รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2558
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
q รอบ 6 เดือน
|
||||||||||||||||||
q รอบ 9 เดือน
|
|||||||||||||||||||
R รอบ 12 เดือน
|
|||||||||||||||||||
ตัวชี้วัดที่
1.4 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
|||||||||||||||||||
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด
:
นายพิธาน
พื้นทอง
|
ผู้จัดเก็บข้อมูล
: นางบรรเจอดพร สู่แสนสุข
ผู้จัดเก็บข้อมูล :
นางสาวดุจดาว
ทิพย์มาตย์
ผู้จัดเก็บข้อมูล :
นายพิทักษ์
โสตถยาคม
|
||||||||||||||||||
โทรศัพท์ : 0 2281 1958
|
โทรศัพท์ : 0 2288 5879
|
||||||||||||||||||
คำอธิบาย
:
การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่ตระหนักในปัญหาการศึกษา
ได้ขอความร่วมมือกับหลายภาคส่วนปรับปรุงพัฒนาการศึกษา
การจัดการเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง อาทิโครงการ Teacher Coaching ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของ สพฐ.และ สกว. (หรือเครือข่ายครูของ สสค.)
โครงการ Area-based Education (ABE) จำนวน 16 จังหวัด
ที่มีกลไกการพูดคุยเรื่องการศึกษาในระดับจังหวัด
และมีประธานสภาการศึกษาจังหวัดเป็นที่ยอมรับทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่อยู่แล้ว โครงการ
Constructionism ของ สกศ.
โครงการโรงเรียนพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
โครงการการพัฒนาครูแบบ Browser in Service ใน
โครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง (Teacher
Coaching) จำนวน 9 จังหวัด
เป็นต้น
การแก้ปัญหาที่ผ่านมาบางส่วนได้ผลดี
มีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง บางส่วนอาจยังไม่ตรงประเด็น
ปัญหาหลายอย่างยังคงวนเวียนอยู่ ซ้ำไปซ้ำมา คุณภาพนักเรียนไม่พัฒนาเท่าที่ควร
เมื่อมีการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ก็เป็นข้อมูลที่น่ากังวล ในขณะที่ครู ผู้บริหารโรงเรียนยังคงทำงานหนัก
รัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินไปกับการจัดการศึกษาจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในโลก
การแก้ปัญหาการศึกษาไทยจึงน่าจะต้องเปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนมุมมองในอีกหลายส่วน
เปิดพื้นที่การแก้ปัญหาในส่วนที่ยังดำเนินการไม่มาก ไม่จริงจังเข้มข้นเท่าที่ควร
การปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้
จึงต้องมีความแตกต่างจากการปฏิรูปครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา
ซึ่งไม่ได้เน้นการบรรลุผลการเรียนของผู้เรียนโดยตรง
แต่ครั้งนี้ได้วางจุดเน้นไว้ที่
"การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน"และ"ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21" ตลอดจนการเป็นพลเมืองไทยที่ดี" ของผู้เรียนเป็นหลัก
และผลพลอยได้คือเป็นจุดตั้งต้น (Entry Point) ของการหาร่องรอยหลักฐานเพื่อการปรับแก้
กลไก กฎ ระเบียบ ฯลฯ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาครู
ผู้บริหารสถานศึกษาตลอดจนกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งผลกระทบสูง ต่อคุณภาพผู้เรียน
นอกจากความแตกต่างเรื่องจุดเน้นดังกล่าวแล้ว
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จะอิงพื้นที่ (เช่น สถานศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษา ท้องถิ่น และพื้นที่จังหวัด)
ให้เป็นเป้าหมายสำคัญของปฏิบัติการนั้น เป็น"จุดคานงัด” ที่ท้าทาย" เหมาะสมและสอดคล้องกับเงื่อนไขของเวลาที่จำกัด
เพราะจะทำให้สามารถกำหนดขอบเขตทั้งโดยปริมาณและคุณภาพ
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้จริง โดยที่การกำหนด
หรือคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน เช่น โรงเรียนปฏิรูปการศึกษา
เขตพื้นที่ปฏิรูปการศึกษา จังหวัดปฏิรูปการศึกษาฯ ที่มีแนวโน้มแห่งความสำเร็จได้นั้น
จะช่วยให้สามารถ กำหนดปัจจัยเอื้อ(Inputs) และตัวแปร (Positive
& Negative Factors) ที่มีผลต่อการปฏิรูปฯ
ที่จำเป็นต้องจัดสรรและควบคุม ให้เป็นไปเพื่อผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสม เช่นกัน
ยังมีตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์การปฏิรูปการศึกษาอีก
2-3 ประเด็น กล่าวคือ กลไกและกระบวนการบริหารจัดการ ก็คือบุคลากร
