หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทสรุปสุดท้ายของโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ปีงบประมาณ 2558


โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2557 ด้วยการสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและแนวทางดำเนินการกับผู้บริหารโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา มุ่งหวังให้เป็นการปฏิรูปการศึกษาในระดับปฏิบัติการ เพื่อยกระดับคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองไทยที่ดี และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เป็นการมุ่งเน้นที่การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ปรับการเรียน เปลี่ยนวิธีพัฒนาครู เป็นการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) มีมหาวิทยาลัยและมูลนิธิเข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยง เน้นให้นำผลจากการปฏิบัติการสอนมาเรียนรู้ร่วมกัน หรือการติดตั้งระบบ AAR (After Action Review) เป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ปรับปรุงจากฐานโรงเรียน มีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้นำทางวิชาการ เอาใจใส่ดูแลการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างใกล้ชิด และนำข้อสังเกตที่พบจากห้องเรียน ไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนหลัก ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มีโรงเรียนร่วมดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว จำนวน 300 โรงเรียน ในพื้นที่ 20 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่ละ 15 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเจาะจงเลือกเพื่อนำร่องยกระดับคุณภาพการเรียนรู้

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในเชิงกระบวนการ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจในจุดเน้นการดำเนินงาน การวางแผนงาน ตั้งทีมงาน การศึกษาดูงาน การร่วมประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ AAR การประสานร่วมมือกับทีมโค้ชภายนอกด้วยงบประมาณดำเนินการ จำนวน 220,000 – 300,000 บาท/ เขต เพื่อให้ทีมโค้ชภายนอกช่วยสร้างทีมโค้ชภายในเขตและโรงเรียนของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การนิเทศติดตามโดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและคณะทำงานของเขต จากการรายงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ลดการสั่งการลง มีการกลั่นกรองงานหรือหลอมรวมงานก่อนให้โรงเรียนปฏิบัติ มีการบูรณาการงบประมาณ มีการปรับเปลี่ยนตารางสอนให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน มีการพัฒนาครูที่เน้นให้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการสอน จัดครูเก่งสอนชั้นเรียนที่มีความสำคัญ เช่น ชั้น ป.1 ให้ครูเตรียมการก่อนสอน เช่น เขียนแผนการสอนหน้าเดียว ผู้บริหารและครูตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปและทบทวนการทำงาน มองเห็นจุดที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเอง ทีมงานเข้มแข็งมากขึ้นจากการพูดคุยหารือร่วมกันแก้ปัญหา มีกลไกการจัดการผลสัมฤทธิ์  บูรณาการลดชั่วโมงการสอน ติดตั้งระบบ coaching/ AAR และจากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีการวางระบบสะท้อนผลหลังการสอน หรือ AAR สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่วนใหญ่มีการสนับสนุนด้านวิชาการและการนิเทศ ให้โรงเรียนสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น เห็นถึงความพยายามและความก้าวหน้าที่จะปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียน

มติของคณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) เป็นประธาน ให้ดำเนินการ 3 ข้อ คือ (1) ให้มีการดำเนินการต่อเนื่องในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระยะที่ 1 จำนวน 20 เขต โดยให้พัฒนาคุณภาพและคงคุณภาพของโรงเรียน จำนวน 15 โรงเรียนไว้ให้ได้ และให้ขยายโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นตามกำลังและความสามารถของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยเพิ่มโจทย์ของการเตรียมนักเรียนให้พร้อมเผชิญอนาคตด้านการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ มีความพร้อมและมีฝีมือในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับช่วงวัยของนักเรียน  (2) ให้ดำเนินการระยะที่ 2 ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 เขต โดยให้แต่ละเขตเลือกพัฒนาโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังไม่ดี เขตละอย่างน้อย 15 โรงเรียน และ (3) ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยเตรียมการวิจัยถอดบทเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ของข้อมูล/ ข้อค้นพบที่ได้มาอย่างเป็นระบบจากเขตพื้นที่และโรงเรียนในโครงการ อาทิ ความรู้ด้านชุดสมรรถนะครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ เพื่อนำไปใช้ในการขยายผลเข้าสู่ระบบให้มีผลกระทบในวงกว้างต่อการพัฒนาสมรรถนะใหม่ที่พึงประสงค์ของบุคลากรในโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงระบบการผลิตครูและพัฒนาครูทั่วประเทศต่อไป

สถานการณ์ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ชะลอการอนุมัติดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มใหม่ จำนวน 40 เขต และกลุ่มเดิม จำนวน 20 เขต มีงบประมาณส่วนที่เหลือ จำนวน 57,034,966 (ห้าสิบเจ็ดล้านสามหมื่นสี่พันเก้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) สำนักนโยบายและแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สพฐ.ได้ขอกันเงินส่วนนี้ไปดำเนินการ โดยจัดสรรให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 48 เขต เพื่อส่งเสริมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและยกระดับคุณภาพการศึกษา เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2558 จำนวน 50,048,000 บาท (ห้าสิบล้านสี่หมื่นแปดพันบาทถ้วน)

สรุปงบประมาณสุทธิที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ตลอดปีงบประมาณ 2558 จำนวน 22,775,534 บาท (ยี่สิบสองล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นห้าพันห้าร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน) จำแนกเป็น งบประมาณที่โอนจัดสรรให้เขตพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 21,385,000 บาท (ยี่สิบเอ็ดล้านสามแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 93.89 และงบประมาณที่ส่วนกลางใช้ดำเนินการ จำนวน 1,390,534 บาท (หนึ่งล้านสามแสนเก้าหมื่นห้าร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 6.11

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนมุ่งเน้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ทักษะการใช้ชีวิต คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการตามระบบการนิเทศภายใน หรือระบบ AAR เพื่อให้ได้สะท้อนผลการปฏิบัติงานของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะเป็นผู้นำขับเคลื่อนและปรับปรุงระบบดังกล่าว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ลักษณะครูและผู้เรียน รวมทั้งจุดเน้นของนโยบายการศึกษา โดยเฉพาะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ที่ให้ไว้ครั้งมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 ได้ความสำคัญกับเทคนิคการสอนและการสื่อความหมาย การลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนของครู เพื่อให้ครูมีเวลาทุ่มเทให้กับการสอนนักเรียนอย่างจริงจัง การประเมินเพื่อความก้าวหน้าต้องสอดคล้องกับผลการพัฒนาผู้เรียน ทั้งความรู้ คุณลักษณะ และทักษะชีวิต นอกจากนั้น ในวันที่ 23 กันยายน 2558 รมว.ศธ.ยังได้ให้แนวนโยบายแก่ผู้บริหาร สพฐ. หนึ่งในนโยบายนั้นได้เน้นการพิจารณา/ หากลไกช่วยให้ครูมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดีและน่าสนใจ รวมทั้งให้เน้น AAR (After Action Review) ในการทบทวนการดำเนินงานหลังจากที่ได้ดำเนินการเรื่องต่างๆ ไปแล้ว ดังนั้น จะเห็นว่า แนวนโยบายเอื้อให้โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ในการปรับการบริหารจัดการ และปรับการเรียนการสอน ในแบบแผนที่ได้ร่วมมือรวมพลัง ริเริ่ม และพยายามพัฒนาต่อเนื่องตลอดมา จนเห็นถึงความก้าวหน้าและแนวโน้มของความสำเร็จ นั่นคือ ความก้าวหน้าด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และความสุขของผู้เรียน รวมทั้งผู้ร่วมอยู่ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูทุกคน
  

-----------------------------------------

รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง กพร. ปีงบประมาณ 2558 ตัวชี้วัด 1.4 (โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน)

รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
q  รอบ  6 เดือน
q  รอบ  9 เดือน
R  รอบ 12 เดือน
ตัวชี้วัดที่ 1.4  ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : นายพิธาน พื้นทอง

ผู้จัดเก็บข้อมูล : นางบรรเจอดพร สู่แสนสุข
ผู้จัดเก็บข้อมูล : นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์
ผู้จัดเก็บข้อมูล : นายพิทักษ์ โสตถยาคม
โทรศัพท์ : 0 2281 1958
โทรศัพท์ :  0 2288 5879
คำอธิบาย :
การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่ตระหนักในปัญหาการศึกษา ได้ขอความร่วมมือกับหลายภาคส่วนปรับปรุงพัฒนาการศึกษา การจัดการเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง อาทิโครงการ Teacher Coaching ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของ สพฐ.และ สกว. (หรือเครือข่ายครูของ สสค.) โครงการ Area-based Education (ABE) จำนวน 16 จังหวัด ที่มีกลไกการพูดคุยเรื่องการศึกษาในระดับจังหวัด และมีประธานสภาการศึกษาจังหวัดเป็นที่ยอมรับทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่อยู่แล้ว   โครงการ  Constructionism  ของ สกศ.  โครงการโรงเรียนพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ โครงการการพัฒนาครูแบบ Browser in Service ใน โครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง (Teacher Coaching) จำนวน 9 จังหวัด  เป็นต้น
การแก้ปัญหาที่ผ่านมาบางส่วนได้ผลดี มีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง บางส่วนอาจยังไม่ตรงประเด็น ปัญหาหลายอย่างยังคงวนเวียนอยู่ ซ้ำไปซ้ำมา คุณภาพนักเรียนไม่พัฒนาเท่าที่ควร เมื่อมีการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ก็เป็นข้อมูลที่น่ากังวล ในขณะที่ครู ผู้บริหารโรงเรียนยังคงทำงานหนัก รัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินไปกับการจัดการศึกษาจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในโลก การแก้ปัญหาการศึกษาไทยจึงน่าจะต้องเปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนมุมมองในอีกหลายส่วน เปิดพื้นที่การแก้ปัญหาในส่วนที่ยังดำเนินการไม่มาก ไม่จริงจังเข้มข้นเท่าที่ควร
       การปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้ จึงต้องมีความแตกต่างจากการปฏิรูปครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา ซึ่งไม่ได้เน้นการบรรลุผลการเรียนของผู้เรียนโดยตรง แต่ครั้งนี้ได้วางจุดเน้นไว้ที่ "การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน"และ"ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ตลอดจนการเป็นพลเมืองไทยที่ดี" ของผู้เรียนเป็นหลัก และผลพลอยได้คือเป็นจุดตั้งต้น (Entry Point) ของการหาร่องรอยหลักฐานเพื่อการปรับแก้ กลไก กฎ ระเบียบ ฯลฯ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษาตลอดจนกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งผลกระทบสูง ต่อคุณภาพผู้เรียน นอกจากความแตกต่างเรื่องจุดเน้นดังกล่าวแล้ว แนวทางการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จะอิงพื้นที่ (เช่น สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ท้องถิ่น และพื้นที่จังหวัด) ให้เป็นเป้าหมายสำคัญของปฏิบัติการนั้น เป็น"จุดคานงัดที่ท้าทาย" เหมาะสมและสอดคล้องกับเงื่อนไขของเวลาที่จำกัด เพราะจะทำให้สามารถกำหนดขอบเขตทั้งโดยปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้จริง โดยที่การกำหนด หรือคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน เช่น โรงเรียนปฏิรูปการศึกษา เขตพื้นที่ปฏิรูปการศึกษา จังหวัดปฏิรูปการศึกษาฯ ที่มีแนวโน้มแห่งความสำเร็จได้นั้น จะช่วยให้สามารถ กำหนดปัจจัยเอื้อ(Inputs) และตัวแปร (Positive & Negative Factors) ที่มีผลต่อการปฏิรูปฯ ที่จำเป็นต้องจัดสรรและควบคุม ให้เป็นไปเพื่อผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสม เช่นกัน
ยังมีตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์การปฏิรูปการศึกษาอีก 2-3 ประเด็น กล่าวคือ กลไกและกระบวนการบริหารจัดการ ก็คือบุคลากร ซึ่งในที่นี้หมายถึง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู นั่นเอง ส่วนวิธีการบริหารจัดการใน 3 ตำแหน่งนี้ หากได้รับการออกแบบตรงจุดเชื่อมต่อทั้ง 3 ให้เป็นการร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำ ตั้งแต่ ผอ.เขตพื้นที่กับผอ.โรงเรียน หรือผอ.โรงเรียนกับครูร่วมกันวางแผนปฏิบัติการ ที่ใช้โจทย์จริงในบริบทของโรงเรียนนั้นๆเป็นตัวตั้งเป้าหมาย กำหนดกระบวนการเรียนรู้ และวิธีการวัดและ/หรือประเมินผล  และจุดเชื่อมต่อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือครูกับผู้เรียน ที่จะต้องรับประกันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการประเมินผล (Formative Assessment) เพื่อสะท้อนผลการบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้ายอย่างต่อเนื่อง 
สำหรับปัจจัยเสริมเพื่อช่วยเพิ่มเติมประสิทธิภาพการทำงานของกลไกและกระบวนการบริหารจัดการของครูและผู้บริหารสถานศึกษา คือ การติดตั้งระบบติดตามการประเมินการทำงาน (Mentoring) และระบบนิเทศ(Coaching) หรือระบบคู่นิเทศ (Peer Coaching)เพื่อเป็นกลไกการพัฒนา และฝึกอบรมบนงาน (On-the-job Training) ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นวิธีทำงานร่วมกัน และรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นที่ผู้เรียนร่วมกัน แตกต่างจากวิธีเดิมที่เคยปฏิบัติมา นอกจากนี้ระบบนี้ต้องต่อเชื่อมกับผลการเรียนของผู้เรียนโดยการใช้กระบวนการบันทึกผลและสะท้อนผลของผู้เรียนและผู้สอนโดยตรง (After Action Review AAR)ในระบบการประชุมทีมเป็นประจำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ประกอบด้วย Coach และครู (ทีมระดับชั้น หรือทีมสายวิชา หรืออื่นๆ)  โดยวิธีนี้ ครูและผู้อำนวยการโรงเรียนไม่ต้องออกไปอบรมนอกโรงเรียน แล้วทิ้งผู้เรียน แต่ต้องเป็นการจัดตารางการทำงานในแต่ละสัปดาห์ให้มีเวลาประชุม AAR นี้ เหมือนเป็นงานประจำที่จำเป็น และช่วยให้มีการเก็บหลักฐานการทำงานที่ผูกโยงกับผลที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นผลงานเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะได้ เพราะเท่ากับเป็นการทำงานเชิงวิจัยปฏิบัติการ (Routine to Research R-to-R ) ในชั้นเรียนไปในตัว เหมือนกับการปฏิบัติงานของแพทย์ โดยไม่ต้องไปจัดทำรายงานอื่นต่างหากและอาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรและทอดทิ้งนักเรียนเช่นกัน นอกจากนั้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวที่ยังมีส่วนสำคัญให้ได้ปฏิรูประบบงาน/การจัดการแบบใหม่ด้วย ซึ่งการจัดการแบบใหม่ จะปลดล็อคปัญหาอุปสรรคให้โรงเรียนได้หลายประการด้วยกัน  พร้อมกันนี้จะมีการวิจัยระบบการจัดการใหม่คู่ขนานไปกับกระบวนการพัฒนา เช่น การบริหารจัดการ การสร้างแรงจูงใจ การปรับตารางเวลางานและการสอน หลักสูตร วิธีการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม บทบาทกรรมการสถานศึกษา การคิด Unit Cost ฯลฯ
ข้อมูลผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ.
ร้อยละที่เพิ่มขึ้น       (ร้อยละ)
2556
2557
2558
2557
2558
ตัวชี้วัดที่ 1.4 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-
-
ระดับ 5
-
-

