของรองฯ ให้ดียิ่งขึ้น
สะท้อนคิดกรณีรอง ผอ.
ผมรับรู้ได้ว่าท่านรองฯ มองเห็นเป้าหมายการทำงานร่วมกันของคู่บัดดี้ชัดเจนขึ้น มีประเด็นที่จะมุ่งเน้นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ที่ต้องนิเทศ สนับสนุนส่งเสริมครู คาดหวังว่าพบกันครั้งหน้า จะมีผลการทำงานร่วมกันของรองฯ และครูคนที่ ๙ มานำเสนอให้ได้ชื่นชมกัน
๓. ครูคนที่ ๑
ครูคนที่ ๑ เป็นครูคณิตศาสตร์และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นที่พึ่งทางวิชาการให้กับครูในกลุ่มสาระ ครูเล่าให้ฟังว่า ได้สอนร่วมกันกับครูคนที่ ๒ คู่บัดดี้มาร่วม ๓ ปีแล้ว โดยปีแรกครูคนที่ ๑ เป็นผู้สอนและครูคนที่ ๒ เป็นผู้นั่งอยู่หลังห้อง ทำหน้าที่สังเกต บันทึกรายละเอียดการสอน GSP (Geometer’s Sketchpad) ของครูคนที่ ๑ ปีต่อมาครูคนที่ ๒ ทำหน้าที่สอนหน้าชั้นบ้าง และครูคนที่ ๑ จะนั่งอยู่หลังห้องสังเกต และคอยช่วยเสริมเติมเต็มการสอนของครูคนที่ ๒ ซึ่งในระหว่างการสนทนานี้ ครูคนที่ ๒ ก็ขอบคุณฝ่ายบริหารที่ให้โอกาสเรียนรู้จากครูคนที่ ๑ ทั้งๆ ที่จำนวนหน่วยกิตวิชานี้น้อยมาก (๐.๕ หน่วยกิต) แต่ใช้ครูถึง ๒ คน
ครูคนที่ ๑ ได้เล่าถึงการทำงานร่วมกันของคู่บัดดี้ว่า ได้ช่วยให้คำแนะนำอยู่เสมอ อาทิ เมื่อสังเกตเห็นครูคนที่ ๒ สอนสามเหลี่ยมโดยนำไม้มาประกอบการสอน จึงแนะว่าให้ใช้ GSP มาสอนเพราะ GSP มีเครื่องมือของโปรแกรมที่เอื้อให้นักเรียนได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
สิ่งที่ครูคนที่ ๑ สะท้อนเกี่ยวกับการใช้ ๕ steps ว่า ส่วนใหญ่ครูคนที่ ๑ จะใช้ขั้นที่ ๑-๔ เป็นปกติไม่มีปัญหา แต่คิดว่าจะมีปัญหาในขั้นที่ ๕ การบริการสังคม จะสอนอย่างไร
ครูคนที่ ๑ บอกว่า ตอนสมัครเข้าร่วมโครงการไม่ทราบว่าจะต้องมาจับคู่บัดดี้ และมีกิจกรรมติดตามต่อเนื่อง มิฉะนั้นจะมอบหมายให้ครูรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรม เพราะขณะนี้ภาระงานของโรงเรียนค่อนข้างหนัก ครูกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ต้องกระจายตัวไปรับผิดชอบช่วยงานโรงเรียนฝ่ายต่างๆ และกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ยังต้องทำคลังข้อสอบมาตรฐานในลักษณะข้อสอบ O-NET ด้วย ซึ่งบุคลากรที่ต้องทำก็เป็นชุดเดียวกัน
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๑
การทำงานร่วมกันระหว่างคู่บัดดี้น่าจะราบรื่น เพราะได้ดำเนินการแบบ team teaching มาก่อนหน้านี้
ต่อจากนี้ก็คงจะได้เจาะลึก และพูดคุยกันมากขึ้นในจุดเน้นของโครงการ ๔ เรื่อง จากคำถามที่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร และหนักใจในขั้นที่ ๕ เมื่อจบจากวงเสวนาผมรู้สึกได้ว่าความหนักใจเปลี่ยนเป็นความเข้าใจและเห็นแนวทางการประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกันของคู่บัดดี้
ในฐานะโค้ชไม่รู้สึกหนักใจเลย เพราะครูคนที่ ๑ เป็นครูที่มีศักยภาพสูง เป็นที่พึ่งของโรงเรียน และเป็นตัวอย่างให้กับครูอื่นๆ เสมอมา
๔. ครูคนที่ ๒
ครูคนที่ ๒ เป็นครูผู้สอนคณิตศาสตร์รุ่นใหม่ของโรงเรียน สอนชั้น ม.๑ ในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม จากคำบอกเล่าของครู ทำให้รับรู้ได้ว่า คุณครูคนที่ ๒ เป็นคนที่เปิดรับ เรียนรู้จากครูคนที่ ๑ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ GSP ดังนั้น การทำงานร่วมกันกับคู่บัดดี้คือ ครูคนที่ ๑ จึงไม่น่าเป็นห่วง เพราะสอนคู่กัน พูดคุยปรึกษากันมาตลอด ๓ ปี
