หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบาย (ต.ค. 2557 - ก.พ. 2558)

ที่มาของภาพ: http://goo.gl/jBmt3b

โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เป็นโครงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนให้ดำเนินการ หากจะวิเคราะห์ว่าสอดคล้องกับนโยบายข้อใดก็สามารถระบุได้ ดังนี้

นโยบายทั่วไป ข้อที่ 1 การพัฒนาและปฏิรูปการศึกษา จะต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ และความต้องการของทุกภาคส่วนในสังคม มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นตามกระบวนการของสภาปฏิรูปแห่งชาติและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และแนวนโยบายของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การดำเนินงานเป็นที่ยอมรับและเกิดความมั่นคงยั่งยืนในระบบการศึกษาของไทย

นโยบายเฉพาะ ข้อ 4 มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ

1. ความเป็นมา

จุดเริ่มต้นของโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเกิดขึ้นในการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานฝ่ายนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รศ.ประภาภัทร นิยม) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ) และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันที่ 24 ตุลาคม 2557 ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.กมล รอดคล้าย) ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนและมอบสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นฝ่ายเลขานุการโครงการ โดยใช้งบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการจากสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/a47QAm)

โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเป็นโครงการที่มาจากนโยบายการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) ที่มุ่งวางยุทธศาสตร์ระยะยาวและระบบการพัฒนาต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นพลเมืองไทยที่ดี เริ่มต้นด้วยการนำร่องกระจายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างจริงจังไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน หนุนเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน พร้อมปลดล็อกอุปสรรคการบริหารจัดการศึกษาที่ขัดขวางการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยตนเองของโรงเรียน ด้วยการปฏิรูปการเรียนรู้เต็มรูปแบบ (Full Scheme Model) และดำเนินการวิจัยคู่ขนานให้ได้ข้อค้นพบเชิงประจักษ์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในวงจรการปฏิบัติระยะต่อไป ซึ่งกำหนดกรอบการดำเนินงานไว้ 3 ปีต่อเนื่อง ได้แก่ ปีงบประมาณ 2558 – 2560 (ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/2oWjZD)

2. ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ของโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนมี 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อนำร่องกระจายอำนาจลงสู่เขตพื้นที่การศึกษา โดยการแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการศึกษาระดับโรงเรียน ในด้านการบริหารบุคคล งบประมาณ และการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในสาระวิชาหลักให้สูงขึ้นกว่าเดิม และการพัฒนาผู้เรียนทันทีอย่างรอบด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะศตวรรษที่ 21 และความเป็นพลเมืองไทยที่ดี และ(3) เพื่อติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งโรงเรียน โดยใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารและครู จากวัตถุประสงค์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนมุ่งเน้น 3 ส่วน คือ (1) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในสาระวิชาหลักสูงขึ้นกว่าเดิม (2) ผู้เรียนมีทักษะศตวรรษที่ 21 และ(3) ผู้เรียนมีความเป็นพลเมืองไทยที่ดี

ข้อมูลพื้นฐานด้านการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 300 โรงเรียน ใน 20 เขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวมแล้วถือว่า มีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้อย่างมาก เพราะในการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ไม่ได้ให้ความสนใจโรงเรียนที่มีความพร้อมสูงหรือมีผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนดีอยู่แล้ว แต่มุ่งจะพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพการเรียนรู้ไม่ดีนัก โดยเลือกจากผล O-NET น้อยกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศและ/หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือพิจารณาจากตัวแปรอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจาก 20 เขตพื้นที่การศึกษา ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เน้นย้ำเกี่ยวกับโครงการ 4 ประการ ได้แก่ (1) โครงการนี้เป็นการนำร่องกระจายอำนาจให้เขตอย่างจริงจัง โดยจะออกเป็นคำสั่งให้อำนาจ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน นับจากเดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไป ถ้าได้ผลดีจะขยายไปสู่เขตพื้นที่อื่น (2) การเลือกโรงเรียนร่วมโครงการจะต้องเป็นโรงเรียนที่มีผลการเรียนรู้ต่ำ (3) จะมุ่งศึกษาการบริหารจัดการของ ผอ.สพป./ สพม. ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะวิจัยติดตามผลในระยะ 3 เดือน 6 เดือน และ (4) จะวัดผลการเปลี่ยนแปลงคุณภาพที่ตัวผู้เรียน

โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนมีผลการดำเนินงานในระยะเตรียมการและระยะดำเนินการ ดังนี้

2.1 ผลการดำเนินงานระยะเตรียมการ

  • สพฐ.อนุมัติโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน และจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต (ดูรายละเอียดได้ดังนี้ (1) บันทึกเสนอขออนุมัติ http://goo.gl/Wr78mc (2) สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการ จำนวน 79,810,500 บาท http://goo.gl/QxJU5Y (3) หนังสือราชการแจ้ง สพท.เรื่องโครงการและจัดสรรงบประมาณ http://goo.gl/LYwcdF
  • การสัมมนากลุ่มผู้นำขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการโรงเรียน เขตละ 20 คน (ผอ.ร.ร. 15 คน และ ผอ.สพท.และคณะ 5 คน) จำนวน 6 จุดสัมมนา ผลการดำเนินงานคือ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ระดมความคิดเพื่อทำความเข้าใจในจุดเน้นของการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน อาทิ การส่งเสริมให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติการสอนของครู หรือ การจัด AAR (After-action review) ทุกสัปดาห์ของโรงเรียน การวางแผนงานร่วมกันระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน การระดมความคิดเพื่อสะท้อนอุปสรรคปัญหาของการพัฒนาคุณภาพ เพื่อส่งข้อมูลแนวทางปลดล็อกให้ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/SSKNLw)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามในคำสั่งแนวทางปฏิบัติตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษารองรับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2557 (ดูรายละเอียดที่ http://goo.gl/jlSwgM)


2.2 ผลการดำเนินงานระยะดำเนินการ (มกราคม – กุมภาพันธ์ 2558)

  • โรงเรียนมีแผนปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนแบบ Bottom up เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และเสนอมายังคณะทำงานส่วนกลางเพื่อพิจารณาสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็น (ดูรายละเอียดที่ (1) แผนปรับปรุงคุณภาพ version I (11 ก.พ. 2558) http://goo.gl/Jy8xbr (2) แผนปรับปรุงคุณภาพ version II (19 ก.พ. 2558) http://goo.gl/Z4y6jk (3) การทบทวนและยืนยันแผนปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนของ สพท. (ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558) http://goo.gl/751B1i) และ (4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งแผนปรับปรุงคุณภาพโรงเรียน รอบสุดท้ายมายัง สพฐ. ภายในวันที่ 23 มีนาคม 2558 
  • ผลการนำเสนอความก้าวหน้า 1 เดือน (ณ วันที่ 23 มกราคม 2558) โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้ง 20 เขต http://goo.gl/nLk16p
  • จัดให้มีทีมโค้ชสนับสนุนการติดตั้ง Coaching System และกระบวนการนิเทศในโรงเรียน ทั้ง 20 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

                    o สพฐ. เห็นชอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลือกทีมโค้ชด้วยตนเอง http://goo.gl/x9tZLw

                    o ผลการเลือกทีมโค้ชของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา http://goo.gl/VXMZya

                    o การประชุมทีมโค้ชเพื่อสร้างเครือข่ายองค์กรขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน โดยการสนับสนุนของ สสส. http://goo.gl/8LyAel

                    o สพฐ.สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของโรงเรียน http://goo.gl/NlqTDS

                    o สพฐ. ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต้นสังกัดทีมโค้ชสนับสนุนการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน http://goo.gl/4k6Y9o

                    o ทีมโค้ชและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมสร้างความเข้าใจบุคลากรกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการติดตั้ง Coaching System และกระบวนการนิเทศในโรงเรียน ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป
-------------------------------