Thinking: ข้อคิดของผู้บริหาร สพฐ.
พิทักษ์ โสตถยาคม
วันที่ ๑๓-๑๔ ก.ย. ๒๕๕๖
ผมเข้าร่วมการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ ๔/ ๒๕๕๖ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จ.ชลบุรี ภารกิจสำคัญของผม
ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข และ ดร.วิภาพร นิธิปรีชานนท์ ก็คือ
การนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการคิดต่อที่ประชุม ผอ.เขต เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ วิพากษ์ และรับฟังข้อเสนอแนะ
เรื่องการพัฒนากระบวนการคิดเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
ดังนั้น สพฐ. โดยเลขาธิการ กพฐ. (ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน)
เน้นขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม โดยมุ่งพัฒนา ๓ ส่วน คือ (๑) Content
เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการคิดและให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีการคิด
ให้ความสำคัญของ Thinking Theory และ Thinking Tools (๒) Implement เป็นการส่งเสริมให้ครูนำทฤษฎีการคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งค้นหา Best Practices และ(๓) Evaluation & Assessment เป็นการวัดและประเมินผลการพัฒนากระบวนการคิด
ซึ่งประเด็นที่ ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข ดร.วิภาพร นิธิปรีชานนท์ และผมได้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้บริหารก็คือ การนำเสนอทางเลือก ๓ แนวทาง เพื่อเป็นโจทย์ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ร่วมพิจารณาให้ความคิดเห็น ดังนี้
ทั้งนี้ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อที่ประชุม ๒ ส่วนคือ (๑) การคิดที่ สพฐ.จะกำหนดเป็นกรอบและมุ่งเน้นคืออะไร และ (๒) ต้นทุนเดิมอะไรบ้างที่ สพฐ.มีอยู่ ดังนี้
หลังจากนำเสนอเสร็จก็เป็นช่วงรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งข้อสรุปต่อไปนี้ได้มาจากการประมวลความคิดเห็นของเลขาธิการ กพฐ. (ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน) รองเลขาธิการ กพฐ. (ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า) รองเลขาธิการ กพฐ. (ดร.พิษณุ ตุลสุข) และ ผอ.สพป.นนทบุรี เขต ๑ (ดร.สุวิทย์ มูลคำ) ต่อการพัฒนากระบวนการคิด ดังนี้
(๑) การพัฒนากระบวนการคิดขึ้นอยู่กับความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ อาทิ ครู ผู้บริหาร ดังนั้น จึงควรทบทวนความรู้ความเข้าใจให้ตรงกันว่าทักษะการคิดคืออะไร ลักษณะการคิดคืออะไร และกระบวนการคิดคืออะไร
(๒) ควรทดสอบกระบวนการคิดของนักเรียนเพื่อให้รู้ว่าต้นทุนเดิมมีอยู่เท่าไร
(๓) ควรสะสางที่รากเหง้า ก็คือ "ความรู้ความเข้าใจของครู" เพราะครูไม่ได้เรียนเรื่องการพัฒนาการคิดมาโดยตรง ที่ผ่านมาเรามักจะคิดว่าครูรู้แล้ว ดังนั้น ในการพัฒนาจะต้องปรับฐานให้ความรู้พื้นฐานของครูในเรื่องการคิดให้แน่นหนามั่นคงเสียก่อน สิ่งที่จำเป็นต้องรู้คือ baseline เรื่องการคิดของครู อาจใช้ระบบ e-training หรือ e-testing เช่นเดียวกับระบบการสอบใบขับขี่ของบางประเทศ