ครูคนที่ ๒ ได้บอกถึงความลำบากหากจะต้องใช้ ๕ steps โดยเฉพาะขั้นที่ ๕ ในบางเรื่อง อาทิ ลำดับอนุกรม และได้เล่าให้ฟังว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน ๑ ชั่วโมง จะสามารถสอนได้เพียง ๓ ขั้นแรกเท่านั้น จึงต้องให้นักเรียนไปทำอีก ๒ ขั้น นอกเวลาเรียน ดังนั้น หากจะสอนทั้ง ๕ ขั้นให้ครบ น่าจะใช้เวลาสักชั่วโมงครึ่ง และมีคำถามว่า จำเป็นต้องสอน ๕ steps ทุกแผนหรือไม่ หรือต้องให้นักเรียนทำขั้นที่ ๕ ทุกแผนหรือไม่ ผมจึงชวนคุย ดังนี้
โค้ช: (โยนคำถามนี้เข้าไปในวงสนทนา) กลับไปที่ประเด็นที่ครูคนที่ ๘ ได้เปิดประเด็นไว้เรื่องทุกแผนไม่ทุกแผน ตรงนั้นได้ความคิดอย่างไรครับ
ครูคนที่ ๘ : ไม่จำเป็นต้องทุกแผน เห็นว่าควรเป็นหน่วยการเรียนรู้
โค้ช: ซึ่งครูคนที่ ๒ ก็คงได้เห็นทางเลือกว่า จะใช้ ๕ steps อย่างไร ก็ขอให้ลองพิจารณาดู
โค้ช: คราวนี้ลองมาพิจารณาการเรียนรู้ในขั้นที่ ๕ การบริการชุมชนสังคม พี่ๆ คิดว่า คำว่า “ชุมชน” ในที่นี้คืออะไร ชุมชนที่เล็กที่สุดมีขนาดเท่าไร และชุมชนที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่าไร ยกตัวอย่างว่า ผม ครูคนที่ ๑ และ ผอ. เราสามคนนี้รวมตัวกันถือเป็นชุมชนไหม แล้วชุมชนมีกี่ขนาดและระดับครับ
ครู: ในห้องเรียน
ครู: ในโรงเรียน
ครู: คนในครอบครัวของเขา
ครู: ในหมู่บ้าน
ครู: เว็บไซต์ โลก
โค้ช: จากคำตอบของพี่ๆ แสดงว่า เราเห็นมิติของชุมชนแบบใหญ่สุดคือ สังคมโลก และค่อยๆ เล็กลงเป็น โรงเรียน ห้องเรียน หรือแม้แต่ครอบครัวตนเอง ดังนั้น เวลาเราจะให้นักเรียนเรียนรู้ขั้นที่ ๕ เราก็สามารถให้นักเรียนพิจารณาเลือกได้ และพี่ๆ คิดว่าจะเลือกอย่างไรครับ
ครู: ดูธรรมชาติของเรื่องที่เรียนว่า จะใช้ชุมชนระดับใด
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๒
แรกๆ สังเกตเห็นความกังวลในการให้นักเรียนเรียนรู้ขั้นที่ ๕ แต่เมื่อได้ฟัง ได้คิด ในการร่วมเสวนากันใน ๒ ชั่วโมงนี้แล้ว ครูน่าจะเข้าใจว่าขั้นที่ ๕ นำความรู้ไปสู่การบริการชุมชนสังคมเป็นอย่างไร
นั่นแสดงว่า ครูรู้ว่าชุมชนมีหลายระดับ และเป็นการเรียนรู้-ได้คำตอบจากการพูดคุย-ไตร่ตรองตอบคำถาม ซึ่งไม่เพียงครูคนที่ ๒ เท่านั้นที่เห็นแนวทาง ยังช่วยให้ครูอื่นๆ ได้รู้เห็นเช่นนั้นไปด้วย
๕. ครูคนที่ ๓
ครูคนที่ ๓ เป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ชั้น ม.๔ และเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จับคู่บัดดี้กับครูคนที่ ๔ ซึ่งเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษ เป็น ผอ.ศูนย์ ERIC ของโรงเรียน
ครูคนที่ ๓ เล่าถึงการทำงานร่วมกันกับคู่บัดดี้ว่า ได้แอบดู แอบได้ยินเสียงจากการสอนของครูคนที่ ๔ เพราะสอนห้องเรียนติดกัน ได้รู้ว่าครูคนที่ ๔ สอนให้นักเรียนนำเสนองานแบบคู่บ้าง แบบกลุ่มบ้าง แต่แผนการสอนที่จะใช้เป็นสื่อกลางเพื่อการพูดคุยกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเขียนแผนและส่งให้กันดู
สำหรับสัมพันธภาพระหว่างคู่บัดดี้ ครูคนที่ ๔ ซึ่งเป็นคู่บัดดี้ของครูคนที่ ๓ เล่าให้ฟังว่า ครูคนที่ ๓ เป็นเพื่อนที่สนิทกัน ครั้งที่ไปเข้า workshop ก็ได้นอนห้องเดียวกัน ดีใจที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันอีกครั้งก่อนเกษียณ นอกจากนั้น ลูกของครูคนที่ ๓ ก็เป็นลูกศิษย์ปัจจุบันของครูคนที่ ๔ ด้วย
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๓
ผมยังไม่ได้ทราบความเข้าใจและสภาพการปฏิบัติของครูคนที่ ๓ นัก จากการสังเกตคำบอกเล่าของครูคนที่ ๓ ทำให้เห็นว่า ครูทั้งสองยังไม่ได้สังเกตกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง ดูได้จากการ “แอบดู แอบได้ยิน”
สังเกตเห็นว่าครูคนที่ ๓ จะนิ่งๆ และพูดน้อย แต่เมื่อจบการสนทนาพูดคุยครั้งนี้เห็นว่าครูคนที่ ๓ มีความผ่อนคลายมากขึ้น