ซึ่งในที่นี้หมายถึง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู
นั่นเอง ส่วนวิธีการบริหารจัดการใน 3 ตำแหน่งนี้
หากได้รับการออกแบบตรงจุดเชื่อมต่อทั้ง 3 ให้เป็นการร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำ
ตั้งแต่ ผอ.เขตพื้นที่กับผอ.โรงเรียน
หรือผอ.โรงเรียนกับครูร่วมกันวางแผนปฏิบัติการ
ที่ใช้โจทย์จริงในบริบทของโรงเรียนนั้นๆเป็นตัวตั้งเป้าหมาย
กำหนดกระบวนการเรียนรู้ และวิธีการวัดและ/หรือประเมินผล และจุดเชื่อมต่อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือครูกับผู้เรียน
ที่จะต้องรับประกันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการประเมินผล (Formative
Assessment) เพื่อสะท้อนผลการบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้ายอย่างต่อเนื่อง
สำหรับปัจจัยเสริมเพื่อช่วยเพิ่มเติมประสิทธิภาพการทำงานของกลไกและกระบวนการบริหารจัดการของครูและผู้บริหารสถานศึกษา
คือ การติดตั้งระบบติดตามการประเมินการทำงาน (Mentoring) และระบบนิเทศ(Coaching)
หรือระบบคู่นิเทศ (Peer Coaching)เพื่อเป็นกลไกการพัฒนา
และฝึกอบรมบนงาน (On-the-job Training) ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นวิธีทำงานร่วมกัน
และรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นที่ผู้เรียนร่วมกัน แตกต่างจากวิธีเดิมที่เคยปฏิบัติมา
นอกจากนี้ระบบนี้ต้องต่อเชื่อมกับผลการเรียนของผู้เรียนโดยการใช้กระบวนการบันทึกผลและสะท้อนผลของผู้เรียนและผู้สอนโดยตรง
(After Action Review AAR)ในระบบการประชุมทีมเป็นประจำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ประกอบด้วย Coach และครู (ทีมระดับชั้น หรือทีมสายวิชา
หรืออื่นๆ) โดยวิธีนี้
ครูและผู้อำนวยการโรงเรียนไม่ต้องออกไปอบรมนอกโรงเรียน แล้วทิ้งผู้เรียน
แต่ต้องเป็นการจัดตารางการทำงานในแต่ละสัปดาห์ให้มีเวลาประชุม AAR นี้ เหมือนเป็นงานประจำที่จำเป็น
และช่วยให้มีการเก็บหลักฐานการทำงานที่ผูกโยงกับผลที่เกิดกับผู้เรียน
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นผลงานเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะได้
เพราะเท่ากับเป็นการทำงานเชิงวิจัยปฏิบัติการ (Routine to Research
R-to-R ) ในชั้นเรียนไปในตัว เหมือนกับการปฏิบัติงานของแพทย์
โดยไม่ต้องไปจัดทำรายงานอื่นต่างหากและอาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรและทอดทิ้งนักเรียนเช่นกัน
นอกจากนั้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวที่ยังมีส่วนสำคัญให้ได้ปฏิรูประบบงาน/การจัดการแบบใหม่ด้วย
ซึ่งการจัดการแบบใหม่
จะปลดล็อคปัญหาอุปสรรคให้โรงเรียนได้หลายประการด้วยกัน พร้อมกันนี้จะมีการวิจัยระบบการจัดการใหม่คู่ขนานไปกับกระบวนการพัฒนา
เช่น การบริหารจัดการ การสร้างแรงจูงใจ การปรับตารางเวลางานและการสอน หลักสูตร
วิธีการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม บทบาทกรรมการสถานศึกษา การคิด Unit Cost ฯลฯ
|
|||||||||||||||||||
ข้อมูลผลการดำเนินงาน
:
|
|||||||||||||||||||
เกณฑ์การให้คะแนน
:
|
|||||||||||||||||||
การคำนวณคะแนนจากผลการดำเนินงาน
:
|
|||||||||||||||||||
คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/
มาตรการที่ได้ดำเนินการ :
โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม
2557
ด้วยการสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและแนวทางดำเนินการกับผู้บริหารโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา
มุ่งหวังให้เป็นการปฏิรูปการศึกษาในระดับปฏิบัติการ
เพื่อยกระดับคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองไทยที่ดี
และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เป็นการมุ่งเน้นที่การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ปรับการเรียน
เปลี่ยนวิธีพัฒนาครู
เป็นการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching
and Mentoring) มีมหาวิทยาลัยและมูลนิธิเข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยง
เน้นให้นำผลจากการปฏิบัติการสอนมาเรียนรู้ร่วมกัน หรือการติดตั้งระบบ AAR
(After Action Review) เป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ปรับปรุงจากฐานโรงเรียน
มีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้นำทางวิชาการ เอาใจใส่ดูแลการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างใกล้ชิด