เกณฑ์การให้คะแนน :
ระดับ 1
ระดับ 2
ระดับ 3
ระดับ 4
ระดับ5
ครูให้นักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  (Problem Based learning /Project Based Learning  ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง
ครูให้นักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  (Problem Based learning /Project Based Learning ภาคเรียนละมากกว่า ๒ ครั้ง
ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชี้แนะ (Coaching ) การบันทึกผลและสะท้อนผลของผู้เรียน และผู้สอนโดยตรง
ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชี้แนะ (Coaching ) การบันทึกผลและสะท้อนผลของผู้เรียน และผู้สอนโดยตรง    เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  (Problem Based learning /Project Based Learning  ภาคเรียนละมากกว่า ๒ ครั้ง
ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชี้แนะ (Coaching ) การบันทึกผลและสะท้อนผลของผู้เรียน และผู้สอนโดยตรง   เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  (Problem Based learning /Project Based Learning ) ภาคเรียนละมากกว่า ๒ ครั้ง และชวนให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทบทวนหลังการทำกิจกรรม (After Action Review)  โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)
การคำนวณคะแนนจากผลการดำเนินงาน :
ตัวชี้วัด/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวชี้วัด
น้ำหนัก
(ร้อยละ)
ผลการดำเนินงาน
ค่าคะแนนที่ได้
ค่าคะแนน        ถ่วงน้ำหนัก
ตัวชี้วัดที่ 1.4 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
10
ระดับ 5
5
……..

คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/ มาตรการที่ได้ดำเนินการ :
โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2557 ด้วยการสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและแนวทางดำเนินการกับผู้บริหารโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา มุ่งหวังให้เป็นการปฏิรูปการศึกษาในระดับปฏิบัติการ เพื่อยกระดับคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองไทยที่ดี และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เป็นการมุ่งเน้นที่การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ปรับการเรียน เปลี่ยนวิธีพัฒนาครู เป็นการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) มีมหาวิทยาลัยและมูลนิธิเข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยง เน้นให้นำผลจากการปฏิบัติการสอนมาเรียนรู้ร่วมกัน หรือการติดตั้งระบบ AAR (After Action Review) เป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ปรับปรุงจากฐานโรงเรียน มีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้นำทางวิชาการ เอาใจใส่ดูแลการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างใกล้ชิด และนำข้อสังเกตที่พบจากห้องเรียน ไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนหลัก ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มีโรงเรียนร่วมดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว จำนวน 300 โรงเรียน ในพื้นที่ 20 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่ละ 15 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเจาะจงเลือกเพื่อนำร่องยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ ซึ่งมีมาตรการและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการโดยสรุป ดังนี้
1. การประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานฝ่ายนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รศ.ประภาภัทร นิยม) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ) และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันที่ 24 ตุลาคม 2557 ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.กมล รอดคล้าย) เห็นชอบให้ดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนและมอบสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นฝ่ายเลขานุการโครงการ โดยใช้งบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการจากสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/a47QAm
2. สพฐ.อนุมัติโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน และจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต มีเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บันทึกเสนอขออนุมัติโครงการ http://goo.gl/Wr78mc สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการ จำนวน 79,810,500 บาท http://goo.gl/QxJU5Y และแจ้ง สพท.เรื่องโครงการและจัดสรรงบประมาณ http://goo.gl/LYwcdF
3. จัดสัมมนา Reform Lab และ Coaching Lab กลุ่มผู้นำขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการโรงเรียน เขตละ 20 คน (ผอ.โรงเรียน 15 คน และ ผอ.สพท.และคณะ 5 คน) จำนวน 6 จุดสัมมนา ผลการดำเนินงานคือ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ระดมความคิดเพื่อทำความเข้าใจในจุดเน้นของการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน อาทิ การส่งเสริมให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติการสอนของครู หรือ การจัด AAR (After-action review) ทุกสัปดาห์ของโรงเรียน การวางแผนงานร่วมกันระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน การระดมความคิดเพื่อสะท้อนอุปสรรคปัญหาของการพัฒนาคุณภาพ เพื่อส่งข้อมูลแนวทางปลดล็อกให้ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/SSKNLw
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามในคำสั่งแนวทางปฏิบัติตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษารองรับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2557 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/jlSwgM
5. การนำเสนอความก้าวหน้า 1 เดือน โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต ณ วันที่ 23 มกราคม 2558 http://goo.gl/nLk16p
6. โรงเรียนและเขตจัดทำแผนปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนแบบ Bottom up เสนอมายังส่วนกลางเพื่อพิจารณาสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็น ครั้งที่ 1 ณ วันที่ 11 ก.พ. 2558 ดูรายละเอียดที่  http://goo.gl/Jy8xbr โรงเรียนและเขตปรับแผนปรับปรุงคุณภาพส่งส่วนกลาง ครั้งที่ 2 ณ วันที่ 19 ก.พ. 2558 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/Z4y6jk
7. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมประชุมกับคณะทำงานติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับแผนปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียน ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/751B1i
8. โรงเรียนและเขตปรับแผนปรับปรุงคุณภาพส่งส่วนกลาง ครั้งที่ 3 ณ วันที่ 23 มีนาคม 2558 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/zQlZpd
9. สพฐ.สนับสนุนการพัฒนาระบบ Coaching โดยจัดให้มีทีมโค้ชสนับสนุนการติดตั้ง Coaching System และกระบวนการนิเทศในโรงเรียน ทั้ง 20 เขต ประกอบด้วย สพฐ. เห็นชอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลือกทีมโค้ชด้วยตนเอง http://goo.gl/x9tZLw มีผลการเลือกทีมโค้ชของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดังนี้ http://goo.gl/VXMZya มีการประชุมทีมโค้ชเพื่อสร้างเครือข่ายองค์กรขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน โดยการสนับสนุนของ สสส. http://goo.gl/8LyAel สพฐ.สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของโรงเรียนโดยกระบวนการ Coaching and Mentoring ดังนี้ http://goo.gl/NlqTDS นอกจากนั้น สพฐ. ได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต้นสังกัดทีมโค้ชสนับสนุนการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ดังนี้ http://goo.gl/4k6Y9o ทีมโค้ชและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมสร้างความเข้าใจบุคลากรกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการติดตั้ง Coaching System และกระบวนการนิเทศในโรงเรียน ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป อาทิ การดำเนินงานของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดูข้อมูลได้ที่ Facebook: http://goo.gl/K8UitW  Website: http://goo.gl/dlSC8f
10. รมว.ศธ.แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน โดยที่ สพฐ.เสนอให้ รมว.ศธ. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ซึ่งมี รมว.ศธ.เป็นประธาน  http://goo.gl/kOn0YI
11. คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนประชุมครั้งที่ 1 วันที่ 16 เมษายน 2558ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/dFn1sb  และ http://goo.gl/EuUTdC
12. คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนประชุมครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุม MOC กระทรวงศึกษาธิการ มีระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญ ๒ วาระคือ (๑) รับทราบผลการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ระยะที่ ๑ และ(๒) พิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ผลการประชุมดังนี้ http://goo.gl/dFn1sb  และ http://goo.gl/EuUTdC
13. สพฐ.ได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ปีงบประมาณ 2558 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ดังนี้ https://goo.gl/NLI0xz  
14. สพฐ.อนุมัติการประชุมปฏิบัติการสร้างเครื่องมือและทดลองเก็บข้อมูลภาคสนามของคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ระหว่างวันที่ 2 - 4 กรกฎาคม 2558 ณ สพป.ระยอง เขต 2 https://goo.gl/PQh1bd ส่งจดหมายแจ้ง สพป.ระยอง เขต 2 ในฐานะพื้นที่การเรียนรู้ของคณะทำงานในช่วงพัฒนาทีมงาน ดังนี้ https://goo.gl/FQ521k  ซึ่งคณะทำงานติดตามผลฯ ประกอบด้วย นักวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจาก Dr. Christopher Wheeler มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท รวมทั้งนักวิชาการศึกษาที่มีศักยภาพสูงของ สพฐ. และข้าราชการที่อยู่ในโครงการผู้นำ สพฐ. สายเลือดใหม่ (OBEC Young Blood Leader) โดยการสนับสนุนของ สพฐ. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากจะได้สารสนเทศของโครงการเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าราชการพลเรือนรุ่นใหม่ของ สพฐ. ในคราวเดียวกัน ซึ่ง สนก.ได้ส่งจดหมายเชิญคณะทำงานที่เป็นบุคลากรในสำนักส่วนกลาง ดังนี้ https://goo.gl/R8EYkA
15. คณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ปีงบประมาณ 2558 ของ สพฐ.ออกติดตามผล ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในโครงการ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 - 2 วัน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 - 18 กรกฎาคม 2558 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม - 5 กันยายน 2558  ซึ่งได้ส่งจดหมายแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบแล้ว ดังนี้ https://goo.gl/0bW9QB
16. การประชุมติดตามผลและเสวนาแนวทางขับเคลื่อนโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ ในวันศุกร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอผลการออกติดตาม และช่วงบ่ายเป็นการเสวนา "จากข้อค้นพบและประสบการณ์เพื่อปรับปรุงงาน Reform Lab" โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อร่วมกันขบคิด-ไตร่ตรองการปฏิบัติที่ผ่านมา ให้ได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการขับเคลื่อนงานโครงการ ระยะต่อไป ซึ่งข้อมูลผลการติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานติดตามผล ดังนี้ http://goo.gl/0qb4WD
17. สรุปผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในเชิงกระบวนการ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจในจุดเน้นการดำเนินงาน การวางแผนงาน ตั้งทีมงาน การศึกษาดูงาน การร่วมประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ AAR การประสานร่วมมือกับทีมโค้ชภายนอกด้วยงบประมาณดำเนินการ จำนวน 220,000 – 300,000 บาท/ เขต เพื่อให้ทีมโค้ชภายนอกช่วยสร้างทีมโค้ชภายในเขตและโรงเรียนของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การนิเทศติดตามโดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและคณะทำงานของเขต จากการรายงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ลดการสั่งการลง มีการกลั่นกรองงานหรือหลอมรวมงานก่อนให้โรงเรียนปฏิบัติ มีการบูรณาการงบประมาณ มีการปรับเปลี่ยนตารางสอนให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน มีการพัฒนาครูที่เน้นให้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการสอน จัดครูเก่งสอนชั้นเรียนที่มีความสำคัญ เช่น ชั้น ป.1 ให้ครูเตรียมการก่อนสอน เช่น เขียนแผนการสอนหน้าเดียว ผู้บริหารและครูตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปและทบทวนการทำงาน มองเห็นจุดที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเอง ทีมงานเข้มแข็งมากขึ้นจากการพูดคุยหารือร่วมกันแก้ปัญหา มีกลไกการจัดการผลสัมฤทธิ์  บูรณาการลดชั่วโมงการสอน ติดตั้งระบบ coaching/ AAR และจากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีการวางระบบสะท้อนผลหลังการสอน หรือ AAR สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่วนใหญ่มีการสนับสนุนด้านวิชาการและการนิเทศ ให้โรงเรียนสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น เห็นถึงความพยายามและความก้าวหน้าที่จะปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียน
ข้อมูลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2558 สพฐ.ได้ชะลอการอนุมัติดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มใหม่ จำนวน 40 เขต และกลุ่มเดิม จำนวน 20 เขต จึงมีงบประมาณส่วนที่เหลือ จำนวน 57,034,966 (ห้าสิบเจ็ดล้านสามหมื่นสี่พันเก้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) สรุปงบประมาณสุทธิที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ตลอดปีงบประมาณ 2558 จำนวน 22,775,534 บาท (ยี่สิบสองล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นห้าพันห้าร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน) จำแนกเป็น งบประมาณที่โอนจัดสรรให้เขตพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 21,385,000 บาท (ยี่สิบเอ็ดล้านสามแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 93.89 และงบประมาณที่ส่วนกลางใช้ในการประชุมเตรียมการและสร้างความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 1,390,534 บาท (หนึ่งล้านสามแสนเก้าหมื่นห้าร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 6.11
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนมุ่งเน้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ทักษะการใช้ชีวิต คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการตามระบบการนิเทศภายใน หรือระบบ AAR เพื่อให้ได้สะท้อนผลการปฏิบัติงานของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะเป็นผู้นำขับเคลื่อนและปรับปรุงระบบดังกล่าว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ลักษณะครูและผู้เรียน รวมทั้งจุดเน้นของนโยบายการศึกษา โดยเฉพาะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ที่ให้ไว้ครั้งมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 ได้ความสำคัญกับเทคนิคการสอนและการสื่อความหมาย การลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนของครู เพื่อให้ครูมีเวลาทุ่มเทให้กับการสอนนักเรียนอย่างจริงจัง การประเมินเพื่อความก้าวหน้าต้องสอดคล้องกับผลการพัฒนาผู้เรียน ทั้งความรู้ คุณลักษณะ และทักษะชีวิต นอกจากนั้น ในวันที่ 23 กันยายน 2558 รมว.ศธ.ยังได้ให้แนวนโยบายแก่ผู้บริหาร สพฐ. หนึ่งในนโยบายนั้นได้เน้นการพิจารณา/ หากลไกช่วยให้ครูมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดีและน่าสนใจ รวมทั้งให้เน้น AAR (After Action Review) ในการทบทวนการดำเนินงานหลังจากที่ได้ดำเนินการเรื่องต่างๆ ไปแล้ว ดังนั้น จะเห็นว่า แนวนโยบายเอื้อให้โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ในการปรับการบริหารจัดการ และปรับการเรียนการสอน ในแบบแผนที่ได้ร่วมมือรวมพลัง ริเริ่ม และพยายามพัฒนาต่อเนื่องตลอดมา จนเห็นถึงความก้าวหน้าและแนวโน้มของความสำเร็จ นั่นคือ ความก้าวหน้าด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และความสุขของผู้เรียน รวมทั้งผู้ร่วมอยู่ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูทุกคน
ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน : 
1. นโยบายไฟเขียวและเกื้อหนุน โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) โดยตรง มีที่ปรึกษา รมว.ศธ. (รศ.ประภาภัทร นิยม) เข้ามาเป็นที่ปรึกษาหลักร่วมดำเนินการ มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ) เป็นผู้ให้การสนับสนุนและช่วยชี้แนะ และได้รับความร่วมมือในการดำเนินการอย่างดีจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ.
2. คิดใหญ่...ทำเล็ก โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนริเริมดำเนินการกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 20 เขต ทำให้การพูดคุยสื่อสาร อภิปราย เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันได้อย่างใกล้ชิด ระหว่างฝ่ายนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมีความคล่องตัวในการปฏิบัติ ส่วนการดำเนินงานของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเริ่มต้นดำเนินงานและมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบเจาะลึก และสามารถจัดกระทำได้อย่างทั่วถึง ด้วยการนำร่องในโรงเรียน จำนวน 15 โรงเรียนในแต่ละเขต
3.ภาคีเครือข่ายร่วมมือรวมพลังอย่างเข้มแข็ง โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนได้ประสานภาคีเครือข่ายวิชาการจากภายนอกโรงเรียน ให้เข้าร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งและหนุนเสริมการวางระบบการนิเทศภายใน ให้กับโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาในระยะเริ่มต้น โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้พิจารณาเลือกตามความต้องการ ซึ่งมีมหาวิทยาลัย มูลนิธิ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา ร่วมทำงานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนด้วยความเต็มใจ และดำเนินการอย่างเต็มกำลังในทรัพยากรที่มี ส่งผลให้เขตพื้นที่และโรงเรียนได้รับมุมมอง แนวคิด และวิธีปฏิบัติที่ใช้ได้จริงในการปฏิบัติงาน
4.ระบบการพัฒนาบุคลากร ณ สถานศึกษา เรียนรู้จากหน้างานจากการปฏิบัติ และรวมพลังเรียนรู้จากกันและกัน โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเน้นย้ำให้มีการปรับเปลี่ยนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ชี้แนะให้มีการติดตั้งระบบ AAR (After Action Review) ให้นำผลจากการปฏิบัติการสอนมาสะท้อนผล เพื่อปรับปรุงพัฒนางานในหน้าที่ครูให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางวิชาการ ทำหน้าที่เป็นโค้ชตัวจริงในโรงเรียน และมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยให้ความสำคัญเรียนรู้จากการปฏิบัติของทั้งครูและผู้เรียน
อุปสรรคต่อการดำเนินงาน
1. เวลาเริ่มต้นโครงการปลายภาคเรียน รมว.ศธ.กำหนดเวลาเริ่มต้นโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนในเดือนมกราคม 2558 ซึ่งเป็นช่วงปลายปีการศึกษา เหลือเวลาจัดการเรียนการสอนจริงประมาณ 2 เดือน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว โรงเรียนต่างๆ เตรียมตัวสอบระดับชาติ หรือ O-NET กิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมระดับประเทศ และการเตรียมการวัดประเมินผลการเรียนรวบยอดของการจัดการเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียน จะเห็นว่ามีเรื่องสำคัญที่ดึงความสนใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนมาก จึงทำให้โรงเรียนโฟกัสและมุ่งมั่นปรับเปลี่ยนตามโครงการฯ ไม่ได้ทั้ง 100% และมีเวลาดำเนินการตามจุดเน้นโครงการเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนปิดภาคเรียน นอกจากนั้น การจัดหาและประสานความร่วมมือของทีมโค้ชภายนอกเพื่อร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่ทันที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดผลต่อการปฏิบัติของครู ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งสภาพการดำเนินงานของทีมโค้ชจึงดำเนินการได้ในช่วงใกล้ปิดภาคเรียน
2. การตั้งโจทย์ให้โรงเรียนทำแผนปรับปรุงคุณภาพอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและอาจพลาดจุดเน้นปรับเปลี่ยนเชิงกระบวนการบริหารและการเรียนการสอน เมื่อผ่านจุดเริ่มต้นของโครงการเป็นเวลา ประมาณ 1 เดือน ฝ่ายนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งโจทย์ให้โรงเรียนได้จัดทำแผนปรับปรุงคุณภาพและเสนอของบประมาณจากล่างขึ้นบนแบบไม่จำกัดเพดานงบประมาณ โดยให้คำนึงถึงบริบท ปัญหา และสภาพความเป็นจริงที่จะต้องพัฒนาของนักเรียนและโรงเรียน จัดส่งมายังส่วนกลาง กรณีนี้ทำให้โรงเรียนมุ่งจัดทำแผนให้ทันเวลา และนำเสนอแผนงานโครงการที่เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม มีงบประมาณที่เสนอขอสูงมาก ฝ่ายนโยบายจึงให้โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษานำแผนไปปรับแก้ 2 ครั้ง ใช้เวลาดำเนินการกว่า 1 เดือน แต่ก็ยังไม่ได้แผนที่พึงประสงค์ สุดท้ายคณะกรรมการอำนวยการโครงการมีมติไม่ให้การสนับสนุนงบประมาณตามที่เสนอขอ โดยให้เน้นการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการเท่านั้น จึงทำให้บุคลากรในโรงเรียนไม่ได้งบประมาณดังที่มุ่งหวังตั้งใจ และอาจส่งผลต่อทัศนคติของครูและบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนต่อโครงการ
ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงาน :    
การดำเนินการโครงการควรเริ่มต้นในช่วงต้นปีการศึกษา หรือต้นภาคเรียน เพราะจะทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เตรียมความพร้อม เตรียมวางแผน และปรับเปลี่ยนแนวคิดมุมมองต่อการดำเนินการล่วงหน้า อีกทั้งยังสามารถใช้ช่วงเวลาปิดภาคเรียนเป็นเวลาของการประชุมสัมมนาเตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนั้น ในการดำเนินการควรกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของการดำเนินการที่จับต้องได้อย่างชัดเจน เกิดความเข้าใจที่ตรงกันของทุกฝ่าย และเมื่อดำเนินการให้มุ่งเป้าไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น โดยละเว้นโจทย์ใหม่ ที่นำเข้ามาเติมระหว่างทาง เพราะจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องอาจละเลยไม่ให้ความสนใจไปที่เป้าหมายเดิม แต่กลับมาพะวงกับกิจกรรมที่เข้ามาใหม่ สุดท้าย อาจเป็นการปั่นทอนความมุ่งมั่นตั้งใจ และความฮึกเหิมที่จะบรรลุเป้าหมายเดิมนั้นไป
หลักฐานอ้างอิง :
1. แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. เหตุการณ์ประทับใจ (lesson learn)ที่แสดงว่าครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชี้แนะ (Coaching ) การบันทึกผลและสะท้อนผลของผู้เรียน และผู้สอนโดยตรง เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองแบบ Problem Based learning/ Project Based Learning


         

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แนวทางการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

พิทักษ์  โสตถยาคม

           ผมได้รับจดหมายแจ้งจากสำนักงานรัฐมนตรี (สร.) ให้เป็นทีมช่วยสนับสนุนข้อมูลหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในภารกิจที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) ได้รับมอบหมาย คือ รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล และผมได้ขออนุญาตร่วมดำเนินงานครั้งนี้จากผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ดร.พิธาน พื้นทอง) แล้ว ภารกิจครั้งนี้เป็นเรื่อง แนวทางการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเห็นว่าโจทย์นี้มีความสำคัญและมีผลกระทบสูงต่อครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จึงประสานขอความอนุเคราะห์ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการที่อยู่ในพื้นที่ ก็คือ ศึกษานิเทศก์ ช่วยระดมความคิดต่อทิศทางที่ควรจะเป็น จากการสอบถามนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ในวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2558 และได้รับความอนุเคราะห์ตอบคำถามและให้ความคิดเห็นกลับมา ระหว่างวันที่ 3-12 ตุลาคม 2558 จำนวน 28 คน ผมต้องขอขอบคุณอย่างยิ่งที่ทุกท่านสละเวลาร่วมคิดร่วมเสนอแนะข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายครั้งนี้ 

           สำหรับข้อคำถามมีจำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 1 ควรจะใช้คะแนนสอบ O-NET มาเป็นตัวหลัก/ ตัวร่วมในการให้ครูมี-ไม่มี หรือ ให้เลื่อน-ไม่ให้เลื่อนวิทยฐานะหรือไม่ อย่างไร ข้อที่ 2 หลักคิดและแนวทางการประเมินเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่เหมาะสมสำหรับครูและบริบทโรงเรียนไทย ควรเป็นเช่นไร เมื่อได้คำตอบมาทั้งหมดแล้วนำมาอ่านและจัดหมวดหมู่คำตอบของแต่ละคำถาม และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการประเมินวิทยฐานะครูต่อไป ดังนี้

1. การใช้คะแนนสอบ O-NET มาเป็นตัวหลัก/ ตัวร่วมในการให้ครูมี-ไม่มี, ให้เลื่อน-ไม่ให้เลื่อนวิทยฐานะ
ข้อมูลที่ได้จากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า มี 2 แนวทางใหญ่ๆ ในการใช้ผล O-NET มาพิจารณาประเมินวิทยฐานะครู ก็คือ (1) ใช้ผล O-NET เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินวิทยฐานะครู และ (2) ไม่ใช้ผล O-NET แต่ให้ดูผลการปฏิบัติงานจริงของครูแต่ละคน โดยมีผู้สนับสนุนแต่ละแนวทางเท่าๆ กัน (ร้อยละ 50)

2. หลักคิดและแนวทางการประเมินเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่เหมาะสมสำหรับครูและบริบทโรงเรียนไทย
          หลักคิดและแนวทางการประเมินเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่เหมาะสมสำหรับครูและบริบทโรงเรียนไทย จากคำตอบที่ได้ จะเน้นไปที่การพิจารณาวิทยฐานะของ “ครู” เป็นสำคัญ ดังนั้น  จึงแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นหลักคิดและเป้าหมายเจตนาในการประเมินวิทยฐานะครู ส่วนที่สอง เป็นแนวทางการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะของครู แต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้