ซึ่งผมคาดหวังว่า ครูคนที่ ๓ จะมีความเข้าใจในจุดเน้น ๔ เรื่อง เช่นเดียวกับครูท่านอื่นๆ และการทำงานร่วมกันกับบัดดี้คงจะมีการตระเตรียมให้การทำงานร่วมกันได้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
๖. ครูคนที่ ๔
ครูคนที่ ๔ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษและหัวหน้าศูนย์ ERIC ของโรงเรียน กำลังจะจบปริญญาเอก ได้เล่าให้ฟังว่า ครูสอนนักเรียนโดยเน้นอ่านเขียน ซึ่งตรงกับ literacy การสอนจะเน้นเรื่องใกล้ตัว และแผนเป็นแบบ ๕ steps แต่ก็มีอุปสรรคในขั้นที่ ๕ ที่จะมุ่งให้เด็กอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูคนที่ ๔ ให้ความสนใจความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้นักเรียนทำ self study progress ซึ่งจะเห็น literacy และ reasoning ability และเห็น leadership ของเด็กชัดเจน
ครูคนที่ ๔ : ขอถามว่าจะเอาขั้นที่ ๕ ขึ้นก่อนได้หรือไม่ และตนเองสนใจจะเปรียบเทียบ ๒ แบบ แบบแรกเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเรียงขั้นที่ ๑-๕ และแบบที่ ๒ จะเรียงเริ่มจากขั้นที่ ๕ ก่อน
โค้ช: น่าสนใจมากเลยที่พี่คิดจะเปรียบเทียบ ๒ แบบ ก่อนจะเริ่มต้นลองพิจารณาว่า แต่ละแบบเป็นอย่างไร หากเป็นกระบวนการเดิมจะเริ่มต้นที่ step ๑-๕ ก็แสดงว่า ขั้นที่ ๑-๔ นักเรียนจะเริ่มด้วยคำถามและหาคำตอบ จนได้ความรู้ความเข้าใจชุดหนึ่งขึ้นมา ด้วยตัวของเขาเอง แล้วนักเรียนจึงนำความรู้ที่ได้นั้น ไปเผยแพร่สู่ชุมชนและสังคม คราวนี้เมื่อพี่จะเริ่มต้นด้วยขั้นที่ ๕ คำถามคือ นักเรียนจะนำความรู้ลักษณะใดไปสู่ชุมชน ไปเผยแพร่ หรือบริการสังคม จะเป็นความรู้ที่สดใหม่ ที่ได้จากการสรุปของเด็กเอง หรือเป็นความรู้ที่มีอยู่แล้วในตำรา หรือที่ปรากฏในหนังสือ ตรงนี้ก็อยากฝากไว้ให้เป็นประเด็นเพื่อพิจารณา อย่างไรก็ตาม ผมก็สนับสนุนและเชียร์ให้พี่ลองนำ ๒ แบบนี้ไปลองปฏิบัติพิสูจน์ดู
ครูคนที่ ๔ : พี่ได้โพสต์เข้าไปในเว็บไซต์แล้ว แต่ไม่เห็นมีใครตอบกลับเลย
โค้ช: ตอบกลับมาแล้วครับ ในเรื่อง learning to question ที่พี่มีคำถามอยู่ ๕ ข้อ ใช่ไหมครับ (ครูคนที่ ๔ พยักหน้า) ผมเขียนไปว่า น่าสนใจมาก และมีคำถามถามพี่ไว้ในเว็บว่า คำถามทั้ง ๕ ข้อที่เขียนไว้นั้น ใครเป็นคนตั้งคำถาม ครูหรือนักเรียน ...เมื่อลองพิจารณาจุดเน้นในโครงการนี้ทั้ง Literacy, Numeracy, Reasoning Ability และ ๕ steps เราต้องการให้ใครเป็นผู้แสดงออกซึ่งความสามารถเหล่านี้
ครู: นักเรียน
โค้ช: แสดงว่า ขั้นต่างๆ ของ ๕ steps นักเรียนจะเป็นผู้ทำพฤติกรรมนั้น ดังนั้น ผู้ตั้งคำถามในขั้นที่ ๑ ก็คือ
ครู: นักเรียน
โค้ช: นั่นคือ ครูไม่ใช่เป็นผู้ตั้งคำถามหลักเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน แต่ครูจะเป็นผู้ถามคำถามเพื่อกระตุ้น หรือ build อารมณ์ให้นักเรียนเกิดคำถาม และกระหายใคร่รู้ ในประเด็นคำถามที่จะเกิดขึ้นจากเด็ก คำถามนี้ต้อง “ออกมาจากปากของเด็ก” เด็กจะเป็นผู้พูดเอง
ในช่วงพูดคุยหลังรับประทานอาหารกลางวัน ครูคนที่ ๔ บอกกับผมว่า พี่รู้แล้ว พี่จะเปลี่ยนจากที่พี่ตั้งคำถาม ๕ ข้อนั้น เป็นจะให้เด็กคิดคำถามของเขากันเอง จากภาพที่พี่นำมาให้ดู
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๔
ผมรู้สึกดีมากเลยกับคำบอกเล่าจากปากครูคนที่ ๔ ที่บอกว่า จะปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ของตนเองใหม่ เป็นให้เด็กตั้งคำถามเอง ผมถือว่าเป็น “เสียงสวรรค์” แสดงความเข้าใจใน ๕ steps ของครูคนที่ ๔ ที่น่าพึงพอใจมาก ส่วนความเข้าใจเรื่องอื่นๆ ไม่น่าห่วงนัก อาทิ บทเรียนเรื่องต่อไปเด็กจะได้เรียนเรื่อง Numeracy