และนำข้อสังเกตที่พบจากห้องเรียน
ไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
โดยมีผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนหลัก
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
มีโรงเรียนร่วมดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว จำนวน 300
โรงเรียน ในพื้นที่ 20 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เขตพื้นที่ละ 15 โรงเรียน
ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเจาะจงเลือกเพื่อนำร่องยกระดับคุณภาพการเรียนรู้
ซึ่งมีมาตรการและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการโดยสรุป ดังนี้
1. การประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานฝ่ายนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รศ.ประภาภัทร นิยม)
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ)
และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันที่ 24
ตุลาคม 2557 ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.กมล รอดคล้าย)
เห็นชอบให้ดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนและมอบสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นฝ่ายเลขานุการโครงการ
โดยใช้งบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการจากสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/a47QAm
2. สพฐ.อนุมัติโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
และจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต มีเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประกอบด้วย บันทึกเสนอขออนุมัติโครงการ http://goo.gl/Wr78mc สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการ
จำนวน 79,810,500 บาท http://goo.gl/QxJU5Y และแจ้ง สพท.เรื่องโครงการและจัดสรรงบประมาณ http://goo.gl/LYwcdF
3. จัดสัมมนา Reform Lab และ Coaching Lab กลุ่มผู้นำขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการโรงเรียน
เขตละ 20 คน (ผอ.โรงเรียน 15 คน และ ผอ.สพท.และคณะ 5 คน) จำนวน 6 จุดสัมมนา
ผลการดำเนินงานคือ
ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ระดมความคิดเพื่อทำความเข้าใจในจุดเน้นของการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน
อาทิ การส่งเสริมให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติการสอนของครู หรือ
การจัด AAR (After-action review) ทุกสัปดาห์ของโรงเรียน
การวางแผนงานร่วมกันระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน
การระดมความคิดเพื่อสะท้อนอุปสรรคปัญหาของการพัฒนาคุณภาพ
เพื่อส่งข้อมูลแนวทางปลดล็อกให้ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/SSKNLw
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามในคำสั่งแนวทางปฏิบัติตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษารองรับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2557 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/jlSwgM
5. การนำเสนอความก้าวหน้า
1 เดือน โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต ณ วันที่ 23 มกราคม
2558 http://goo.gl/nLk16p
6. โรงเรียนและเขตจัดทำแผนปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนแบบ
Bottom up เสนอมายังส่วนกลางเพื่อพิจารณาสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็น
ครั้งที่ 1 ณ วันที่ 11 ก.พ. 2558 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/Jy8xbr
โรงเรียนและเขตปรับแผนปรับปรุงคุณภาพส่งส่วนกลาง ครั้งที่ 2 ณ
วันที่ 19 ก.พ. 2558 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/Z4y6jk
7. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมประชุมกับคณะทำงานติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับแผนปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียน
ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/751B1i
8. โรงเรียนและเขตปรับแผนปรับปรุงคุณภาพส่งส่วนกลาง
ครั้งที่ 3 ณ วันที่ 23 มีนาคม 2558 ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/zQlZpd
9. สพฐ.สนับสนุนการพัฒนาระบบ
Coaching โดยจัดให้มีทีมโค้ชสนับสนุนการติดตั้ง Coaching
System และกระบวนการนิเทศในโรงเรียน ทั้ง 20 เขต ประกอบด้วย สพฐ.