2.1 หลักคิดและเป้าหมายเจตนาในการประเมินวิทยฐานะครู
หลักคิดและเป้าหมายเจตนาในการประเมินเพื่อวิทยฐานะครู ก็เพื่อให้คุณภาพการศึกษาของชาติดีขึ้น ไม่ใช่เพียงเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ต้องประเมินเพื่อดำรงประชาคมครู ให้มีแต่ครูที่มีจิตวิญญาณครู มีความรัก (passion) ความเป็นครู และขจัดครูที่ไม่ดีและไม่เหมาะสมให้ออกไปจากประชาคมครู (ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.) การประเมินวิทยฐานะใหม่หัวใจต้องอยู่ที่เด็ก (ผู้ทรงคุณวุฒิ ข.) ทำให้ครูมีคุณภาพขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นคุณภาพที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ครูที่ไม่มีคุณภาพก็ได้มีโอกาสปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ มากกว่าการประเมินเพียงตรวจสอบผลงาน พิสูจน์ หรือยืนยันว่าครูได้ทำอะไรที่จะเรียกว่าสิ่งนั้นมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ใช่ให้ครูก้าวหน้า แต่ให้นักเรียนก้าวหน้าด้วย เป็นการสร้างวัฒนธรรมการประเมินเพื่อการพัฒนา การสร้างความรับผิดชอบของตนเอง (ของครู) ต่องานอาชีพที่ปฏิบัติ และการให้ครูมี accountability ต่อสังคม ...ระบบการบริหารจัดการประเมินจึงควรคำนึงถึงเรื่องการบริหารจัดการวิธีการได้มาซึ่งผลงาน การได้มาซึ่งคุณภาพ ตามที่ครูนำเสนอมาให้เห็น ให้เห็นเบื้องหลังการถ่ายทำผลงานและการปฏิบัติงานต่างๆ ไม่ใช่แค่มาตรวจสอบผลงานที่ทำมาเสร็จแล้วอย่างเดียว เป็นการประเมินเพื่อ improve ไม่ใช่เพื่อ prove ซึ่งปัจจุบันเป็นการประเมินแบบ prove (ผู้ทรงคุณวุฒิ ช.) การประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา  เป็นการประเมินความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ขวัญกำลังใจความก้าวหน้า (ศึกษานิเทศก์ ถ.)

2.2 แนวทางการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะของครู
          นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ให้แนวทางการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะของครูไว้หลากหลาย เพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในการแสวงหาคำตอบที่เหมาะสมเกี่ยวกับแนวทางการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะของครูต่อไป สำหรับแนวคิดแนวทางที่ได้รับครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) ควรให้การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของงานปกติที่ดำเนินการโดยโรงเรียนและกระทรวงเป็นผู้วางระบบกลไก (2) เน้นการปฏิบัติจริงและ Performance Agreement (PA) (3) ควรประเมินจากหลายองค์ประกอบหลายตัวชี้วัด (4) ประเมินหลายโมเดลที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทโรงเรียนและกลุ่มผู้เรียน (5) ควรประเมินโดยใช้ Value-added (6) กรรมการประเมินชุดเดียวดูทุกมิติ (7) ไม่ควรประเมินครูด้วยการให้ครูเขียนผลงานวิชาการ  (8) ควรยกเลิกระบบการประเมินวิทยฐานะ แต่ควรมีค่าวิชาชีพและอาจพิจารณาใช้การประเมินสมรรถนะแทน (9) ใช้ผลการประเมิน เพื่อ เลื่อนหรือ ลดวิทยฐานะ (10) ให้มี อ.กคศ.สพฐ. รับผิดชอบประเมินวิทยฐานะบุคลากรในสังกัดเอง (11) คงให้มีการประเมินแบบ ว.17 (ผลงานทางวิชาการ) แต่เปลี่ยนการตรวจผลงานใหม่  (12) พิจารณาผลการปฏิบัติแบบยกทีม (13) ควรดูคุณสมบัติเบื้องต้นของครูประกอบ  และ (14) การประเมินครูดูที่ O-NET เป็นใหญ่...ได้น้อยกว่าเสีย ซึ่งแต่ละประเด็นแนวทางมีผู้ให้ความคิดและเหตุผล ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.2.1 การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของงานปกติดำเนินการโดยโรงเรียน อยู่ในระบบ กลไกสนับสนุน และตรวจสอบการประเมินจากกระทรวงศึกษาธิการ มีวงจรการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีของโรงเรียน และเสริมพลังของการพัฒนาต่อเนื่องให้ผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทุกส่วน
ต้องให้การประเมิน เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ ให้โรงเรียนเขาพัฒนา และประเมินครูกันเอง ทำเป็นข้อมูลในระบบ electronic ให้ผู้บริหารระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบได้ (แต่แก้ไขเองไม่ได้) ส่วนกลางจัดกระบวนการปรึกษาหารือ กำหนด guidelines และจัดกลไกตรวจสอบว่าโรงเรียนจัดการประเมินถูกต้องแม่นยำไหม และจัด Annual Conference เอาครูตัวอย่างมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ว่าตนทำให้ศิษย์ มี "ผลการเรียนรู้" ดีเยี่ยมอย่างไร ทางโรงเรียนจัดการต่างๆ อย่างไร คณะกรรมการโรงเรียนทำอะไรบ้าง และเอา โรงเรียนตัวอย่าง ด้านการประเมินครู มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้    อาจเอา เขตการศึกษาตัวอย่าง มาด้วย กศธ. ทำหน้าที่ พัฒนาระบบ และ ประเมินระบบ การบริหารงานบุคคล (ซึ่งการพัฒนาและประเมินครูเป็นส่วนหนึ่ง) ไม่ลงไปทำหน้าที่ประเมินครูเป็นรายบุคคล โดย กศธ. ทำให้กิจกรรมนี้ เป็นวงจรของการพัฒนาต่อเนื่อง และกระจายอำนาจให้โรงเรียน” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.)

ไม่อยากเห็นการประเมินที่แยกส่วนจากการทำงานของครู ไม่ได้เอาผลประเมินไปใช้ในการพัฒนาครู(ผู้ทรงคุณวุฒิ จ.)

2.2.2 ประเมินหลายมิติหลายวิธี ดูที่การปฏิบัติจริง อิงอยู่บนฐานไว้วางใจ ใช้ Performance Agreement (PA)
 “การประเมินการเรียนการสอนรอบด้าน โดย Evaluation Research Methodology ประกอบ O-NET โดยใช้ Performance Agreement (PA) และ Coaching และจะต้องปฏิรูประบบการประเมินการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ระดับกระทรวง และระดับชาติ ให้เป็นรอบด้านที่ถักทอเชื่อมโยงกัน” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ข.)

PA เป็นแนวคิดของการประเมินเพื่อพัฒนา มิติการประเมินครอบคลุมทั้งในด้านพัฒนาการด้านความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น การแก้ปัญหา การสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนที่แตกต่างกัน การบริหารจัดการชั้นเรียน การสร้างบรรยากาศ การเรียนรู้ที่สะท้อนถึงความมั่นคงปลอดภัย อบอุ่น เป็นมิตร การสร้างความยุติธรรม ความเสมอภาคที่จะเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่แตกต่างกัน การสะท้อนถึงแนวทางการเรียนรู้ การปรับปรุง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้มีประสิทธิภาพการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมองเห็นเป็นคนใฝ่เรียนรู้ รวมทั้งการให้ความร่วมมือ involve ต่อส่วนรวม ต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ต่อสังคม โดยกำหนดและไต่ระดับความแตกต่างของระดับ performance ในแต่ละวิทยฐานะ ให้แตกต่าง และผู้ประเมินมีส่วนในการประเมินในทุกส่วนตลอดแนว ไม่แยกส่วนพัฒนาเกณฑ์ (criteria) การประเมินใหม่ เป็น rubric of performance กำหนดมิติหรือประเด็นการประเมิน สร้างสเกลการไต่ระดับความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติของแต่ละมิติในแต่ละวิทยฐานะ เพราะการกำหนดเกณฑ์ rubric แบบนี้จะทำให้ได้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงพัฒนา วิทยฐานะยิ่งสูงยิ่งต้องมีเกณฑ์ที่จะสะท้อนให้เห็นว่าเขาได้อุทิศตน (devote) ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อสังคม ส่วนรวม ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเช่นกัน อย่างไร และการสะท้อนให้เห็นว่าเขามีความรู้ความสามารถในระดับเป็นผู้นำ ให้คำปรึกษา และความสามารถที่จะรักษาคุณภาพความสามารถของตนให้คงไว้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้อย่างไร...ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายมิติ จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อพัฒนา และไม่เกิดการทุจริตด้วยการจ้างทำผลงาน ถ้าจะมีรายงานสรุปสิ่งที่ดำเนินการ ไม่เกิน 10 หน้า อาทิ การเข้าสังเกตการสอน บรรยากาศห้องเรียน การเรียนของนักเรียน ดูจากพัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าจะดูแต่ผล O-NET ความสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน teaching artifacts  Portfolio ที่ครูทำ และเบื้องหลังการดำเนินงานจนได้เป็นงานเหล่านั้น การมี evidence-based feedback การให้ได้พูดคุย ปรึกษาหารือกัน การให้ครูได้ประเมินตนเองในระหว่างการประเมิน การประเมินดูจากพัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าที่จะมาดูแต่ผล O-NET...สร้างบรรยากาศการประเมินในลักษณะที่เรียกว่า ไว้วางใจ (Build on trust) ศธ.ควรสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในเรื่องการประเมินที่เป็น Build on trust ให้กับบุคลากรของ ศธ.และผู้ประเมิน ในเรื่องอื่น ๆ ด้วย...ควรให้เขตพื้นที่ สถานศึกษา และตัวครูเอง มีส่วนร่วมในการประเมินด้วย เพราะเขตพื้นที่ สถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร และเพื่อนร่วมงาน และตัวครูเอง ก็มีความต้องการความรู้ ความสามารถ ทักษะ พฤติกรรม บางอย่างที่เขาต้องการด้วย การประเมินแล้วนำผลการประเมินมาพัฒนา ปรับปรุง ก็จะตรงจุดกับสิ่งที่เขาต้องการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ ช.)

“การประเมินโดยทางตรงที่ performances ต่อการจัดการเรียนการสอนของครูก็ทำได้เช่นกัน เพียงแต่เราไม่เคยทำกัน เพราะกระบวนการเช่นนั้น ต้องกำหนด เกณฑ์การประเมินอีกชุดหนึ่ง และต้องอาศัยการประเมินในระดับปฏิบัติการในสถานศึกษา แล้วจึงค่อยนำผลการประเมินทั้ง 2 ชุด มาตรวจสอบกัน  ตัวอย่างที่โรงเรียนใช้ โดยการจัดทำเกณฑ์การประเมินการทำงานของครูขึ้นเฉพาะ มี 2 ชุดหลัก ได้แก่ ชุดที่ 1) เกณฑ์ทั่วไป ซึ่งจะใช้เป็นเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้าง อิงหลัก กุศลกรรมบท 10 และชุดที่ 2) เกณฑ์รายปี จะอิงกระบวนการทำงานเช่น การออกแบบและการนำเสนอแผนการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์ สถานที่ รวมทั้งแบบบันทึกการสอนและประเมินผู้เรียนรายบุคคล นอกจากนี้ยังมีผลบันทึกการประชุม AAR และผลการทำงานPerformancesในแต่ละด้าน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้ และทำการประเมินโดยผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ รวมทั้งจากผู้เรียนและการประเมินตนเอง เรียกว่าการประเมิน 360 องศา คะแนนที่ได้เกิดจากการให้ค่าน้ำหนัก และค่าคะแนนตามลำดับความสามารถ ซึ่งครูจะทราบเกณฑ์เหล่านี้ล่วงหน้า ว่าปีนี้จะเน้นเรื่องใดเป็นพิเศษ ต่างจากปีก่อน  จะเห็นได้ว่า การประเมินครูและผู้บริหาร เป็นงานที่ต้องอิงอยู่กับบริบทของโรงเรียนและเป้าหมายทั้งในระยะ 1 ปี และระยะยาวอย่างชัดเจน ผลลัพธ์จึงจะสะท้อนต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในที่นั้นๆโดยตรง เพราะการทำงานของครูไม่ใช่งานสำเร็จรูปแบบอุตสาหกรรม ที่ใช้มาตรฐานเดียวกันได้ทุกแห่งเสมอไป อาจจัดเป็นกลุ่มประเภท/ระดับคุณภาพได้บ้าง หรืออาจจัดทำเกณฑ์มาตรฐานไว้ก็จริงแต่เมื่อนำไปใช้ควรยืดหยุ่นให้มีจุดเน้นที่แตกต่างกันได้บ้าง แม้ในโรงเรียนเดียวกัน แต่ละปียังเน้นไม่เหมือนกัน เช่นนี้เป็นต้น และจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้สัมพันธ์กับ การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างแยกไม่ออก หากเราแยกงานนี้ออกต่างหากจากการพัฒนาสถานศึกษาเมื่อไร เราก็จะประสพปัญหาดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เปรียบเทียบง่ายๆกับหน่วยงานเอกชน หรือองค์กรคอร์เปอเรทขนาดใหญ่ งาน HRD จะเป็นงานที่มักจะอยู่กับฝ่ายวางแผนและพัฒนา และทำเป็น tailor-made  เสียมากกว่า ซึ่งจะต่างจากราชการอย่างตรงกันข้าม เพราะการแยกการบริหารบุคคลออกไป จะทำให้การบริหารสั่งการในสถานศึกษาไม่บังเกิดผลทันที” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ฉ.)