ในการทำงานร่วมกับบัดดี้ก็น่าติดตาม เพราะการแสดงออกให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในกันและกันของครูทั้งสอง ประกอบกับความเข้าใจเรื่องต่างๆ ในช่วงตั้งวงคุยกันครั้งนี้น่าจะทำให้มีผลการปฏิบัติที่น่าสนใจ
๗. ครูคนที่ ๕
ครูคนที่ ๕ ในวัย ๕๒ ปี สอนสังคมศึกษาระดับชั้น ม.๖ วันนี้ครูเล่าให้ฟังว่า ได้สอนนักเรียนไปเรียบร้อยแล้วเมื่อคาบที่ ๔ เรื่อง การประกันภัยรถ (การทำ พ.ร.บ.) ให้นักเรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ให้รู้ว่าใครควรเป็นผู้ทำ พ.ร.บ. และตั้งใจจะให้เด็กนำความรู้ที่ได้เรียนนี้ไปเผยแพร่ให้ผู้ปกครอง ซึ่งในขั้นตอนการสอนจะถามนักเรียนว่าขี่มอเตอร์ไซด์ไหม มี พ.ร.บ.ไหม ถ้าประสบอุบัติเหตุจะทำอย่างไร แล้วถามนักเรียนว่าใครเคยประสบอุบัติเหตุบ้าง ถ้าไปโรงพยาบาลต้องจ่ายเงินเองไหม พบว่ามีเด็กบางคนเคยประสบอุบัติเหตุต้องไปโรงพยาบาลและต้องจ่ายเงินเอง ครูจึงบอกไปว่า ทำไมไม่เบิก จากนั้นถามว่า ใครรู้จัก พ.ร.บ.บ้าง รู้ไหมว่าทำไมจึงทำ แล้วให้เด็กตอบคำถาม ชี้ชวนให้เห็นว่า พ.ร.บ.สำคัญ สุดท้ายได้ให้นักเรียนอ่านเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พ.ร.บ. และให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโดยให้วิเคราะห์กรณีศึกษา ๒๐ ข้อ และให้พิจารณาว่าใครจะเป็นผู้ต้องทำ พ.ร.บ.
ครูคนที่ ๕ บอกว่าชั่วโมงแรกสอนได้ ๓ ขั้น ครูจะถามๆ นักเรียนก็จะใช้เหตุผลมาคุยกัน ให้ศึกษาเอกสารและสรุป ส่วนชั่วโมงที่ ๒-๓ จะให้เรียนรู้ต่อไปว่า ทำ พ.ร.บ.แล้วได้อะไร และจะเรียกร้องสินไหมทดแทนอย่างไร รวมทั้งจะให้เรียนขั้นที่ ๔-๕ โดยให้นำเสนอความรู้ต่อชุมชน
ครูคนที่ ๕ พูดถึงลักษณะการสอนของตนเองว่า เป็นการสอนโดยตั้งคำถามในลักษณะ “ชอนไชไปถึงไส้” ส่วนการทำงานกับบัดดี้ก็บอกว่า โชคดีที่เป็นคู่บัดดี้ที่คุยกันได้ตลอดอยู่แล้ว เมื่อได้ฟังครูคนที่ ๕ เล่าให้ฟัง ผมชวนคุยดังนี้
โค้ช: ใครเป็นผู้ตั้งคำถาม
ครูคนที่ ๕ : ครู
โค้ช: กระบวนการเรียนรู้ ๕ steps นั้น ตั้งแต่ตั้งคำถามในขั้นที่ ๑ จนถึงขั้นที่ ๕ learning to service เจตนาเขาจะให้เป็นการแสดงออกของใคร
ครูคนที่ ๕ : นักเรียน
โค้ช: แล้วเด็กที่เรียนวันนี้จะได้ฝึกตั้งคำถามช่วงไหนบ้าง
ครูคนที่ ๕ : เมื่อครูถามนักเรียน นักเรียนก็จะสงสัย และเกิดมีคำถามขึ้นในใจ
โค้ช: เราจะรู้ว่าเด็กเกิดคำถามขึ้น หรือตั้งคำถามได้แล้วนั้น จะทำให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นได้อย่างไร
ครูคนที่ ๕ : ให้เขียน
โค้ช: การเขียนจะทำให้เราได้หลักฐานเชิงประจักษ์ และสามารถตรวจสอบได้อย่างดีเลยว่า เด็กตั้งคำถามได้ดีเพียงใด
ครูคนที่ ๕ : จะทำเพียง ๑ ห้องเรียนได้หรือไม่
โค้ช: พี่คิดว่า ๑ ห้องเรียนกับทุกห้องเรียนจะแตกต่างกันอย่างไร
ครูคนที่ ๕ : จำนวนนักเรียนจะเยอะเกินไป พี่คิดว่าการทำงานของเราเป็นแบบวิจัยปฏิบัติการ ครูต้องใส่ใจเด็กมากๆ
โค้ช: แล้วพี่คิดว่า กี่ห้องจึงจะทำได้ดี
ครูคนที่ ๕ : ๑ ห้องเรียน
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๕
บุคลิกลักษณะของครูคนที่ ๕ เป็นผู้เรียนรู้เร็ว และเป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยคำถามที่ดีมาก สถานการณ์ที่นำมาให้นักเรียนได้เรียนรู้ก็เป็นเรื่องสำคัญจำเป็นใกล้ตัว
ครูคนที่ ๕ มีวิธีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในชั้นเรียนด้วยการบันทึกพฤติกรรมที่โดดเด่นของนักเรียน ตอนหลังครูเห็นเองว่า การเก็บข้อมูลที่พบตามธรรมชาติ อาจไม่ครบถ้วน เพียงพอ ต่อการตอบว่าประเด็นที่เป็นจุดเน้นดีขึ้นหรือไม่เพียงใด ครูจึงคิดว่าจะปรับระบบการเก็บข้อมูลสภาพเริ่มต้นของนักเรียนแบบใหม่ ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นนิมิตหมายที่ดีมาก
๘. ครูคนที่ ๖