เห็นชอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลือกทีมโค้ชด้วยตนเอง http://goo.gl/x9tZLw มีผลการเลือกทีมโค้ชของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดังนี้
http://goo.gl/VXMZya มีการประชุมทีมโค้ชเพื่อสร้างเครือข่ายองค์กรขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
โดยการสนับสนุนของ สสส. http://goo.gl/8LyAel สพฐ.สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของโรงเรียนโดยกระบวนการ
Coaching and Mentoring ดังนี้ http://goo.gl/NlqTDS นอกจากนั้น สพฐ. ได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต้นสังกัดทีมโค้ชสนับสนุนการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ดังนี้ http://goo.gl/4k6Y9o ทีมโค้ชและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมสร้างความเข้าใจบุคลากรกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการติดตั้ง
Coaching System และกระบวนการนิเทศในโรงเรียน
ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป อาทิ
การดำเนินงานของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ดูข้อมูลได้ที่ Facebook: http://goo.gl/K8UitW Website: http://goo.gl/dlSC8f
10. รมว.ศธ.แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
โดยที่ สพฐ.เสนอให้ รมว.ศธ. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ซึ่งมี รมว.ศธ.เป็นประธาน http://goo.gl/kOn0YI
11. คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนประชุมครั้งที่
1 วันที่ 16 เมษายน 2558ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/dFn1sb
และ http://goo.gl/EuUTdC
12. คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนประชุมครั้งที่
2 วันศุกร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุม MOC กระทรวงศึกษาธิการ
มีระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญ ๒ วาระคือ (๑)
รับทราบผลการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ระยะที่ ๑ และ(๒)
พิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ผลการประชุมดังนี้ http://goo.gl/dFn1sb
และ http://goo.gl/EuUTdC
13. สพฐ.ได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ปีงบประมาณ 2558 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ดังนี้ https://goo.gl/NLI0xz
14. สพฐ.อนุมัติการประชุมปฏิบัติการสร้างเครื่องมือและทดลองเก็บข้อมูลภาคสนามของคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ระหว่างวันที่ 2 - 4 กรกฎาคม 2558 ณ
สพป.ระยอง เขต 2 https://goo.gl/PQh1bd ส่งจดหมายแจ้ง สพป.ระยอง เขต 2
ในฐานะพื้นที่การเรียนรู้ของคณะทำงานในช่วงพัฒนาทีมงาน ดังนี้ https://goo.gl/FQ521k ซึ่งคณะทำงานติดตามผลฯ
ประกอบด้วย
นักวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจาก Dr.
Christopher Wheeler มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท
รวมทั้งนักวิชาการศึกษาที่มีศักยภาพสูงของ สพฐ.
และข้าราชการที่อยู่ในโครงการผู้นำ สพฐ. สายเลือดใหม่ (OBEC Young Blood
Leader) โดยการสนับสนุนของ สพฐ. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) นอกจากจะได้สารสนเทศของโครงการเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงแล้ว
ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าราชการพลเรือนรุ่นใหม่ของ สพฐ.