(๔) ทฤษฎีการพัฒนาการคิดต้องชัด เรามักถูกถามจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาการคิดของไทยว่า ไทยใช้ทฤษฎีอะไรในการพัฒนาการคิด ดังนั้น ปัญหาการพัฒนาการคิดที่ผ่านมาก็คือ เราไม่ชัดในนิยามทฤษฎี การพัฒนาครูไม่ทั่วถึง และปัญหาเรื่องเครื่องมือการวัดและประเมินผลการคิด
(๕) สถาบันผลิตครูควรออกแบบหลักสูตรเน้นการคิด โดยให้นิสิตนักศึกษาครูได้ฝึกการคิดและมีความเข้มแข็งในการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน
(๖) เครื่องมือวัดและประเมินการคิดต้องพร้อมใช้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดการคิดที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้รู้ต้นทุนของเด็ก และควรรู้มาตรฐานว่าเด็กระดับชั้นหรือวัยใด ควรจะต้องมีระดับการคิดอย่างไร ซึ่งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแ่ห่งชาติ (สทศ) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรร่วมกันกำหนดให้ชัดเจน
(๗) การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กคิด การคิดจะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อไม่ถูกครอบงำ ต้องอยู่ในบรรยากาศของการเปิดโอกาสให้คิด ซึ่งครูจะต้องออกนอกกรอบ เช่น ครูชาตรี สำราญ ครูต้นแบบปี ๒๕๔๑ "ครูนอกคอก" หรือคุณนิรมล เมธีสุวกุล แห่งบริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด
(๘) ยกย่องและเผยแพร่ผลงานครูดี ควรมีกระบวนการคัดเลือก รวบรวม แลกเปลี่ยนเทคนิคการสอนที่หลากหลายของครูดีที่มีอยู่เต็มแผ่นดิน
(๙) สื่อเน้นการคิด ควรมีการส่งเสริมให้มีการนำเกมในลักษณะหมากล้อม หรือหมากรุกไทย ให้นักเรียนได้เล่นและเรียนรู้ อาจบรรจุไว้ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนด้วย
(๑๒) การแสดงผลงานเด็กต้องให้เป็นฝีมือเด็ก มีข้อสังเกตว่าผลงานของนักเรียนที่นำเสนอในงานนิทรรศการต่างๆ จะเป็นฝีมือครูคือ ครูเป็นคนทำมากกว่าที่จะเป็นฝีมือของนักเรียน
(๑๓) การพัฒนากระบวนการคิดต้องเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตครู ซึ่งครูจะต้องปรับเปลี่ยน mindset ตั้งแต่การออกแบบการสอน การปรับการเรียนการสอนเปิดกว้างให้นักเรียนตอบแบบไม่มีผิดไม่มีถูก และปรับกิจกรรมเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน
สะท้อนคิด:
จะเห็นได้ว่า แนวโน้มของการพัฒนากระบวนการคิดข้างต้น จะมุ่งพัฒนาครูให้รู้ทฤษฎีการคิด สุดท้ายครูจะมีความเข้าใจที่ตรงกันทั้งประเทศ จะนำไปสู่การสอน และการประเมินผล ซึ่งผมคิดว่าหากดำเนินการจริงๆ คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับ "การอ่าน" เพราะคนพัฒนาเด็กก็คือ ครูเช่นกัน ...แล้วสาเหตุใดจึงเป็นปัญหาเด็กอ่่านไม่ออก จะระบุว่าสาเหตุหลักที่เป็นปัญหาเพราะครูไม่รู้เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการสอนอ่าน ก็ไม่น่าจะใช่... ความคิดของผมในเบื้องต้นนี้ ตั้งข้อสงสัยว่า อยู่ที่ความใส่ใจของผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู ชุมชน และสังคม ดังนั้น หากเจาะจงเฉพาะครูด้วยการปรับและเติมความเข้าใจทฤษฎีการคิดให้กับครูก็ทำได้ แต่ด้วยวิธีการสื่อสารให้ถึงครูหลายแบบ จุดสำคัญคือ จะมีระบบช่วยให้ครูใส่ใจ และ focus ที่การเรียนรู้ของนักเรียนจริงๆ ได้อย่างไร ซึ่งการส่งเสริมการเรียนรู้ของครูด้วยกระบวนการ Teacher Coaching & Mentoring ที่ใกล้ชิดครู น่าจะมีความสำคัีญยิ่งและเป็นความหวังของการพัฒนา
-----------------------------