ครูคนที่ ๖ ในวัย ๕๐ ปี สอนสังคมศึกษาระดับชั้น ม.๔/๑ เมื่อเริ่มพูดคุยครูได้เล่าให้ฟังว่าได้ใช้ ๕ steps เป็นพื้นฐานในการสอนอยู่แล้ว การทำงานระหว่างคู่บัดดี้ได้เอาแผนการสอนมาดูกัน มาคุยกัน แต่ยังไม่ได้สังเกตการสอน ตั้งใจว่าจะสังเกตในสัปดาห์หน้า
ครูบอกสภาพปัจจุบันของนักเรียนว่า นักเรียนยังไม่พร้อมในส่วนของการให้เหตุผล ก็ได้คุยกับคู่บัดดี้ว่า จะหาวิธีการช่วยให้เด็กคิดให้ได้ และสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของตนเองว่า เป็นคนใจร้อน ชอบบอกเฉลยคำตอบให้นักเรียน นอกจากนั้น ครูมีความสนใจในโครงงานคุณธรรมเป็นพิเศษ นักเรียนทุกคนจะได้ทำโครงงานคุณธรรม ปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง และถ้าใครทำได้ดีจะส่งเข้าประกวดระดับชาติ
แผนการสอนของครูคนที่ ๖ ที่เตรียมไว้เป็นเรื่องโครงสร้างทางสังคม จำนวน ๒ ชั่วโมง เริ่มต้นด้วยครูตั้งประเด็นจากภาพครอบครัวและกลุ่มคน ครูถามนักเรียนว่า ภาพนี้เชื่อมโยงกับโครงสร้างทางสังคมอย่างไร ให้นักเรียนช่วยกันสรุปประเด็น จากนั้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าตามที่ครูกำหนด อาทิ โครงสร้างทางสังคมคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ลักษณะเป็นอย่างไร ฯ ซึ่งให้เด็กไปค้นเป็นกลุ่ม บันทึก และสรุปเป็นผังความคิด ส่วนชั่วโมงที่ ๒ จะให้ส่งตัวแทนกลุ่มไปนำเสนอให้เพื่อนฟัง จากนั้นก็ช่วยกันสรุป และนำไปจัดป้ายนิเทศที่บอร์ดหน้าห้องเรียน
โค้ช: ในการเรียนรู้เรื่องนี้ นักเรียนจะได้ตั้งคำถามในช่วงใดบ้าง
ครูคนที่ ๖ : ในช่วงที่ฟังเพื่อนนำเสนอ พี่จะให้เพื่อนนักเรียนถามผู้นำเสนอ มิฉะนั้นก็จะให้ผู้นำเสนอเป็นผู้ถามเพื่อน
โค้ช: ถ้าพิจารณา ๕ steps ขั้นการตั้งคำถามจะอยู่ช่วงใด
ครูคนที่ ๖ : ขั้นแรก
โค้ช: ทำไมจึงอยู่ขั้นแรก
ครูคนที่ ๖ : คงจะให้เด็ก “เอ๊ะ!” เอง คล้ายกับที่เคยทำในโครงการ SEET เลย
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๖
ครูคนที่ ๖ ได้เห็นความเชื่อมโยงของการให้เด็กสงสัย และ “เอ๊ะ!” เอง จากการทำงานโครงการ SEET ทำให้การเดินหน้าต่อไปน่าจะราบรื่นยิ่งขึ้น จุดที่ครูคุ้นเคยจากการสอนโครงงานคุณธรรมน่าจะทำให้กระบวนการพาเด็กเรียนรู้ ๕ steps เป็นไปอย่างมั่นใจ สิ่งที่ครูเห็นเองแล้วว่า ตนเองเป็นครูที่อยากบอกความรู้ให้เด็ก แทนที่จะให้เด็กได้คิด และเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง ตรงจุดนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายครูคนที่ ๖ มากๆ ในการปรับเปลี่ยนตนเอง และใช้โอกาสการเข้าร่วมโครงการนี้ ฝึกฝนตนเอง
ในช่วงที่ครูบอกว่า ได้ให้เด็กตั้งคำถามจากช่วงที่เพื่อนนำเสนอ ผมก็น่าจะใช้โอกาสนี้ชี้ให้เห็นว่า จะเริ่มต้นวงจรการเรียนรู้ ๕ steps จากจุดนี้ก็ได้ เด็กๆ จะได้ประเด็นที่ค้างคาใจ อยากเรียนรู้ต่อ แล้วครูจึงให้นักเรียนใช้เป็นโจทย์การสืบค้นจนได้ข้อสรุปที่ลึกซึ้งขึ้น จนนำไปสู่ขั้นที่ ๕ ได้อย่างดี
๙. ครูคนที่ ๗
ครูคนที่ ๗ เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.๒ และครั้งนี้เจาะจงสนใจห้อง ม.๒/๕ ระหว่างการสนทนาคุณครูได้เปิดเอกสารวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนของ ๕E กับ ๕ steps โดยระบุว่าแต่ละขั้นตรงกันอย่างไร ครูคนที่ ๗ ได้เขียนแผนการสอนเสร็จและส่งให้บัดดี้ดูแล้ว แต่บัดดี้ยังไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะกลับมา ซึ่งครูคนที่ ๗ ก็บอกว่าได้สอดแทรกจุดเน้นของโครงการไว้อย่างครอบคลุม
โค้ช: เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เรามุ่งเน้นนั้นเกิดขึ้นในตัวเด็กแล้ว หรือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กแต่ละคนมีสภาพเริ่มต้นก่อนพัฒนาระดับใด
