หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย: งานวิจัยที่เป็น Best Practices

วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย: Best Practices

พิทักษ์ โสตถยาคม

          จากการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ครั้งที่ ๑/ ๒๕๕๖ ในวันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทำให้ได้รับรู้หลักเกณฑ์การตัดสินรางวัลด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี ๒๕๕๖ ซึ่งถือเป็นรางวัลระดับชาติที่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่มีความเฉพาะเจาะจง และมุ่งเน้นวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นพิเศษ
          ในปีนี้ ฝ่ายบริหารทางวิชาการศูนย์วิจัยและพัฒนาพฤติกรรมไทย (ศวพท.) ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผลงานวิจัยให้ได้รับรางวัลด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยเรียบร้อยแล้ว และมีผลงานวิจัยผ่านเกณฑ์ให้ได้รับรางวัล จำนวน ๕ เรื่อง เพื่อเสนอให้คณะกรรมการแห่งชาติมีมติอนุมัติผลการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติอนุมัติรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยตามที่เสนอ ซึ่งถือเป็น Best Practices ของการวิจัยด้านจิตพฤติกรรมศาสตร์ในปีนี้ ดังนี้



อ้างอิง ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. (๒๕๕๖). การตัดสินรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี ๒๕๕๖. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.) วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖.

          ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับนักวิจัย ก็คือ เหตุผลของงานวิจัยที่ผ่าน และไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา ขั้นที่ ๑ เพื่อเข้ารับการประเมินรางวัลด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ซึ่งฝ่ายบริหารทางวิชาการ ศวพท. ได้เน้นว่า รางวัลด้านวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยนี้ เป็นเพียง ๑ ในกว่า ๑๐ รางวัลที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กำหนดขึ้นเพื่อพิจารณามอบให้กับนักวิจัยทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่จะเข้าเกณฑ์ได้รางวัลนี้ จะต้องเป็นงานวิจัยสหวิชาการทางจิตพฤติกรรมศาสตร์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีรูปแบบการวิจัยเหมาะสมที่เป็นงานวิจัยศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบหรืองานวิจัยเชิงทดลอง เป็นต้น ซึ่งเหตุผลเบื้องหลังของผลงานวิจัยที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ มีรายละเอียดดังนี้


 อ้างอิง ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. (๒๕๕๖). เกณฑ์การประเมินผลงาน ขั้นที่ ๑. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.) วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖.

         ส่วนเหตุผลของผลงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากขั้นที่ ๑ และผ่านเกณฑ์การพิจารณาในขั้นที่ ๒ ถือว่าเป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัล จะเป็นงานวิจัยที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นครบถ้วน เป็นแบบอย่างได้ และมีคุณสมบัติเด่นเป็นพิเศษ ดังนี้


 อ้างอิง ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. (๒๕๕๖). เหตุผลโดยรวมเกี่ยวกับงานวิจัยที่ได้รับรางวัล. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.) วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖.

          นอกจากนั้น คณะกรรมการพิจารณาผลการวิจัยยังได้สรุปเหตุผลโดยรวมของผลงานวิจัยที่ไม่ได้รับรางวัล แม้จะผ่านการพิจารณาในขั้นที่ ๑ มาแล้ว โดยจะขาดคุณสมบัติของการเป็นงานวิจัยที่เป็นแบบอย่างที่ดี จำนวน ๙ ด้าน ดังนี้



อ้างอิง ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. (๒๕๕๖). เหตุผลโดยรวมเกี่ยวกับงานวิจัยที่ไม่ได้รับรางวัล. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.) วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖.

          สะท้อนคิด:
          เมื่อได้เห็นหลักเกณฑ์และการพิจารณาตัดสินรางวัลด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยแล้ว ก็จะพบว่า จะมีงานวิจัยที่เข้ามาตรฐานตามแนวทางของศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (ศวพท.) ไม่มากนัก การเพิ่มจำนวนงานวิจัยที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องสร้างนักวิจัยที่มีความสามารถทำวิจัยศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ หรืองานวิจัยเชิงทดลองได้ และมุ่งเน้นงานวิจัยเชิงปริมาณ  
          แต่ก็มีข้อท้วงติงในกระบวนทัศน์การวิจัยจากกรรมการคนอื่นอยู่เสมอว่า ไม่อยากให้จำกัดอยู่เพียงงานวิจัยเชิงปริมาณ ควรเปิดรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ หรืองานวิจัยแบบผสมผสานด้วย ซึ่งก็จะทำให้มีผลงานวิจัยสามารถเข้าสู่ลู่การพิจารณารางวัลด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จุดยืนของ ศวพท. ได้ยึดกระบวนทัศน์การวิจัยเชิงปริมาณมาอย่างต่อเนื่อง เคร่งครัด และมีความเข้มแข็งทางวิชาการเทียบระดับมาตรฐานสากล ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะมีการปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
          ดังนั้น หนทางที่เป็นไปได้คือ ขยายองค์ความรู้ด้านระเบียบวิธีการวิจัยไปสู่นักวิชาการ นักวิจัยในองค์กร/ หน่วยงานต่างๆ ให้ได้มากขึ้น โดย ศวพท. เป็นโค้ชและเพื่อนร่วมทางพัฒนาข้อเสนอการวิจัย ดำเนินการวิจัย และสะท้อนผลเติมเต็มให้นักวิจัยอย่างต่อเนื่อง

-------------------------------------