“1. ควรใช้คะแนน. o-net เป็นตัวร่วมในการประเมินแบบ PA. เพราะเป็นตัวสะท้อนว่าครูจัดการเรียนการสอนโดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ของหลักสูตรและใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลการพัฒนา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่ครูออกแบบเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามบริบทของห้องเรียนที่แท้จริง จะทำให้นักเรียนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาการสอนของครู ตามพันธะสัญญา 2. เกณฑ์PA. ควรใช้ในการประเมินวิทยฐานะของครูไทย มากกว่าแบบเก่าเพราะไม่ต้องเขียนเอกสารมากแต่เน้นการปฏิบัติงานของครู. ครูต้องไม่ทิ้งนักเรียนเพื่อเขียนผลงาน ผู้อ่านผลงานบางคนก็ขาดคุณภาพทำให้งานของครูตกประเมิน เพราะเอามาตรฐานของตนเองเป็นตัวตั้งมากกว่าเกณฑ์การประเมิน(ศึกษานิเทศก์ จ.)

“ควรให้ผู้ประสงค์จะส่งผลงานทางวิชาการแจ้งแนวทางการสร้างนวัตกรรม การพัฒนาหรือแก้ปัญหาระดับชั้นเรียนที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่ให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการไปร่วมพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้ เป็นไปตามหลักสูตร มาตรฐาน กลยุทธ์ นโยบาย แล้วให้มีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือตลอดการจัดทำผล จะส่งผลต่อการพัฒนาครูด้วย ไม่ควรสอบเพื่อคัดกรองครู เพราะไม่สะท้อนถึงผลงาน – ผู้เรียนที่มีส่วนได้เสียกับผลงานของครูดังกล่าว” (ศึกษานิเทศก์ ฎ.)

ผลงานครูควรเป็นผลงานวิชาการ ที่พิสูจน์จากการปฏิบัติงานในหน้าที่จริงของครู ที่มีการรับรองตรวจสอบตามลำดับชั้น โดยอาจเป็นการพัฒนากระบวนการสอนที่ไม่เน้น format การเขียน โดยมีการเสนอเป้าหมายความสำเร็จล่วงหน้า” (ศึกษานิเทศก์ ฑ.)

ควรเป็นการประเมินที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง ของครู เด็ก และ โรงเรียนนั้นๆ เน้นการพัฒนาที่มีพัฒนาการขึ้นจากเดิม เน้นหลักฐาน ประจักษ์พยาน ที่ปรากฏตรงหน้า มากกว่าเอกสารงานวิจัยที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยแต่ไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง มุ่งเน้นความพยายามมุ่งมั่น ที่ไม่ใช่การประเมินจากเอกสาร ต้องประเมินจากผลงาน ประจักษ์พยามแวดล้อม ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง ใช้สังคมมิติ มาช่วยในการประเมิน ...ใครก็สามารถเป็นคณะกรรมการได้ แต่หลักการ ควรให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลการจัดการศึกษาหรือผลการปฏิบัติงานของผู้ขอรับการประเมิน มีส่วนร่วมในการประเมิน หรือ เป็นผู้ที่สามารถ รู้เห็นพฤติกรรม ของผู้ขอรับการประเมิน เห็นพัฒนาการของเด็กเป็นระยะสม่ำเสมอ  และเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าในในบริบทของผู้ที่ขอรับการประเมินอย่างแท้จริง” (ศึกษานิเทศก์ ฒ.)

ศึกษานิเทศก์มีหน้าที่นิเทศและให้ความช่วยเหลือในการจัดการเรียนการสอน เวลาประเมินก็ควรจะมอบหน้าที่ การพัฒนาครูผู้สอน และแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินวิทยฐานะครูผู้สอนด้วย จึงจะครบวงจรที่สมบูรณ์ ดิฉันชอบแนวทางการประเมินโดยใช้ ว.7 นะคะ ที่ควรให้ครูผู้สอนได้เสนอนวัตกรรมสำหรับพัฒนาผู้เรียนก่อนและให้พัฒนาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี แต่บุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการประเมินควรเป็นศึกษานิเทศก์ ที่จะต้องให้คำแนะนำและประเมินผลงานตลอดระยะการดำเนินงาน 2 ปี อย่างต่อเนื่อง” (ศึกษานิเทศก์ ด.)  

“PA เป็นเรื่องดี...จริงไม่จำเป็นต้องให้ถึง  ก.ค.ศ.  ถ้าวางระบบดี...บุคลากรระดับเขตพื้นที่ จะเป็นกรรมการที่ช่วยให้ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทำงานได้ตรงกับภาระงานและเกิดผลดีต่อการศึกษาจริงๆ เพราะศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารในโรงเรียน  เพื่อนครู  จะทราบดีว่าครู/ผู้บริหาร คนไหนทำงานเพื่อเด็กจริงๆ...ถ้าใครประเมินโดยขาดความรับผิดชอบ..ต้องมีความผิดด้วย...กล่าวคือ ผลการประเมินไม่สอดคล้องกับความจริง สิ่งเหล่านี้หาคำตอบได้...แค่ถามผู้ปกครองก็รู้แล้วว่าครูคนไหน...ควรได้เลื่อนวิทยฐานะ....ถามเด็กยังได้เลย” (ศึกษานิเทศก์ ต.)

ผู้ขอทำข้อตกลง (PA) พัฒนาผู้เรียนในวิชาที่สอน 1 ปีการศึกษา โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตลอดปีการศึกษาส่ง ณ วันทำข้อตกลง 4 ชุด กรรมการเยี่ยมครูผู้สอน สังเกตการสอน ชี้แนะ(Coach)ให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และติดตามการพัฒนา ตามแผนการจัดการเรียนรู้ของครูอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง (ผู้ขอเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่าย โดย ก.ค.ศ.กำหนดเพดานไม่เกิน....บาท/1 ครั้ง) ผู้ขอต้องทำวิจัยในชั้นเรียน และรายงานผลการวิจัยตลอดปีการศึกษาของวิชา/วิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน โดยมีกรรมการเป็นพี่เลี้ยงดูแล (ศึกษานิเทศก์ ก.)

2.2.3 ประเมินหลายองค์ประกอบ หลายตัวชี้วัด และ O-NET เป็นส่วนหนึ่ง
1. ควรดูที่หลายตัวชี้วัด รวมทั้ง (ก.) ผลการเรียนรู้ของศิษย์ (ข.) คุณลักษณะส่วนตัวที่เหมาะสมกับความเป็นครู (ค.) ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน (ง.) ความเห็นของคณะกรรมการโรงเรียน (จ.) อื่นๆ 2. ผลการเรียนรู้ของศิษย์ ควรดูที่  การพัฒนาลักษณะนิสัย (characters)  พอๆ กับคะแนนสอบ 3. คุณลักษณะส่วนตัวที่เหมาะสมกับความเป็นครู หากไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรง (ผิดจรรยาบรรณครู) เช่นเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว  มีปัญหาชู้สาววุ่นวาย ทุจริตในการรายงานผลงาน  ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่/ไม่อุทิศตนและเวลา ฯลฯ ต้องให้หมดสภาพความเป็นครู เก็บไว้เฉพาะคนที่เหมาะสม มีความรัก (passion) ความเป็นครูเท่านั้น 4. ผู้บริหาร ต้องมีส่วนสำคัญ ในการประเมินครู  เพราะใกล้ชิด  โดยผู้บริหารก็ต้องมีคุณลักษณะส่วนตัว และการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสม(ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.)

“ข้อมูลที่นำมาพิจารณา คือ (1) คะแนน O-NET ของนักเรียนของตนในชั้นที่สอน กลุ่มสาระที่สอน (กรณีครูมัธยมศึกษาให้พิจารณาวิชาที่สอนเพิ่มเติมด้วย).....% (2) ผลประเมินคุณธรรม/จริยธรรม ที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของนักเรียนของตน/โรงเรียน.....% (3) ผลประเมินทักษะภาคปฏิบัติ ที่อยู่ในโครงงานที่ให้นักเรียนทำ.....% (4) ผลประเมินสุขภาพอนามัย (ตามเกณฑ์และโดยกระทรวงสาธารณสุข)ฺ.....%” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ค.)

“ควรจะวัดทุกด้าน ทั้ง เก่ง ดี มีสุข O-NET คือ เก่ง  ควรสร้างเครื่องมือเพิ่ม ที่วัด ความดี  ความสุข(ศึกษานิเทศก์ ฉ.)

การทดสอบ O-NET  เป็นมาตรฐานด้านผลสัมฤทธิ์ที่สามารถนำผลไปใช้หลายทางอย่างหลากหลาย หากคิดเชิงบวกและนำไปใช้ขับเคลื่อนเพราะน่าเชื่อถือ สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตร การนำผลมาเป็นเงื่อนไขถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม...เพราะครูบางท่านไม่ควรเป็นผลกระทบโดยตรงทั้งเวลา (สอนอุบาลกว่าจะถึง ป.6 สอนพละ ก็จะไม่สอบ) เป็นต้น แต่หากจำเป็นต้องใช้เป็นเงื่อนไข ก็ควรค่าคะแนนส่วนน้อยที่สุด ควรให้คะแนนด้านที่เหลือ (เกณฑ์การจบหลักสูตรประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ ด้านคุณลักษณะ ด้านอ่านคิดวิเคราะห์ และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) การกำหนดผลการพัฒนาและข้อมูลสะท้อนผลโดยรวมจะช่วยเป็นกรอบแนวทางการสอนโดยรวมของครูที่ต้องการส่งผลงานให้ดูแลผู้เรียนครบองค์ประกอบจะดีกว่าผลการสอบเพียงด้านเดียว”  (ศึกษานิเทศก์ ฎ.)

“...มีประโยชน์เฉพาะผู้สอนชั้นที่มีการสอบ O-NET (ป.6ม.3 ,6) และคุณภาพผู้เรียนไม่ใช้ความรู้อย่างเดียว” (ศึกษานิเทศก์ ฏ.)

“ความสำเร็จของการศึกษา คืออะไร   คำตอบสากล คือ เด็ก เก่ง ดี มีสุข แล้วรู้ได้อย่างไร ประเมินไม่ยาก เก่ง....ก็เอาแบบประเมินมาประเมิน...ทั้ง ความรู้  และผลงานจากการปฏิบัติ ดี .....ก็สังเกตพฤติกรรมการแสดงออก การทำงาน การอยู่ร่วมกัน สัมภาษณ์เพื่อดูทัศนคติแนวคิด มีสุข....ก็สังเกตพฤติกรรม สีหน้า ท่าทาง ความกระตือรือร้น แววตา ร่างกาย สุขภาพของผู้เรียน ถ้าเด็กผ่านเกณฑ์...ก็น่าจะโอเค ใครจะประเมินก็ได้” (ศึกษานิเทศก์ ฒ.)

“ให้ O-NET เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ถ้าคะแนนการประเมิน 100 % ก็ควรใช้คะแนน O-NET แค่ 20 % ก็น่าจะเพียงพอแล้ว” (ศึกษานิเทศก์ ด.)  

O-NET  ผมว่ายังมีความจำเป็นอยู่ การเลื่อนวิทยฐานะก็ควรมีผลงานเชิงประจักษ์ ใช้ข้อมูลอะไรก็ได้ที่สามารถระบุได้ว่า คนๆ นั้นปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังสร้างผลงานได้ นักเรียนมีพัฒนาการทางความรู้สูงกว่าเดิมผ่านเกณฑ์การประเมินด้านมาตรฐานการเรียนรู้และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์” (ศึกษานิเทศก์ ง.)

2.2.4 ประเมินครูควรมีหลายโมเดล ตามบริบทโรงเรียน และกลุ่มผู้เรียน
 ไม่อยากเห็น...การประเมินแบบโมเดลเดียวใช้กับครูทุกบริบทโรงเรียน ทุกวิชา ทุกท้องถิ่น การเป็นครู ค.ศ.4 ของครูชายแดนกับครูโรงเรียนเตรียมอุดม ไม่น่าจะใช้เกณฑ์เดียวกัน ความพร้อม/input ต่างกันมาก(ผู้ทรงคุณวุฒิ จ.)