ในคราวเดียวกัน ซึ่ง สนก.ได้ส่งจดหมายเชิญคณะทำงานที่เป็นบุคลากรในสำนักส่วนกลาง
ดังนี้ https://goo.gl/R8EYkA
15. คณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ปีงบประมาณ 2558 ของ สพฐ.ออกติดตามผล ณ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในโครงการ จำนวน 2
ครั้ง ครั้งละ 1 - 2 วัน ครั้งที่ 1
ระหว่างวันที่ 6 - 18 กรกฎาคม 2558
และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24
สิงหาคม - 5 กันยายน 2558
ซึ่งได้ส่งจดหมายแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบแล้ว ดังนี้ https://goo.gl/0bW9QB
16. การประชุมติดตามผลและเสวนาแนวทางขับเคลื่อนโครงการปฏิรูปการเรียนรู้
ในวันศุกร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร
ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอผลการออกติดตาม และช่วงบ่ายเป็นการเสวนา
"จากข้อค้นพบและประสบการณ์เพื่อปรับปรุงงาน Reform Lab" โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อร่วมกันขบคิด-ไตร่ตรองการปฏิบัติที่ผ่านมา ให้ได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการขับเคลื่อนงานโครงการ
ระยะต่อไป ซึ่งข้อมูลผลการติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานติดตามผล ดังนี้ http://goo.gl/0qb4WD
17. สรุปผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในเชิงกระบวนการ
ได้แก่ การสร้างความเข้าใจในจุดเน้นการดำเนินงาน การวางแผนงาน ตั้งทีมงาน
การศึกษาดูงาน การร่วมประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ AAR การประสานร่วมมือกับทีมโค้ชภายนอกด้วยงบประมาณดำเนินการ จำนวน 220,000
– 300,000 บาท/ เขต
เพื่อให้ทีมโค้ชภายนอกช่วยสร้างทีมโค้ชภายในเขตและโรงเรียนของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
การนิเทศติดตามโดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและคณะทำงานของเขต
จากการรายงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ลดการสั่งการลง
มีการกลั่นกรองงานหรือหลอมรวมงานก่อนให้โรงเรียนปฏิบัติ มีการบูรณาการงบประมาณ
มีการปรับเปลี่ยนตารางสอนให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
มีการพัฒนาครูที่เน้นให้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการสอน
จัดครูเก่งสอนชั้นเรียนที่มีความสำคัญ เช่น ชั้น ป.1
ให้ครูเตรียมการก่อนสอน เช่น เขียนแผนการสอนหน้าเดียว
ผู้บริหารและครูตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปและทบทวนการทำงาน
มองเห็นจุดที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเอง
ทีมงานเข้มแข็งมากขึ้นจากการพูดคุยหารือร่วมกันแก้ปัญหา
มีกลไกการจัดการผลสัมฤทธิ์
บูรณาการลดชั่วโมงการสอน ติดตั้งระบบ coaching/ AAR และจากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีการวางระบบสะท้อนผลหลังการสอน หรือ AAR สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่วนใหญ่มีการสนับสนุนด้านวิชาการและการนิเทศ
ให้โรงเรียนสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น
เห็นถึงความพยายามและความก้าวหน้าที่จะปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียน
ข้อมูลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ
2558 สพฐ.ได้ชะลอการอนุมัติดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มใหม่
จำนวน 40 เขต และกลุ่มเดิม จำนวน 20
เขต จึงมีงบประมาณส่วนที่เหลือ จำนวน 57,034,966 (ห้าสิบเจ็ดล้านสามหมื่นสี่พันเก้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)
สรุปงบประมาณสุทธิที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ตลอดปีงบประมาณ 2558 จำนวน 22,775,534 บาท (ยี่สิบสองล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นห้าพันห้าร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน)
จำแนกเป็น งบประมาณที่โอนจัดสรรให้เขตพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 21,385,000 บาท (ยี่สิบเอ็ดล้านสามแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 93.89 และงบประมาณที่ส่วนกลางใช้ในการประชุมเตรียมการและสร้างความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 1,390,534 บาท
(หนึ่งล้านสามแสนเก้าหมื่นห้าร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 6.11
อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนมุ่งเน้น
ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ทักษะการใช้ชีวิต
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
มีการดำเนินการตามระบบการนิเทศภายใน หรือระบบ AAR เพื่อให้ได้สะท้อนผลการปฏิบัติงานของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ
ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะเป็นผู้นำขับเคลื่อนและปรับปรุงระบบดังกล่าว
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ลักษณะครูและผู้เรียน รวมทั้งจุดเน้นของนโยบายการศึกษา
โดยเฉพาะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ)
ที่ให้ไว้ครั้งมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558
ได้ความสำคัญกับเทคนิคการสอนและการสื่อความหมาย
การลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนของครู
เพื่อให้ครูมีเวลาทุ่มเทให้กับการสอนนักเรียนอย่างจริงจัง
การประเมินเพื่อความก้าวหน้าต้องสอดคล้องกับผลการพัฒนาผู้เรียน ทั้งความรู้
คุณลักษณะ และทักษะชีวิต นอกจากนั้น ในวันที่ 23 กันยายน 2558
รมว.ศธ.ยังได้ให้แนวนโยบายแก่ผู้บริหาร สพฐ.
