เมืองหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา: เตรียมประเมินการจัดงาน
พิทักษ์
โสตถยาคม
วันที่ 2
กันยายน 2556 ผมร่วมประชุมคณะทำงานจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนงานอาชีพในโรงเรียนโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
“เมืองหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา ครั้งที่ 2 ปี 2556” ณ ห้องประชุม สพฐ. อาคาร สพฐ.5 ชั้น
9 มี ผอ.วันเพ็ญ สุจิปุตโต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
เป็นประธาน การประชุมครั้งนี้เป็นการซักซ้อมความเข้าใจของคณะทำงานแต่ละฝ่าย และเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานจริง
ในวันที่ 4-6 กันยายน 2556 ผมเป็นกรรมการอยู่ในคณะทำงานฝ่ายประเมินผลและจัดทำสรุปรายงาน
ได้นำเสนอสิ่งที่ได้วางแผนการประเมินต่อที่ประชุม และได้ทราบว่าประธานคณะทำงานฝ่ายประเมินผลและจัดทำสรุปรายงาน
(นายบุญพร้อม แสนบุญ รอง ผอ.สพป.ตาก เขต 1)
ได้จัดทำเครื่องมือประเมินและมอบให้คณะทำงานอำนวยการเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น
ผมจึงได้หารือกับประธานคณะทำงานฝ่ายประเมินผลฯ และสรุปว่าจะใช้เครื่องมือที่ประธานคณะทำงานฯ
จัดทำมา
อย่างไรก็ตาม (ร่าง)
ข้อเสนอการประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียน ที่ผมได้ยกร่างไว้
ก็ขอนำมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
ชื่อโครงการ: การประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียน
ผู้รับผิดชอบ: คณะทำงานประเมินผลและจัดทำสรุปรายงาน
ประกอบด้วย
บุญพร้อม แสนบุญ
|
ประธานกรรมการ
|
พิทักษ์ โสตถยาคม
|
กรรมการ
|
ผกาภรณ์ พลายสังข์
|
รองประธานกรรมการ
|
อรพิณ ไกรดิษฐ์
|
กรรมการ
|
วราภรณ์ เฉิดดิลก
|
กรรมการ
|
วัชรินทร์ ทองวิลัย
|
กรรมการ
|
ไพฑูรย์
เจริญประโยชน์
|
กรรมการ
|
วาสนา กรเกตุ
|
กรรมการ
|
นงนุช อุทั้ยศรี
|
กรรมการ
|
รุ่งอรุณ หัสชู
|
กรรมการและเลขานุการ
|
สุวรรณ
หลายกิจพานิช
|
กรรมการ
|
ไพรวรรณ
ตระกูลชัยชนะ
|
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ปรีชา ปัญญาดี
|
กรรมการ
|
วสันต์ สุทธาวาศ
|
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
สุดจิตร์
ไทรนิ่มนวล
|
กรรมการ
|
ศรัญญา โชติ
|
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียน
ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในปีนี้ใช้ชื่องาน “เมืองหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา
ครั้งที่ 2 ปี 2556” จัดขึ้นในวันที่ 4-6 กันยายน 2556 ณ บริเวณถนนลูกหลวง เลียบคลองผดุงกรุงเกษม
ตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์จนถึงเชิงสะพานวิศสุกรรมนฤมาณ
โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพ
โชว์ศักยภาพด้านการอาชีพของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการสอนอาชีพ
กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดรายได้ สร้างความตระหนักในคุณค่าการสอนอาชีพในโรงเรียนให้กับผู้เข้าชมงาน
รวมทั้งเป็นการติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม
นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง 1 ทศวรรษ สพฐ. ด้วย
คำถามการประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียน
มีดังนี้
1. การจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียนครั้งนี้มีประสิทธิผลระดับใด
2. การจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียนครั้งนี้มีความพึงพอใจของผู้ชมงานระดับใด
3. การจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียนครั้งนี้มีจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
การประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียนมีวัตถุประสงค์
3 ประการ ดังนี้
1. เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดงาน
2.
เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ชมงาน
3. เพื่อศึกษาจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาการจัดงาน
นิยามศัพท์
ประสิทธิผลของการจัดงาน หมายถึง
ทัศนะของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับผลงานการสอนอาชีพ ศักยภาพด้านการอาชีพของนักเรียน
แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการสอนอาชีพ การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ และความตระหนักในคุณค่าการสอนอาชีพในโรงเรียน
ว่าปรากฏผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด วัดจากมาตรประมาณค่า
5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ
ความพึงพอใจของผู้ชมงาน
หมายถึง ความรู้สึกของผู้ชมงานเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า/ผลิตภัณฑ์
คุณภาพของการให้บริการ กิจกรรมการสอนอาชีพระยะสั้น การสาธิตการทำงานของนักเรียน และความสามารถของนักเรียนในการจำหน่ายสินค้า
ว่ารู้สึกชอบมากน้อยเพียงใด วัดจากมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ
วิธีการประเมิน
คณะทำงานประเมินผลและจัดทำสรุปรายงานได้กำหนดกรอบแนวทางการประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียนไว้ดังนี้
วัตถุประสงค์
|
ตัวแปร
|
แหล่งข้อมูล
|
วิธีเก็บข้อมูล
|
การวิเคราะห์/ เกณฑ์ประเมิน
|
|||
ผู้จัดงาน
|
ผู้ชมงาน
|
||||||
นร.
|
ครู
|
กรรมการ
|
|||||
1. เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดงาน
|
-ผลงานการเรียนการสอนอาชีพ
-ศักยภาพด้านการอาชีพของนักเรียน
-แรงจูงใจพัฒนาคุณภาพการสอนอาชีพ
-การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างรายได้
-ความตระหนักในคุณค่าการสอนอาชีพในโรงเรียน
|
P
|
P
|
P
|
P
|
-สอบถามด้วยแบบสอบถาม
|
-ร้อยละ 80 ของผู้ตอบ ระบุแต่ละรายการ ไม่น้อยกว่าระดับมาก
|
2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ชมงาน
|
-คุณภาพของสินค้า/ผลิตภัณฑ์
-คุณภาพของการให้บริการ
-กิจกรรมการสอนอาชีพระยะสั้น
-การสาธิตการทำงานของนักเรียน
-ความสามารถของนักเรียนในการเรียนรู้งานอาชีพ
|
-
|
-
|
-
|
P
|
-สอบถามด้วยแบบสอบถาม
|
-หาความถี่และร้อยละ
-ร้อยละ 80 ของผู้ตอบ ระบุแต่ละรายการ ไม่น้อยกว่าระดับมาก
|
3. เพื่อศึกษาจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาของการจัดงาน
|
-จุดเด่นของการจัดงาน
-จุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาของการจัดงาน
|
-
|
P
|
P
|
P
|
-สอบถามด้วยแบบสอบถาม
-ประชุมกลุ่มผู้จัดงาน
|
-วิเคราะห์เนื้อหา
|
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
หาความถี่
ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (content
analysis) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์การประเมิน
-------------------------------