ควรแบ่งการประเมินออกเป็น 2-3 กลุ่ม ไม่ควรตัดเสื้อไซท์ F ให้ทุกคนใส่ดังนี้ 1. ประเภทที่ 1 โรงเรียนในเมือง โรงเรียนในฝัน โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมาก โรงเรียนที่มีงบประมาณสนับสนุนมาก 2. ประเภทที่ 2 โรงเรียนนอกเมือง เด็กต่ำกว่า 80 คน อยู่ในถิ่นทุรกันดาร เด็กยากไร้ ประเภทแรก (1.1) ใช้ฐานวัดความรู้เด็กดูจากพัฒนาการของห้องเรียน ดูจากการสร้างนวัตกรรมการสอนที่ส่งผลจนแก้ปัญหาหรือพัฒนาต่อยอดได้ รวมกับ (1.2) ค่าคะแนน บวร ที่ยอมรับความเป็นครูดี มีศีล 5  หรือธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ. มีกิจกรรมส่งเสริมเด็กในการใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ประเภทสอง ไม่ใช้วัดความรู้เด็ก แต่วัด (2.1) การอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขเป็น และคุณลักษณะนิสัยเด่น ของนักเรียนชั้นที่สอน 2.การสร้างนวัตกรรมการสอนที่สอดคล้องกับท้องถิ่น และลักษณะความเป็นอยู่ของเด็กอย่างน้อย (2.2) กลุ่มที่เป็นกลุ่มด้อย และกลุ่มเด่น เหตุผล สภาพแวดล้อมต่างกัน นักเรียนเก่งอ่อนไม่เท่ากัน สื่อและสภาพโรงเรียนต่างกัน ส่วนรายละเอียดอื่น ค่อยๆ หาตัวแปรที่เท่าเทียมกันมาวัด ซึ่งโรงเรียนในชนบท เลือกเด็กไม่ได้ ยังยากจนอยู่  ควรอิงกับพัฒนาการของตนเอง ให้ดีขึ้นจากฐานผลสัมฤทธิ์เดิมให้ดีขึ้นทุกปีจากการพัฒนาของโรงเรียนเอง แต่ต้องไม่ต่ำลงกว่าเส้นเดิมที่เคยทำไว้ และมุ่งแก้ปัญหาการเรียนรู้ อ่านเขียนเรียนเลขคล่อง มุ่งงานอาชีพ ทักษะชีวิต และมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี  มากกว่าเก่งอย่างเดียว” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ซ.)

“โรงเรียนในประเทศไทยมีบริบทและความแตกต่างนะค่ะ โรงเรียนในเมือง กะโรงเรียนตามชนบท แตกต่างกันมาก ด้านผู้เรียน ตัว input ซึ่งปัจจัยความต่างมาจากสภาวะนอกโรงเรียน เช่น เศรษฐกิจ สังคม สภาพครอบครัว สังคม วัฒนธรรม” (ศึกษานิเทศก์ ฉ.)

“การประเมินวิทยฐานะครู  มีความหลากหลาย  บริบท  กลุ่มครูผู้สอน  กลุ่มตำแหน่ง ความแตกต่างของพื้นที่หลายสังกัด โรงเรียนมัธยมประจำตำบล  จะทำอย่างไร ในเด็กนักเรียนขาดโอกาส ม.ต้น ม.ปลาย โรงเรียนขนาดต่าง ๆ  ร.ร. ขนาดเล็ก  ร.ร.ในพื้นที่ห่างไกล  ร.ร. ที่มีเป้าหมายเฉพาะทำอย่างไร” (ศึกษานิเทศก์ ท.)

“บริบทโรงเรียนของเราแตกต่างกันมาก การประเมินควรทำตามบริบทเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู โรงเรียนเสี่ยงภัย ชายแดน ให้โอกาสสงสารครูบ้าง” (ศึกษานิเทศก์ ฏ.)

ต้องคิดถึงครูที่อยู่ในพื้นที่ที่ยากลำบากด้วย ไม่ใช่เอามาตรฐานงานวิจัยของ นศ.ป.โท ที่ อ.มหาลัยสอนมาจับ” (ศึกษานิเทศก์ ฑ.)

การประเมินว่า เป็นผลจากการพัฒนาของครูที่ขอเลื่อนวิทยฐานะ ควรใช้การประเมินตามสภาพจริง เป็นหลัก เพราะเด็กในแต่ละแหล่ง แต่ละท้องที่ มีสภาพที่เอื้อ มีโอกาส ที่แตกต่างกัน การพัฒนาของเด็กบางคน บางกลุ่ม อาจไม่สม่ำเสมอกันในแต่ละด้านเช่น บางที่บางแห่ง เด็กที่ด้อยโอกาส หรือเด็กต่างจังหวัดในถิ่นทุรกันดาร  การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปทางด้านเป็นคนดี เน้นไปทางด้านการประกอบอาชีพ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศมาเป็นตัวจับ ควรเน้นที่พัฒนาการของเด็กว่าเด็กที่ครูท่านนั้นพัฒนา เขาพัฒนาไปในด้านไหน เด่นในเรื่องอะไร เช่น ครูบางคนเก่งและมีความชำนาญ ในการพัฒนาเด็กที่บกพร่อง ให้กลับมาเป็นเด็กปกติ ครูกลุ่มนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผลสอบ O-NET มาเป็นองค์ประกอบในการประเมิน  ทำนองเดียวกันกับครูที่มีความชำนาญการ หรือได้รับผิดชอบในการพัฒนาเด็กในเรื่องของการเป็นคนดีในสังคม การเป็นคนดีในด้านการประกอบอาชีพ  ครูกลุ่มนั้นสามารถพัฒนาเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรม ให้เป็นคนดี  มีความรู้ความสามารถในด้านการประกอบสัมมาอาชีพ ครูกลุ่มนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผลจากการสอบ O-NET  (ครูกลุ่มนี้มีเยอะมากในพื้นที่ต่างจังหวัด )  ครูกลุ่มนี้สามารถวัด ได้จาก เด็ก และผู้ปกครอง หรือชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือมาตรฐานอย่างขอสอบ O-NET มาวัด” (ศึกษานิเทศก์ ฒ.)

2.2.5 ควรประเมินครูโดยใช้ Value-added
Value-added model เป็นการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม หรือการประเมินมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นวิธีประเมินผลงานของครูในปีนั้น โดยเปรียบเทียบคะแนนสอบปัจจุบันของนักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน กับคะแนนสอบของนักเรียนชั้นเดียวกันนี้เมื่อปีที่แล้ว แล้วพิจารณาดูว่าครูได้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักเรียนได้มากน้อยเพียงไรเมื่อเทียบกับปฏิบัติงานของครูอื่นๆ (Wikipedia. 2015: online) แนวทางการประเมินโดยใช้ Value-added ดังเอกสารที่ผู้ทรงคุณวุฒิ ง แนะนำมาให้ศึกษาดังนี้  https://goo.gl/LGSWZ1 และ https://goo.gl/roqZJg

     “ควรประเมินโดยใช้ Value-added” (ผู้ทรงคุณวุฒิ จ.)

“ควรให้ความสำคัญกับเรื่อง value-added growth model มากกว่าการมองเพียงเรื่อง high achievement” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ช.)

ควรใช้ผลสัมฤทธิ์และหลักฐานการประเมินผลการสอนในสภาพจริงของครู โดยให้ดูพัฒนาการจากฐานเดิม” (ศึกษานิเทศก์ ฑ.)

2.2.6 กรรมการประเมินครูควรเป็นชุดเดียวดูทุกมิติ
 “การประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการชุดเดียว ควรประเมิน 1) ประเมินสภาพจริงการปฏิบัติงานที่สถานศึกษา (เชิงประจักษ์) 2)  ประเมินผู้เรียน (ผลผลิต) 3) ประเมินผลงานทางวิชาการ (เป็นสากล)” (ศึกษานิเทศก์ ถ.)

2.2.7 ไม่ควรประเมินครูด้วยการให้ครูเขียนผลงานวิชาการ
“ไม่อยากเห็นการประเมินที่ 1) เน้นการตรวจเอกสาร 2) เน้นกระบวนการสอน (ดูแผน/สื่อ) หรือผลการสอน (คะแนนสอบของนักเรียน) อย่างใดอย่างเดียวหรือสุดโต่งเกินไป  ทุกวันนี้เน้นไปที่กระบวนการสอนอย่างเดียว แต่ไม่ได้ดูว่าสอนจริง ๆ อย่างไร ประเมินการสอนจากเอกสาร ซึ่ง copy หรือจ้างคนอื่นทำ เช่นใน http://goo.gl/7vvGul   ควรประเมินจากหลายมิติ จะใช้แนว value-added ก็ได้(ผู้ทรงคุณวุฒิ จ.)

“การประเมินที่ผ่าน  ส่งผลเสียต่อวงการศึกษา และมีความผิดพลาดอย่างไร  คำตอบคือ การประเมินที่ ครูต้องทำผลงานวิชาการส่งเป็นเอกสารรายงานวิจัย เป็นการเพิ่มภาระของครูที่มีมากอยู่แล้ว ให้มาทำในสิ่งที่เขาไม่ถนัด ไม่ชำนาญ บางคนไม่ได้เรียนมา ทำให้ รูปแบบการทำผลงานวิจัยไม่ถูกต้องตรงตามรูปแบบการวิจัย คณะกรรมการประเมิน ด้านผลงานวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการทำงานวิจัยที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย คุ้นเคยกับการสอนในระดับ ป.โท และ ป.เอก คุ้นเคยกับความเข้มงวดของการตรวจวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา  ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับเด็กที่เรียนในโรงเรียนที่มีความพร้อม สูงเช่น โรงเรียนสาธิต โรงเรียนประจำจังหวัด แต่ไม่คุ้นเคยกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนักเรียนในระดับประถม ที่ดำเนินการบนความขาดแคลน โดยเฉพาะระดับประถมศึกษาที่ ขาดแคลนสื่ออุปกรณ์ ขาดแคลนครู ขาดแคลนเงินในการบริหาร  ทำให้เวลามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการประเมิน จึงมักเอาประสบการณ์ ความคุ้นเคยเหล่านั้นมาใช้เป็นมาตรฐานกับ ครูระดับประถมศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ในสภาวะความเป็นจริง ที่ต้องปรับเปลี่ยน หมุนเวียนไม่คงที่ของเด็กนักเรียนที่รับผิดชอบในแต่ละรุ่น ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ ผู้ขอรับการประเมินที่มีความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เกิดพฤติกรรมการเอาตัวรอด ให้สอดคล้องกับผู้ประเมิน ทำอย่างไรจึงจะได้คะแนนจากผู้ประเมิน ก็ต้องทำตามที่ผู้ประเมินชอบ คุ้นเคย ให้เครดิต  ผลที่ได้รับ จึงไม่สะท้อนคุณภาพเด็กที่แท้จริง  เกิดธุรกิจ / เกิดการทุจริตในการทำผลงาน” (ศึกษานิเทศก์ ฒ.)

“ไม่เห็นด้วยกับการให้ครูเขียนผลงานวิชาการ ในลักษณะผลงานวิจัย เพื่อยื่นขอรับการประเมินฯ เพราะ บทบาทหน้าที่ของครู คือ ทำการเรียนการสอนกับนักเรียนของเขาเต็มเวลา  ดังนั้นในความเป็นจริง จะไม่มีครูคนใดที่จะมีเวลาที่จะไปเขียนเอกสารผลงานทางวิชาการที่เต็มรูปแบบได้  ซึ่งต่างจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย ที่มีบทบาทหนึ่งว่า ต้องทำการวิจัย เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ไปใช้สอนนักศึกษา และยังสามารถลาไปทำ/เขียนผลงานได้เป็นเวลา 1 ปี  แต่ครูในโรงเรียนทั้งสอน ทั้งเขียนผลงาน ไม่สามารถทำได้  และคนที่ทำได้ ก็จะต้องไปเบียดบังเวลาที่จะต้องอบรม ดูแลนักเรียนนั่นเอง  โดยเฉพาะครูผู้สอนระดับปฐมวัย และประถมศึกษา(ศึกษานิเทศก์ ค.)

จุดอ่อนในการประเมินในปัจจุบันคือครูผู้สอนที่ส่งผลงานประเมินวิทยฐานะส่วนใหญ่ไม่ได้จัดทำนวัตกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยตนเอง จึงไม่เห็นความสำคัญและเรียนรู้กระบวนการพัฒนาผู้เรียนอย่างจริงจัง และคณะกรรมการที่ทำการประเมินก็แต่งตั้งมาจากนอกสังกัด ทำให้ครูผู้สอนที่ได้รับการประเมินไม่มีคุณภาพ ผลการพัฒนาก็ไม่ตกอยู่ที่ผู้เรียน กลายเป็นตกอยู่ที่ผลงานใดจะมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการมากกว่ากัน เป็นการประเมินที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง” (ศึกษานิเทศก์ ด.)  

2.2.8 ยกเลิกระบบการประเมินวิทยฐานะ แต่ควรมีค่าวิชาชีพ และอาจพิจารณาใช้การประเมินสมรรถนะแทน
“ไม่ควรมีการประเมินครับ แต่ควรมี "ค่าวิชาชีพ" จากลักษณะงานที่ปฏิบัติมากกว่าครับ หมายถึง วิชาชีพครู ต้องมี เงินค่าวิชาชีพทุกคน ทั้งนี้ อาจให้ตามคุณวุฒิ เป็นต้น หรือ กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่ ที่ครอบคลุมการพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 1) ระบบเงินเดือนครู ไม่ควรมีขั้น ให้มีการเลื่อนขั้นเป็น %  ปีหนึ่ง ๆ เลื่อนในกรอบวงเงิน 6 %  2) การเลื่อนขั้นเกิดจากการจัดอันดับคุณภาพโรงเรียน เป็น กรุ๊ป A B C D เป็นต้น (วิธีการจัดกรุ๊ปโรงเรียนต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ชัดเจน) 3) แต่ละกรุ๊ป เลื่อนขั้นเงินเดือนไม่เท่ากัน 2% 3% 4% 5% 6% เป็นต้น หมายเหตุ 1.ครูจะช่วยกันทำงานทั้งโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนตนเอง 2. หมดปัญหาครูทะเลาะกันเรื่อง 2 ขั้น เพราะ ได้เลื่อนเท่ากันทั้งโรงเรียน เป็นต้นครับ” (ศึกษานิเทศก์ ซ.)