ครูคนที่ ๗ : ใช้การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
โค้ช: ใช้แบบทดสอบดูเหมือนจะเหมาะกับการวัดประเมินเนื้อหาสาระความรู้จากบทเรียน เราจะดูจากอย่างอื่นได้อีกไหม
ครูคนที่ ๗ : ก็ใช้ rubrics ซึ่งในเอกสารคู่มือการสอนและหลักสูตรจะมี rubrics ให้ดูเป็นแนวทางอยู่แล้ว
โค้ช: ถ้าใช้ rubrics ในการเก็บข้อมูลจุดเน้นตามโครงการของเราจริงๆ แล้วโรงเรียนของเราจะใช้ rubrics กี่ระดับ
ผอ.: ส่วนใหญ่จะใช้ ๔ ระดับนะ
โค้ช: ทั้งโรงเรียนจะใช้ ๔ ระดับ ดังที่ ผอ.เสนอนี้เลยหรือไม่ เช่น อาจมีระดับดีมาก ดี พอใช้ และปรับปรุง หรือจะให้ครูแต่ละคู่บัดดี้ไปออกแบบกันเอง ...เอาเป็นว่าขอให้พี่ๆ ลองไปพูดคุยพิจารณาและตกลงกัน หากได้ข้อสรุปอย่างไร ขอให้ส่งไปให้เรารู้ด้วยทาง edu-prof.net
โค้ช: ผมขอแชร์วิธีการจัดทำ rubrics เพื่อเขียนคำอธิบายว่าแต่ละระดับของ rubrics จะเขียนอย่างไร ขอให้ลองพิจารณาตัวอย่างนี้ สมมติว่า ครูตรวจผลงานการเขียนของนักเรียนในห้อง เราต้องการแบ่งระดับคุณภาพออกเป็น ๔ ระดับ เราก็นำตะกร้ามา ๔ ใบ เรียงตะกร้าดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง จากนั้นก็เริ่มอ่านผลงานนักเรียนที่ละชิ้น ก็จะจำแนก (โยน) ลงแต่ละตะกร้าได้ เมื่ออ่านและแบ่งกลุ่มผลงานออกเป็น ๔ กองแล้ว ก็นำผลงานนักเรียนแต่ละกองมาพิจารณาลักษณะร่วม แล้วเขียนลักษณะสำคัญของผลงานกองนั้นๆ เป็นคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับนั้น หากเราทำเช่นนี้ เราก็จะมีระดับคุณภาพที่เป็นภาษาของเราเอง และเมื่อเราจะนำไปใช้จริงในอนาคต เราก็จะเข้าใจได้ง่าย สามารถจำแนกผลงานนักเรียนได้จริง
ครูคนที่ ๗ : ในเรื่อง Numeracy คิดว่ามีระดับคุณภาพอยู่แล้ว ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เลย
ครูคนที่ ๗ บอกว่า ได้เข้าไปดูในเว็บไซต์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ไปดูการตอบคำถามของโค้ชจุฬาฯ ก็พบว่า โค้ชจะไม่บอกคำตอบเลย และสะท้อนความคิดว่า หลังจากพูดคุยกันวันนี้ก็ช่วยให้ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๗
ครูคนที่ ๗ เป็นครูที่ active มาก ได้เข้าเว็บไปเรียนรู้วิธีการโค้ช และได้ข้อสรุปว่า โค้ชจะไม่บอกคำตอบ จะต้องพิจารณาและตัดสินใจเอง ดังนั้น จึงทำให้การสนทนากันวันนี้ ครูคนที่ ๗ จะจับทิศทางการชี้แนะของโค้ชได้ว่า จะต้องเป็นผู้คิดกันเอง
จากที่เห็นครูคนที่ ๗ วิเคราะห์ ๕E กับ ๕ steps ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีกระบวนการคิดไตร่ตรอง เชื่อมโยงจากฐานเดิมที่ตนเองคุ้นเคยอยู่ นับว่า เป็นกรณีที่น่าสนใจที่น่าคาดหวังได้ว่า ผลการปฏิบัติของครูคนที่ ๗ จะโดดเด่นทีเดียว
๑๐. ครูคนที่ ๘
ครูคนที่ ๘ เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้น ม.๔/๑ เป็นคู่บัดดี้กับครูคนที่ ๗ ครูคนที่ ๘ เริ่มต้นเสวนาด้วยคำถามว่า “จะวัดประเมินความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความใฝ่ดีอย่างไร” รวมทั้งคำถามว่า “ขั้นที่ ๕ และ ๕ steps จำเป็นต้องใช้ทุกแผนหรือไม่”
โค้ช: ตามความคิดของพี่ พี่คิดว่า น่าจะเป็นอย่างไร ต้องทุกแผนหรือไม่
ครูคนที่ ๘ : น่าจะเป็นหน่วยการเรียนรู้มากกว่า อาจเป็น ๓-๔ ชั่วโมง
โค้ช: (หันไปถามพี่ๆ รอบวง) พี่ๆ คิดว่าใช้เป็นหน่วยได้ไหม
ครู: ได้
โค้ช: ถ้าเป็นเช่นนั้น พี่ก็ “ลุย” ได้เลยครับ
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๘
จากคำบอกเล่าของครูคู่บัดดี้บอกว่า ครูคนที่ ๘ รับผิดชอบงานหลายอย่าง มีภาระงานมาก จึงทำให้ยังไม่ได้พิจารณาแผนการสอนที่ส่งให้ดู