หนึ่งในนโยบายนั้นได้เน้นการพิจารณา/
หากลไกช่วยให้ครูมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดีและน่าสนใจ รวมทั้งให้เน้น AAR
(After Action Review) ในการทบทวนการดำเนินงานหลังจากที่ได้ดำเนินการเรื่องต่างๆ
ไปแล้ว ดังนั้น จะเห็นว่า
แนวนโยบายเอื้อให้โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ในการปรับการบริหารจัดการ
และปรับการเรียนการสอน ในแบบแผนที่ได้ร่วมมือรวมพลัง ริเริ่ม
และพยายามพัฒนาต่อเนื่องตลอดมา จนเห็นถึงความก้าวหน้าและแนวโน้มของความสำเร็จ
นั่นคือ ความก้าวหน้าด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และความสุขของผู้เรียน
รวมทั้งผู้ร่วมอยู่ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูทุกคน
|
|||||||||||||||||||
ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน
:
1. นโยบายไฟเขียวและเกื้อหนุน โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) โดยตรง มีที่ปรึกษา รมว.ศธ. (รศ.ประภาภัทร นิยม) เข้ามาเป็นที่ปรึกษาหลักร่วมดำเนินการ
มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ)
เป็นผู้ให้การสนับสนุนและช่วยชี้แนะ
และได้รับความร่วมมือในการดำเนินการอย่างดีจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ
และ สพฐ.
2.
คิดใหญ่...ทำเล็ก โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนริเริมดำเนินการกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จำนวน 20
เขต ทำให้การพูดคุยสื่อสาร อภิปราย
เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันได้อย่างใกล้ชิด ระหว่างฝ่ายนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
และผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมีความคล่องตัวในการปฏิบัติ
ส่วนการดำเนินงานของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเริ่มต้นดำเนินงานและมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบเจาะลึก
และสามารถจัดกระทำได้อย่างทั่วถึง ด้วยการนำร่องในโรงเรียน จำนวน 15 โรงเรียนในแต่ละเขต
3.ภาคีเครือข่ายร่วมมือรวมพลังอย่างเข้มแข็ง
โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนได้ประสานภาคีเครือข่ายวิชาการจากภายนอกโรงเรียน
ให้เข้าร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งและหนุนเสริมการวางระบบการนิเทศภายใน
ให้กับโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาในระยะเริ่มต้น
โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้พิจารณาเลือกตามความต้องการ
ซึ่งมีมหาวิทยาลัย มูลนิธิ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา
ร่วมทำงานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนด้วยความเต็มใจ
และดำเนินการอย่างเต็มกำลังในทรัพยากรที่มี
ส่งผลให้เขตพื้นที่และโรงเรียนได้รับมุมมอง แนวคิด
และวิธีปฏิบัติที่ใช้ได้จริงในการปฏิบัติงาน
4.ระบบการพัฒนาบุคลากร ณ สถานศึกษา เรียนรู้จากหน้างานจากการปฏิบัติ
และรวมพลังเรียนรู้จากกันและกัน
โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเน้นย้ำให้มีการปรับเปลี่ยนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ชี้แนะให้มีการติดตั้งระบบ AAR (After Action Review) ให้นำผลจากการปฏิบัติการสอนมาสะท้อนผล
เพื่อปรับปรุงพัฒนางานในหน้าที่ครูให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางวิชาการ
ทำหน้าที่เป็นโค้ชตัวจริงในโรงเรียน
และมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
โดยให้ความสำคัญเรียนรู้จากการปฏิบัติของทั้งครูและผู้เรียน
|
|||||||||||||||||||
อุปสรรคต่อการดำเนินงาน :
1. เวลาเริ่มต้นโครงการปลายภาคเรียน
รมว.ศธ.กำหนดเวลาเริ่มต้นโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนในเดือนมกราคม 2558 ซึ่งเป็นช่วงปลายปีการศึกษา เหลือเวลาจัดการเรียนการสอนจริงประมาณ 2