“ควรมีการจัดให้ครูประเมินสมรรถนะ ที่จำเป็นของครู เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ  ตัวอย่างเช่น การประเมินสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ซึ่ง สทศ. เปิดให้ครูสมัครเข้ารับการทดสอบ เป็นต้น  เพราะวิธีการนี้จะเป็นการบังคับให้ครูต้องพัฒนาประสิทธิภาพของตนเอง ได้เป็นอย่างดีกว่า การทำผลงานวิชาการไปส่ง(ศึกษานิเทศก์ ค.)

ควรปัดฝุ่นนำการประเมินสมรรถนะมาใช้เป็นส่วนที่1 จากนั้นกำหนดสมรรถนะนักเรียนขั้นต่ำของนักเรียนที่ครูแต่ละพื้นที่ต้องพัฒนาเด็ก ผ่านเกณฑ์ก็เลือนให้ครูเขาไปเถอะ ทำงานกันเหนื่อย ทุกคน” (ศึกษานิเทศก์ ฌ.)

ถ้าเราไม่เอาเรื่องโอเน็ต มาใช้ด้วยเลยจะดีกว่าไหม? เพราะเรื่องนี้การสอบแต่ละครั้งลงทุนเยอะมาก แต่การนำไปใช้ก็ไม่ได้ไปใช้อะไร ?? มหาลัยก็รับเด็กเอง ..บริบทแต่ละสถานที่ก็ไม่เหมือนกัน จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะมีการประเมินแบบอื่นที่สะท้อนผลความเป็นครูที่ดี กับความเป็นนักเรียนที่ดีมีคุณภาพจริงๆๆ” (ศึกษานิเทศก์ ญ.)

“ควรคิดใหม่ใช้ระบบควบคุมคุณภาพแบบอื่น และเลื่อนอัตโนมัติแบบข้าราชการอื่น ครูมีขวัญกำลังใจมากกว่า”  (ศึกษานิเทศก์ ฏ.)

2.2.9 ใช้ผลการประเมิน เพื่อ “เลื่อน” "คง" หรือ “ลด” วิทยฐานะ
ควรใช้ผลการประเมินเด็กทั้งการเลื่อนวิทยฐานะและการคงสภาพ ตลอดจนการเลื่อนเงินเดือน การใช้ผลประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะทำเป็น 2 ส่วนคือ 1.นำผล O-NET ประกอบข้อเสนอ เมื่อผ่านเกณฑ์ แล้ว 2.ประเมินสมรรถนะนักเรียนโดยตั้งกรรมการลงไปประเมินโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ” (ศึกษานิเทศก์ ฌ.)
      
2.2.10 ให้มี อ.กคศ.สพฐ. รับผิดชอบประเมินวิทยฐานะบุคลากรในสังกัดเอง
ก.ค.ศ.  มีจำนวนคนไม่พอ ต้องใช้คนของ สพฐ.เป็นอนุกรรมการ ได้แก่  ผอ.สพป. และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกษียณอายุ  ค่าใช้จ่ายสูง ล่าช้าทุกกรณี  ทางแก้ไขเรื่องวิทยฐานะก็คือ จะต้องมี อ.ก.ค.ศ. สพฐ.  เพื่อดำเนินการ ทุกเรื่อง  ทั้งวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ ให้ยุติที่  สพฐ.” (ศึกษานิเทศก์ ท.)

2.2.11 คงให้มีการประเมินแบบ ว.17 (ผลงานทางวิชาการ) แต่เปลี่ยนการตรวจผลงานใหม่
“รูปแบบการประเมิน จะมีจุดดี  จุดอ่อนในทุกรูปแบบ ไม่มีวิธีการไหนดีที่สุด แต่ผมยังคิดวา การขอเลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ หรือเชี่ยวชาญ ควรใช้รูปแบบ  ตาม ว.17 กระบวนการตาม ว17 ดี แต่ที่มีปัญหาตอนนี้  น่าจะอยู่ที่คณะกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ ที่ไม่มีมาตรฐาน บางคณะยังรับเงินจากผู้ส่งผลงาน  ถ้าแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ การส่งผลงานทางวิชาการเลื่อนวิทยฐานะ น่าจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน   ซึ่งสมัยก่อนการตรวจผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนเป็น ซี 8  ผลงานจะถูกส่งมาตรวจที่ส่วนกลาง ที่ กคศ.  การตรวจผลงานจึงมีคุณภาพ งานที่ทำจะส่งผลต่อผู้เรียนจริง  แต่ปัจจุบันบางเขตพื้นที่ ผลงานผ่านมากกว่าร้อยละ 90  แต่ก็มีบางจังหวัดที่ผ่านน้อย เช่น ภาคกลาง  ภาคใต้  ภาคที่ผลงานทางวิชาการผ่านมากๆ  คือ ภาคอีสาน (ลองหาข้อมูลตรงนี้ดูอีกที) ผมเสนอว่า  การขอเลื่อนวิทยฐานะ ควรใช้กระบวนการตาม ว17  แค่ผลงานต้องส่งมาตรวจที่ส่วนกลาง  และอาจจะปรับเพิ่มกระบวนการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” (ศึกษานิเทศก์ ฐ.)

ลองย้อนกลับไปดูการประเมินผลงานทางวิชาการแบบเดิมตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา มีเพียงแบบเดียวเท่านั้นประเมินทุกตำแหน่งประกอบด้วยผลงานทางวิชาการ และเอกสารประกอบ ตัวเอกสารประกอบนี่แหละที่บอกได้ว่าทำอะไรบ้าง หลักฐานอยู่หน้าไหน ถึงแม้เล่มจะหน้ามากก็ทำให้เห็นว่าทำงานมากน้อยเพียงใด ตรงกับหน้าที่ตำแหน่งหรือไม่ ดีกว่าจะต้องตามไปประเมินเชิงประจักษ์ เสียเวลาคนเดินทางไปประเมิน และงบประมาณ จะเอาผลสัมฤทธิ์ระดับชาติก็เปลี่ยนแปลงบ่อยไม่คงที่ ไม่ทุกชั้น เลิกคิดวิธีการเอากรรมการออกไปหาคนประเมินเถอะคนไทยยังยากด้วยปัจจัยหลายอย่าง” (ศึกษานิเทศก์ ณ.)

ถ้าใช้หลักเกณฑ์ตาม /ว17(เดิม) ...ผู้ขอต้องเดินทางไป นำเสนอ และปกป้อง(defend)ผลงานทางวิชาการที่นำเสนอ(เพื่อตอบข้อซักถามของกรรมการ ที่จะยืนยันว่า ผู้ขอได้ปฏิบัติจริง สามารถตอบข้อซักถามได้อย่างละเอียด และทำให้มั่นใจแก่ทางราชการว่า ผู้ขอได้ปฏิบัติ พัฒนางานในหน้าที่จริง)” (ศึกษานิเทศก์ ก.)

2.2.12 พิจารณาผลการปฏิบัติแบบยกทีม
“การยื่นวิทยฐานะ แบบ PA ก็น่าสนใจ แต่ควร ปรับรูปแบบ ให้มีการขอผลงาน เป็นทีม (ไปออกแบบอีกที)  น่าจะส่งผลดีกว่า การทำงาน คนเดียวไหมคะ เช่น ทีมหนึ่ง ควรประกอบด้วย ผอ.ร.ร. ครู และ ศึกษานิเทศก์ ที่มี เป้าหมายในการพัฒนา เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เน้นการทำงานเป็นทีม ที่อยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม และ อาศัย กระบวนการ KM , หรือ PLC มีการสะท้อน ผลการทำงาน ทำบ่อย ๆ ดูว่า เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ ในสถานศึกษา น่าเกิดพลังในการขับเคลื่อน ผลที่เกิดขึ้น ดูเนื้องาน ผลงาน ของทีม จากพัฒนาการ (ของตัวแปร) มากกว่า ที่จะอิง ผลสอบ O-NET ตามความเห็นของพี่ ก็มองว่า ควรมีทั้งสองส่วน คือ การทำผลงานเชิงวิชาการ แต่ถ้าจะเป็นเชิงประจักษ์ ควรให้การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม การร่วมใจกัน พัฒนาวิชาชีพตนเอง (KM team PLC มีส่วนร่วม)  ดูผ่านพัฒนาการที่เขาต้องการพัฒนา โดย ผลสอบ O-NET เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งที่ใช้เทียบเคียงหรือชำเลืองดู ไม่ควรเอามาเป็นแก่น ทำให้เกิดการหลงประเด็นไป คนเดียวหัวหาย ค่ะ แต่ถ้าเป็นทีม อาจทำให้เกิดการกระเพื่อม ค่ะ” (ศึกษานิเทศก์ ข.)

2.2.13 ควรพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของครูที่จะประเมินวิทยฐานะ
คุณสมบัติของผู้ขอคือ สอนในช่วงชั้นนั้นๆอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง ในสถานศึกษาเดิม (ปฐมวัย/ประถม) ถ้าเป็นมัธยม เพิ่มเงื่อนไขกลุ่มสาระเดิม” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ค.)

ควร ดูว่า 1.จบครู หรือไม่ 2. มีระยะเวลาการสอนชั้น/วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นเวลานาน จนน่าเชื่อถือได้ว่า "ชำนาญการ"  "ชำนาญการพิเศษ"  "เชี่ยวชาญ" จริงๆ  ไม่ใช่ ใช้วิธีเทียบประสบการณ์เอาก็ได้ 3. ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณครูอย่างครบถ้วน 4. ข้าราชการครู ที่จะขอมีวิทยฐานะคนใดที่มีรายได้จากรับสอนพิเศษ/กวดวิชา  ไม่ควรได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินวิทยฐานะ  เพราะ ถือว่า ปฏิบัติตามจรรยาบรรณครูไม่สมบูรณ์” (ศึกษานิเทศก์ ค.)

“คุณสมบัติของผู้ขอ 1) ดำรงตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการไม่น้อยกว่า 1ปี 2)  ทำหน้าที่สอนไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ 3)  จัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอ ตามหลักสูตรฯ โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม วัดและประเมินผลการเรียนรู้หลากหลายวิธี และเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้และระดับชั้นที่สอน อย่างน้อย 1 ปี (ผอ.โรงเรียนรับรอง และ ส่งเอกสารแผนการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างสื่อการสอน และเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่ใช้ให้เขตพื้นที่ตรวจสอบ และพิจารณาตัดสินให้ผู้ขอ ขอเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นได้) 4)  ปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนติดต่อกันย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี” (ศึกษานิเทศก์ ก.)

2.2.14 ประเมินครูดูที่ O-NET เป็นใหญ่...ได้น้อยกว่าเสีย
คุณภาพ O-NET ไม่สะท้อนภาพการเรียนรู้ที่แท้จริงของนักเรียน การเรียนรู้ที่แท้จริงของนักเรียนดูได้จากสิ่งอื่นๆ ซึ่งการยึดผล O-NET ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมทั้งต่อครูและนักเรียนที่มีความแตกต่างกัน...หากใช้ผล O-NET ถือว่าไม่สอดคล้องกับบรรยากาศการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551...หากประเมินครูแล้วดูผล O-NET ทำให้ตอกย้ำ teach to the test และนับเป็นการสร้างบาปการจัดการศึกษาไทยและสร้างบาปให้กับนักเรียนมาก(ผู้ทรงคุณวุฒิ ช.)

เราติดหล่ม O-Net. กันทั้งประเทศ โรงเรียนจะเลิกสอนตามหลักสูตรแล้ว แต่มาสอน O-NET แทน การติวไม่ใช่การพัฒนาที่ยั่งยืน ครูคนหนึ่งสอนจน O-NET เพิ่มก็บอกอะไรไม่ได้ เพราะเป็นเด็กคนละกลุ่มกัน เราต้องการเด็กที่เป็นคนดี คิดเป็น มีความฉลาดในการใช้ชีวิต ไม่ใช่เด็กที่ O-NET สูง” (ศึกษานิเทศก์ ช.)

     “คงเกิด washback มากขึ้นถ้าใช้ O-NET” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ง.)

washback จะมากขึ้นแน่นอน และน่าจะเป็น negative มากกว่า positive เพราะมาตรการของรัฐเป็นการเอาผลสอบมาบังคับควบคุมมากกว่าวินิจฉัยหาทางแก้ไขครูที่สอนไม่ดี และส่งเสริมสนับสนุนครูที่สอนดีให้ดียิ่งขึ้น สมัยที่อเมริกาเริ่มใช้ No Child Left Behind Act มีปัญหามากเพราะเน้นไปที่การเอาการสอบ หรือผลการสอบมาตรฐานของนักเรียนมาเป็นตัวนำทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องประเมินครู ครูส่วนใหญ่ไปเน้นการสอนเพื่อสอบอย่างเดียว แต่ผลการสอบนานาชาติทุกโครงการทุกรอบสะท้อนให้เห็นว่าคะแนนของเด็กอเมริกาไม่ได้อยู่ในกลุ่มท้อป และบ่อยครั้งอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ  หลายรัฐจึงปรับการใช้ผลสอบของเด็ก จากเดิมที่เอามาใช้ประเมินครูอย่างเดียว เป็นการเอาผลสอบมาใช้วางแผนพัฒนาครูและโรงเรียน ไม่เน้นการลงโทษหรือให้รางวัลแบบสูญเปล่า เช่น แคลิฟอร์เนีย ทุกโรงเรียนต้องทำ Single Plan http://goo.gl/sQfo2W เพื่อเอาผลการสอบมาวางแผนพัฒนานักเรียนและครู โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม  แบบนี้ถึงจะลดโอกาสในการเกิด negative washback (ผู้ทรงคุณวุฒิ จ.)

