Reflective Monitoring Workshop
การประชุมปฏิบัติการสร้างเครื่องมือและทดลองเก็บข้อมูลภาคสนามของคณะทำงานติดตามผล โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สพฐ.) ได้อนุมัติหลักการโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
เพื่อนำร่องกระจายอำนาจลงสู่เขตพื้นที่ส่งเสริมให้โรงเรียนบริหารจัดการและปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูและผู้บริหารโรงเรียน
ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายการดำเนินการระยะแรก จำนวน 20 เขต แต่ละเขตมีโรงเรียนเข้าร่วม
จำนวน 15 โรงเรียน เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2558
ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งที่ 1516/ 2557 เรื่อง
แนวทางปฏิบัติตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษารองรับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
ให้ สพฐ.ดำเนินการรวบรวม สรุปและรายงานผลเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รวมทั้ง สพฐ.ได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ปีงบประมาณ 2558 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ดังนี้ https://goo.gl/NLI0xz
และอนุมัติการประชุมปฏิบัติการสร้างเครื่องมือและทดลองเก็บข้อมูลภาคสนามของคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ระหว่างวันที่ 2 - 4 กรกฎาคม 2558 ณ สพป.ระยอง เขต 2
https://goo.gl/PQh1bd
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
(สนก.) และ สพฐ. จึงเชิญประธานคณะทำงาน และคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
ปีงบประมาณ 2558 เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการสร้างเครื่องมือและทดลองเก็บข้อมูลภาคสนาม
ระหว่างวันที่ 2 - 4 กรกฎาคม 2558 ณ สพป.ระยอง เขต 2 และออกติดตามผล ณ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในโครงการ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 - 2 วัน
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 - 18 กรกฎาคม 2558 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24
สิงหาคม - 5 กันยายน 2558 ซึ่งได้ส่งจดหมายแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบแล้ว
ดังนี้ https://goo.gl/0bW9QB และส่งจดหมายแจ้ง สพป.ระยอง เขต 2
ในฐานะพื้นที่การเรียนรู้ของคณะทำงานในช่วงพัฒนาทีมงาน ดังนี้ https://goo.gl/FQ521k
สำหรับการทำงานร่วมกันของคณะทำงานติดตามผลฯ
ซึ่งประกอบด้วย
นักวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจาก Dr. Christopher Wheeler มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท
รวมทั้งนักวิชาการศึกษาที่มีศักยภาพสูงของ สพฐ. และข้าราชการที่อยู่ในโครงการผู้นำ
สพฐ. สายเลือดใหม่ (OBEC Young Blood Leader) โดยการสนับสนุนของ
สพฐ. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
นอกจากจะได้สารสนเทศของโครงการเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงแล้ว
ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าราชการพลเรือนรุ่นใหม่ของ สพฐ.
ในคราวเดียวกัน ซึ่ง สนก.ได้ส่งจดหมายเชิญคณะทำงานที่เป็นบุคลากรในสำนักส่วนกลางแล้ว
ดังนี้ https://goo.gl/R8EYkA
แนวคิดของการติดตามผลการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ครั้งนี้
ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ประธานคณะทำงานอำนวยการ ได้เน้นว่า จะมุ่งติดตามแบบ Reflective
Monitoring ซึ่งผมเข้าใจว่า จะเป็นการติดตามที่ให้คนที่อยู่ที่หน้างานได้ทบทวนไตร่ตรองกระบวนการและผลการปฏิบัติงานว่า
ตอบโจทย์ของโรงเรียนตนเอง และสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการหรือไม่ อย่างไร เป็นการติดตามเชิงบวก
ผลที่ได้จะเป็นความเข้าใจร่วมกันและการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในและคนนอกโรงเรียน
และจะทำให้เห็นแนวทางการก้าวต่อไปของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ
สำหรับกำหนดการการประชุมปฏิบัติการสร้างเครื่องมือและทดลองเก็บข้อมูลภาคสนาม
ของคณะทำงานติดตามผลโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
รายละเอียดดังนี้
แผนที่โรงเรียนวัดเกาะลอย
(สถานที่ประชุมวันแรก)
แผนที่ปั้มตายาย
(แวะรับประทานอาหารกลางวัน)
สวนละไม
(แวะก่อนกลับ)
http://www.suanlamai.com/