เดือน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว โรงเรียนต่างๆ เตรียมตัวสอบระดับชาติ
หรือ O-NET กิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมระดับประเทศ
และการเตรียมการวัดประเมินผลการเรียนรวบยอดของการจัดการเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียน
จะเห็นว่ามีเรื่องสำคัญที่ดึงความสนใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนมาก
จึงทำให้โรงเรียนโฟกัสและมุ่งมั่นปรับเปลี่ยนตามโครงการฯ ไม่ได้ทั้ง 100%
และมีเวลาดำเนินการตามจุดเน้นโครงการเพียงระยะเวลาสั้นๆ
ก่อนปิดภาคเรียน นอกจากนั้น
การจัดหาและประสานความร่วมมือของทีมโค้ชภายนอกเพื่อร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่ทันที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง
เพื่อให้เกิดผลต่อการปฏิบัติของครู ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2557 ซึ่งสภาพการดำเนินงานของทีมโค้ชจึงดำเนินการได้ในช่วงใกล้ปิดภาคเรียน
2. การตั้งโจทย์ให้โรงเรียนทำแผนปรับปรุงคุณภาพอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและอาจพลาดจุดเน้นปรับเปลี่ยนเชิงกระบวนการบริหารและการเรียนการสอน
เมื่อผ่านจุดเริ่มต้นของโครงการเป็นเวลา ประมาณ 1 เดือน
ฝ่ายนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งโจทย์ให้โรงเรียนได้จัดทำแผนปรับปรุงคุณภาพและเสนอของบประมาณจากล่างขึ้นบนแบบไม่จำกัดเพดานงบประมาณ
โดยให้คำนึงถึงบริบท ปัญหา และสภาพความเป็นจริงที่จะต้องพัฒนาของนักเรียนและโรงเรียน
จัดส่งมายังส่วนกลาง กรณีนี้ทำให้โรงเรียนมุ่งจัดทำแผนให้ทันเวลา
และนำเสนอแผนงานโครงการที่เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม
มีงบประมาณที่เสนอขอสูงมาก
ฝ่ายนโยบายจึงให้โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษานำแผนไปปรับแก้ 2 ครั้ง ใช้เวลาดำเนินการกว่า 1 เดือน แต่ก็ยังไม่ได้แผนที่พึงประสงค์
สุดท้ายคณะกรรมการอำนวยการโครงการมีมติไม่ให้การสนับสนุนงบประมาณตามที่เสนอขอ
โดยให้เน้นการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการเท่านั้น จึงทำให้บุคลากรในโรงเรียนไม่ได้งบประมาณดังที่มุ่งหวังตั้งใจ
และอาจส่งผลต่อทัศนคติของครูและบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนต่อโครงการ
|
|||||||||||||||||||
ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงาน :
การดำเนินการโครงการควรเริ่มต้นในช่วงต้นปีการศึกษา
หรือต้นภาคเรียน เพราะจะทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เตรียมความพร้อม
เตรียมวางแผน และปรับเปลี่ยนแนวคิดมุมมองต่อการดำเนินการล่วงหน้า
อีกทั้งยังสามารถใช้ช่วงเวลาปิดภาคเรียนเป็นเวลาของการประชุมสัมมนาเตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
นอกจากนั้น
ในการดำเนินการควรกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของการดำเนินการที่จับต้องได้อย่างชัดเจน
เกิดความเข้าใจที่ตรงกันของทุกฝ่าย และเมื่อดำเนินการให้มุ่งเป้าไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น
โดยละเว้นโจทย์ใหม่ ที่นำเข้ามาเติมระหว่างทาง เพราะจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องอาจละเลยไม่ให้ความสนใจไปที่เป้าหมายเดิม
แต่กลับมาพะวงกับกิจกรรมที่เข้ามาใหม่ สุดท้าย
อาจเป็นการปั่นทอนความมุ่งมั่นตั้งใจ
และความฮึกเหิมที่จะบรรลุเป้าหมายเดิมนั้นไป
|
|||||||||||||||||||
หลักฐานอ้างอิง
:
1. แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. เหตุการณ์ประทับใจ
(lesson learn)ที่แสดงว่าครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้
โดยใช้กระบวนการชี้แนะ (Coaching ) การบันทึกผลและสะท้อนผลของผู้เรียน
และผู้สอนโดยตรง เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองแบบ Problem Based
learning/ Project Based Learning
|
|||||||||||||||||||