“ไม่เห็นด้วยครับ กับการที่จะนำผล O-NET มาเป็นตัวตั้ง ในการมีหรือเลื่อนวิทยฐานะครับ (แม้แต่ในการประเมินภายนอก ของ สมศ.) เหตุผลคือ 1) ผล O-NET ไม่ใช่เครื่องยืนยันคุณภาพผู้เรียน เพราะ O-NET วัดได้เพียง ความรู้ ความจำ ความคิด บางส่วน ซึ่งไม่ครอบคลุม KAP นั่นคือ ไม่ครอบคลุม ด้านทักษะ และเจตคติ (เจตคติ วัดได้ คือ เด็ก อาจตอบแบบโกหกได้ แต่การกระทำจริง ๆ ไม่ใช่) 2) ผล O-NET ไม่ใช่เครื่องยืนยันคุณภาพครูทุกคน ในโรงเรียน หรือ แม้แต่ ผอ.รร.นั้น ๆ เนื่องจาก ครูทุกคน ไม่ได้สอน ป.6 หรือ ม.3 และ ม.6 3) ผล O-NET อาจไม่ได้มาจากความรู้ที่บริสุทธิ์ยุติธรรม (อาจก่อให้เกิด กลยุทธ์ทุจริต หาวิธีทำเพื่อจะให้ได้มาซึ่งคะแนนสูง ๆ)” (ศึกษานิเทศก์ ซ.)

O-NET เป็นการสอบเฉพาะชั้น ป.3 ป.ม.3 และ ม.6 เท่านั้น ข้อสอบ O-NET ไม่ได้สอบทุกเรื่อง ทุกมาตรฐานตัวชี้วัดแต่ละวิชา และไม่ได้สะท้อนผลงานของครูคนใดคนหนึ่ง จนนำไปอ้างอิงได้ว่าเป็นผลงานที่เกิดจากครูคนนั้นจริง...ขณะนี้เกิดวัฒนธรรม การติวสอบ O-NET จนทำให้ แทบไม่มีกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนกันแล้ว ทั้งในโรงเรียนยอดนิยม และในโรงเรียนชนบาห่างไกล ที่เป็นขนาดเล็ก  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายคุณภาพที่แท้จริงที่ครูต้องพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองที่เป็นคนโดยสมบูรณ์ไปแล้ว  (ผู้บริหารทั้งในระดับโรงเรียน  และระดับเขตพื้นที่ ให้ความสำคัญของคะแนน O-NET แล้วใช้ประโยชน์ในแง่ของให้คุณให้โทษ ด้านบริหารงานบุคคลมากกว่าที่จะใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยตรงวัตถุประสงค์หลักของการสอบ O-NET ไม่ใช้เอาผลไปพัฒนาความก้าวหน้าครู  แต่ มีไว้เพื่อให้นักเรียนนำไปใช้เป็นรายบุคคล  ครู นำไปใช้พัฒนานักเรียน  ผู้บริหาร นำไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพนักเรียน” (ศึกษานิเทศก์ ค.)

“ตอนนี้ O-NET ยังไม่เหมาะจะเป็นตัวหลักในการประเมินครู เนื่องจากคะแนนที่ได้จากการสอบแต่ละปีเอามาเทียบกันไม่ได้ ไม่มีการทำ common item ไม่มีการ equate ความยากง่ายแต่ละปีคนละเรื่องกันเลย ตัว O-NET เองยังไม่มี standard scale ของมันเอง จะเอาไปเป็นไม้บรรทัดวัดใครได้ ต้องทำให้ O-NET เป็นข้อสอบอิงเกณฑ์ที่มี common scale ระหว่างปีก่อน ถึงจะเอาคะแนน O-NET ไปใช้ประเมินครูได้” (ผู้ทรงคุณวุฒิ จ.)

“ตราบใดที่ระบบการสอบ O-NET ยังมีความคลาดเคลื่อนและไม่ครอบคลุมเด็กทุกชั้น ก็ยังไม่ควรนำมาใช้ การนำผลการทดสอบเด็กมาใช้ ในการประเมินวิทยฐานะครูมีส่วนดีที่ทำให้ครูทุ่มเทดูแลเด็ก แต่ถ้าครูไม่ขอเลื่อนวิทยฐานะก็จะทิ้งเด็ก” (ศึกษานิเทศก์ ฌ.)

“1) O-NET เป็นการสอบเฉพาะชั้น ป.3 ป.6  ม.3 และ ม.6   เท่านั้น 2)  ข้อสอบ O-NET ไม่ได้สอบทุกเรื่อง ทุกมาตรฐานตัวชี้วัดแต่ละวิชา และไม่ได้สะท้อนผลงานของครูคนใดคนหนึ่ง จนนำไปอ้างอิงได้ว่าเป็นผลงานที่เกิดจากครูคนนั้นจริง 3) ขณะนี้เกิดวัฒนธรรม การติวสอบ O-NET จนทำให้ แทบไม่มีกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนกันแล้ว ทั้งในโรงเรียนยอดนิยม และในโรงเรียนชนบาห่างไกล ที่เป็นขนาดเล็ก  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายคุณภาพที่แท้จริงที่ครูต้องพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองที่เป็นคนโดยสมบูรณ์ไปแล้ว (ผู้บริหารทั้งในระดับโรงเรียน  และระดับเขตพื้นที่ ให้ความสำคัญของคะแนน O-NET แล้วใช้ประโยชน์ในแง่ของให้คุณให้โทษ ด้านบริหารงานบุคคลมากกว่าที่จะใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยตรง  4) วัตถุประสงค์หลักของการสอบ O-NET ไม่ใช้เอาผลไปพัฒนาความก้าวหน้าครู  แต่ มีไว้เพื่อให้นักเรียนนำไปใช้เป็นรายบุคคล  ครู นำไปใช้พัฒนานักเรียน  ผู้บริหาร นำไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพนักเรียน(ศึกษานิเทศก์ ค.)

ไม่ควรใช้ผล O-NET เพราะไม่ยุติธรรมกับครูที่ไม่ได้สอนชั้นที่สอบ เครื่องมือและกระบวนการสอบยังมีปัญหา นร.ที่เข้าสอบมีความต่างเนื่องจากบริบทของ นร. ต่างกัน มิเช่นนั้น จะเกิดการขอย้ายเข้า ร.ร.ที่มี นร.เก่งๆ วุ่นวายแน่ๆ” (ศึกษานิเทศก์ ฑ.)

“การใช้คะแนน O-NET  ผมไม่เห็นด้วย  1000 % เพราะคะแนน O-NET แต่ละปี นำมาเปรียบเทียบกับไม่ได้ ท่านเชื่อไหม ผมลองให้เด็กสอบข้อสอบ O-NET ย้อนหลัง 3 ปี พบว่า คะแนนของเด็กสูงต่ำตามปีที่การศึกษาไทย คะแนน O-NET สูง ต่ำ โดยสมมติฐาน คะแนนเด็กน่าจะไม่แตกต่างกัน  นั้นก็แสดงว่า ข้อสอบ O-NET แต่ละปีมีความยากง่ายต่างกันมาก การเอาผลสอบชั้น ป.6 มาใช้กับเรื่องเหล่านี้จึงไม่เหมาะสม และยิ่งเอาค่าเฉลี่ย หรือ ขีดจำกัดล่างตามสูตร ยิ่งไม่เหมาะสม เพราะหลักสูตรเราอิงเกณฑ์ อิงมาตรฐาน แต่สูตรที่ใช้มาจาก ทฤษฎีของอิงกลุ่ม ซึ่งแม้ว่าโรงเรียนจัดการศึกษาได้คะแนน 80-100 % ขีดจำกัดล่างก็จะประมาณ 90 ก็ยังมีโรงเรียนต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ดี ทั้งที่ทำคะแนนได้ถึง  80% ยิ่งไม่ได้ประเมินทุกชั้น ยิ่งไปกันใหญ่” (ศึกษานิเทศก์ ต.)

ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการประเมินวิทยฐานะครู

          1. ควรเชิญครู ผู้บริหารโรงเรียนที่ผลปฏิบัติงานดีเด่นมาหารือร่วมกับผู้บริหารเอกชนด้านการบริหารงานบุคคลและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพิจารณาแนวทางที่ควรจะเป็นในการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา
“น่าจะจัดการประชุมปรึกษาหารือ เชิญครูดีเด่น 5 คน   ผู้บริหาร รร. ดีเด่น 5 คน  ผู้บริหารเอกชนด้าน HR 5 คน    ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน   มาหารือ” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.)
“หวังว่าจะปรึกษาหารือกันอย่างจริงจัง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จะเป็นกุศลต่อครูและเด็กนักเรียนอย่างยิ่ง” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ฉ.)

          2. ควรให้มีองค์กรภายนอกของไทยทำงานร่วมกับองค์กรด้านการบริหารงานบุคคลของต่างประเทศ ในการจัดทำโครงการเสนอรูปแบบแนวทางการจัดระบบการบริหารงานบุคคลและครู
“น่าจะเชิญ TDRI และ สสค. มาหารือ หาทางให้เสนอโครงการ (ร่วมกับทีม HR เอกชน  และต่างประเทศ เช่น UNESCO / OECD / WB / EU) ที่ปรึกษาจัดระบบ HR ครู ผมเห็นด้วยกับความคิดว่า ต้องมองเป็นระบบ HR ครูทั้งระบบ  ไม่ใช่แค่การเลื่อนวิทยฐานะ และเห็นด้วยกับแนวคิดว่า กศธ. ไม่ควรทำเอง” (ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.)
          3. ควรให้บริษัทระดับโลกด้านการบริหารงานบุคคล หรือ HR มาวิเคราะห์และช่วยวางระบบการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา ประมาณ 400,000 คน เพราะมีการดำเนินการเรื่องนี้สำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ มีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบ รูปแบบการประเมินครู และผลงานหน่วยงาน International ด้าน HR ดังนี้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ ฌ.)
1.   Growing Our Potential: Hay Group’s view on implementing an effective performance improvement and development framework for teachers https://goo.gl/iji33X
2.   Delivering Real Change in the Approach to Performance and Development in School (by BCG) https://goo.gl/15K6YD
3.   Teacher Evaluation and Compensation in the Singapore Education System https://goo.gl/peVHi6
4.   Development of Teacher Quality: Rising above Structures, Standards and Stereotyping https://goo.gl/LFOu6l
5.   Performance Management System: Teacher Evaluation in Singapore https://goo.gl/sUZnSR
6.   Great Teachers: How to Raise Student Learning in Latin America and the Caribbean https://goo.gl/FV9pwm
7.   How do other countries evaluate teachers? https://goo.gl/kQcvs8
8.   Teachers for the 21st Century: Using Evaluation to Improve Teaching https://goo.gl/eNeSMZ
9.   Teacher Evaluation in Singapore https://goo.gl/j7P8LL
10. Designing and Implementing Teacher Performance Management Systems: Pitfalls and Possibilities https://goo.gl/8fYjby
11. Growing Our Teachers, Building Our Nation https://goo.gl/Ixy8hu
12. Sustaining a High Performance Education System https://goo.gl/cRrqYR
13. Empowered to GROW: Fulfilling Teachers’ Aspirations https://goo.gl/trAuTl
14. Singapore Staff Appraisal https://goo.gl/CHYk1R
15. Developing and Sustaining a High-Quality Teacher Force https://goo.gl/75F1qB


รายการอ้างอิง

ผู้ทรงคุณวุฒิ กตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม3 ต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ ขตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม ต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ คตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม ต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ งตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคมต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ จตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคมต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ ฉ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  4 ต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ ชตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม ต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซตอบกลับ: ขอคำปรึกษา...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  7 ต.ค. 2558.
ผู้ทรงคุณวุฒิ ฌสัมภาษณ์,  5 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ก.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  5 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ขตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.  E-mail to พิทักษ์ โสตถยาคม .  3 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ค.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  3 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ งตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  3 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ จตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  3 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ฉ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  3 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ชตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  5 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ซ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  5 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ฌ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  6 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ญ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  6 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ฎ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  6 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ฏ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  6 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ฐ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  7 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ฑ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  7 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ฒ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  9 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ณ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  11 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ด.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  12 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ต.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  12 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ถ.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์ โสตถยาคม .  8 ต.ค. 2558.
ศึกษานิเทศก์ ท.  ตอบกลับ: ขอคำปรึกษา ศน...ว่าด้วยเรื่องวิทยฐานะครู.”  E-mail to พิทักษ์  โสตถยาคม .  6 ต.ค. 2558.