จากการสังเกตจากคำถามของครูคนที่ ๘ ก็ทำให้คาดเดาได้ว่า ครูกำลังอยู่ระหว่างการเริ่มต้นเรียนรู้เพื่อลงมือทำ ดังนั้น จึงจะต้องใช้เวลาสักระยะในการทำความเข้าใจจุดเน้นต่างๆ ของโครงการร่วมกับคู่บัดดี้
๑๑. ครูคนที่ ๙
ครูคนที่ ๙ เป็นครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สอนภาษาไทยชั้น ม.๖ เจาะจงห้องเรียน ม.๖/๑ ในโครงการนี้ เริ่มต้นพูดคุยด้วยการตัดพ้อว่า ได้ถูกให้จับคู่กับรอง ผอ. แต่ก็คิดว่าจะทำงานร่วมกันได้ราบรื่น
ครูคนที่ ๙ บอกว่า ได้ฟังอย่าง deep listening เห็นตลอดการสนทนาครั้งนี้ เป็นลักษณะครูเราถามเอง ตอบกันเอง ก็เกิดความเข้าใจ และรู้สึกสบายใจ ยิ่งรู้ว่า แผนการสอนที่จะใช้ในโครงการนี้ครูสามารถใช้แผนการสอนเดิมมาปรับเพิ่มได้ และโน้ตว่า ในแผนการสอนช่วงใดเน้นอะไร
ครูคนที่ ๙ เล่าให้ฟังว่า ตนเองยังไปไม่ถึง ๕ steps และยังไม่รู้จะใช้อย่างไร แต่ก็ happy มาก ที่อยู่ในบรรยากาศการพูดคุยเช่นนี้ ทำให้เข้าใจมากขึ้น นอกจากนั้นยังบอกว่า วิชาภาษาไทยเรื่องการอ่านการเขียนหรือ literacy จะมี ๓ แบบ คือ (๑) การอธิบาย (๒) การบรรยาย และ(๓) การพรรณนา ถ้าจะนำมาเน้นในโครงการนี้ก็จะเน้นที่การอธิบาย แล้วนักเรียนจะได้ใช้เหตุผลด้วย ในเรื่องการใช้เหตุผลก็เป็นบทเรียนโดยตรงของการเรียนระดับชั้น ม.๖ ตั้งใจจะให้นักเรียนได้วิเคราะห์ว่าอะไรเป็นโฆษณาชวนเชื่อ หรือเป็นโฆษณาธรรมดา
โค้ช: น่าสนใจมากเลย เรื่องการโฆษณาชวนเชื่อ ถ้ามีตัวอย่างโฆษณาชวนเชื่อหลายๆ ชิ้น หลายๆ ผลิตภัณฑ์ ให้นักเรียนพิจารณา จะเชื่อมกับขั้นแรกของ ๕ steps ได้หรือไม่
ครูคนที่ ๙ : ขอบคุณมาก รู้แล้วว่าจะใช้เรื่องโฆษณาชวนเชื่อนี่แหละให้นักเรียนเรียนรู้ ๕ steps ได้เลย
สะท้อนคิดกรณีครูคนที่ ๙
จากการสังเกตและสนทนากับครูคนที่ ๙ เห็นว่าครูคนที่ ๙ จับประเด็นและเรียนรู้ได้รวดเร็วมาก มีความเข้าใจและเชื่อมโยงจุดเน้นของโครงการได้อย่างดี
คำพูดของครูคนที่ ๙ ทำให้ทีมโค้ชของเรารู้สึกดี เพราะสะท้อนว่า เราพยายามไม่บอก-ไม่สั่ง-ไม่สอน จากคำพูดของครูคนที่ ๙ ที่ว่า “ครูเราถามกันเอง ตอบกันเอง” รวมทั้งความรู้สึกสบายใจของครูคนที่ ๙ ในการทำภารกิจในโครงการนี้
การทำงานร่วมกับบัดดี้ก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะรอง ผอ.มีความรู้สึกชื่นชมในความเป็นครูคนที่ ๙ เห็นได้จากที่รองฯ เล่าให้ฟังว่า ครูคนที่ ๙ ได้รับรางวัลครูประกายเพชร และครูคนที่ ๙ ก็พร้อมรับการเติมเต็มจากรองฯ รวมทั้งพร้อมเป็นกระจกส่องสะท้อนการสนับสนุนช่วยเหลือจากรองฯ เช่นกัน
๑๒. ศน.
ศน. เป็นศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน จำนวน ๒ โรงเรียนนี้ และเป็นโค้ชดูแลการเรียนรู้ของครูผู้บริหาร จำนวน ๒ โรงเรียน และศึกษานิเทศก์อีก ๒ คน ตลอดโครงการนี้
การลงภาคสนามครั้งนี้ ทีมโค้ชของเราแบ่งกันไปคนละสาย ซึ่งทำให้ ผมและ ศน.ไม่ได้ไปโรงเรียนเดียวกัน จึงมีข้อมูลการนิเทศของ ศน.ไม่มากนัก
หลังจากแต่ละสายของทีมโค้ชเสร็จภารกิจการไปโรงเรียนและเรามาพบกันในช่วงที่จะเดินทางกลับกรุงเทพฯ นี่คือบทสนทนาระหว่างเรา
ศน.: โรงเรียนทั้งสอง (ที่พี่เป็นศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน) เป็นอย่างไรบ้าง
โค้ช: ครูเข้าใจว่า ๕ steps เป็นขั้นตอนการสอนของครู และครูเป็นผู้ทำบทบาทนั้นเอง ดังนั้น ครูก็จะเป็นผู้ตั้งคำถาม และนักเรียนเป็นผู้ตอบ
ศน.: เหรอ! (แสดงความตกใจ แล้วหันไปบอกสมาชิกทีมโค้ชทุกคนที่กำลังขึ้นรถตู้เตรียมเดินทางกลับ) เราน่าจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ KM กันหน่อยไหม
โค้ช: (เห็นว่าจังหวะไม่เอื้ออำนวย-ฝนจะตก-จะต้องเดินทางไกล) เราแลกเปลี่ยนกันต่อในเว็บ เพราะจะต้องออกเดินทางแล้ว
สะท้อนคิดกรณี ศน.
จากการพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลครูของโรงเรียนที่ ศน.ดูแล เมื่อทราบจุดที่ควรพัฒนาของครูจากมุมมองของเราแล้ว ศน.ให้ความสนใจ และแสดงให้เห็นว่า ต้องการให้มีการตั้งวงคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโค้ชทั้งสองสาย เพื่อ share and learn ร่วมกัน และจะได้ไปช่วยครูในโอกาสต่อไป ทำให้ผมรู้สึกสบายใจ ที่เห็นความกระตือรือร้น และความสนใจใคร่รู้ในการเรียนรู้ของครู
ด้วยศักยภาพที่สูงมากของ ศน. ในบทบาทการทำหน้าที่ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียนควบคู่กันไปกับการเป็นโค้ชของทีมโค้ช จุฬาฯ ทำให้ผมรู้สึกว่าโชคดีที่จะได้เรียนรู้จากศึกษานิเทศก์ที่เอาใจใส่ครู และการนิเทศช่วยเหลือครูจากการทำงานร่วมกันของเรา
ประเด็นที่จะปรึกษา ศน. ก็คือ เรื่องบัดดี้ของ ผอ. ว่าใครจะเป็นคู่เรียนรู้กับ ผอ. เพราะในโรงเรียนมีผู้เข้าร่วมโครงการ ๙ คน จับคู่กันแล้ว ๔ คู่ จึงเหลือ ๑ คน คือ ผอ. ที่ยังไม่มีคู่
ศน. เป็นศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน จำนวน ๒ โรงเรียนนี้ และเป็นโค้ชดูแลการเรียนรู้ของครูผู้บริหาร จำนวน ๒ โรงเรียน และศึกษานิเทศก์อีก ๒ คน ตลอดโครงการนี้
การลงภาคสนามครั้งนี้ ทีมโค้ชของเราแบ่งกันไปคนละสาย ซึ่งทำให้ ผมและ ศน.ไม่ได้ไปโรงเรียนเดียวกัน จึงมีข้อมูลการนิเทศของ ศน.ไม่มากนัก
หลังจากแต่ละสายของทีมโค้ชเสร็จภารกิจการไปโรงเรียนและเรามาพบกันในช่วงที่จะเดินทางกลับกรุงเทพฯ นี่คือบทสนทนาระหว่างเรา
ศน.: โรงเรียนทั้งสอง (ที่พี่เป็นศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน) เป็นอย่างไรบ้าง
โค้ช: ครูเข้าใจว่า ๕ steps เป็นขั้นตอนการสอนของครู และครูเป็นผู้ทำบทบาทนั้นเอง ดังนั้น ครูก็จะเป็นผู้ตั้งคำถาม และนักเรียนเป็นผู้ตอบ
ศน.: เหรอ! (แสดงความตกใจ แล้วหันไปบอกสมาชิกทีมโค้ชทุกคนที่กำลังขึ้นรถตู้เตรียมเดินทางกลับ) เราน่าจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ KM กันหน่อยไหม
โค้ช: (เห็นว่าจังหวะไม่เอื้ออำนวย-ฝนจะตก-จะต้องเดินทางไกล) เราแลกเปลี่ยนกันต่อในเว็บ เพราะจะต้องออกเดินทางแล้ว
สะท้อนคิดกรณี ศน.
จากการพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลครูของโรงเรียนที่ ศน.ดูแล เมื่อทราบจุดที่ควรพัฒนาของครูจากมุมมองของเราแล้ว ศน.ให้ความสนใจ และแสดงให้เห็นว่า ต้องการให้มีการตั้งวงคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโค้ชทั้งสองสาย เพื่อ share and learn ร่วมกัน และจะได้ไปช่วยครูในโอกาสต่อไป ทำให้ผมรู้สึกสบายใจ ที่เห็นความกระตือรือร้น และความสนใจใคร่รู้ในการเรียนรู้ของครู
ด้วยศักยภาพที่สูงมากของ ศน. ในบทบาทการทำหน้าที่ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียนควบคู่กันไปกับการเป็นโค้ชของทีมโค้ช จุฬาฯ ทำให้ผมรู้สึกว่าโชคดีที่จะได้เรียนรู้จากศึกษานิเทศก์ที่เอาใจใส่ครู และการนิเทศช่วยเหลือครูจากการทำงานร่วมกันของเรา
ประเด็นที่จะปรึกษา ศน. ก็คือ เรื่องบัดดี้ของ ผอ. ว่าใครจะเป็นคู่เรียนรู้กับ ผอ. เพราะในโรงเรียนมีผู้เข้าร่วมโครงการ ๙ คน จับคู่กันแล้ว ๔ คู่ จึงเหลือ ๑ คน คือ ผอ. ที่ยังไม่มีคู่
จะเห็นว่า
การสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (coaching & mentoring) ที่มุ่งให้ครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์จับคู่/
จับกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบร่วมกัน ในจุดเน้นทั้ง ๔ เรื่องของ
สพฐ. ได้แก่ Literacy Numeracy Reasoning ability และ 5
Steps และมีกระบวนการนิเทศติดตามอย่างจริงจัง ทั้งการลงพื้นที่เรียนรู้ในสถานที่และบริบทจริง
และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่คอยติดตามและเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
จุดสำคัญคือ การเช็คความเข้มแข็งของชุมชนการเรียนรู้ที่มีอยู่ในโรงเรียน
เพราะถ้าระบบของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีพลัง
ก็จะทำให้สามารถหมุนเกลียวของการเรียนรู้จากการปฏิบัติเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
---------------------------------------