หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คณะปฏิรูป สพฐ.: กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากภายใน

คณะปฏิรูป สพฐ.: กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากภายใน
พิทักษ์ โสตถยาคม
17 พ.ย. 2557

ผมได้รับการประสานจากทีมของผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. ให้ช่วยนำ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผ่านการพิจารณาของ กพฐ. และเลขาธิการ กพฐ. ไปให้ประธาน กพฐ. (ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์) ลงนาม เมื่อวันที่ พ.ย. 2557 ซึ่งประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ อาจารย์สุรัฐ ศิลปอนันต์ และมี ผอ.สนผ.เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ 

สำหรับเรื่องการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้ ผมได้ฟังท่านเลขาธิการ กพฐ. (ดร.กมล รอดคล้าย) กล่าวในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ประมาณ เดือน (เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557) ว่า สพฐ.จะเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา ใช้โอกาสนี้ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน และจะเรียนเชิญ ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์ ประธาน กพฐ. มาเป็นประธานอำนวยการปฏิรูปของ สพฐ. ผมเข้าใจว่า จากจุดนี้เอง สพฐ.จึงได้เสนอ กพฐ.ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดนี้ขึ้นมีหน้าที่หลักคือ เสนอรูปแบบ กระบวนการ และแนวทางปฏิรูปการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหวังให้เป็นกลไกสำคัญของการปฏิรูปจากภายในของ สพฐ.และการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย บุคคลจาก กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. จำนวน13 คน ได้แก่ เลขาธิการ กพฐ. รองเลขาธิการ กพฐ.ทุกคน ที่ปรึกษา ผอ.สำนัก และผู้เชี่ยวชาญ สพฐ  กลุ่มที่สองเป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) จำนวน 10 คน อาทิ นายมีชัย วีระไวทยะ นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ กลุ่มที่สามเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาทิ รศ.ประภาภัทร นิยม นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ดร.พิษณุ ตุลสุข รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย นอกจากนั้นยังมีผู้ช่วยเลขานุการอีก คน ซึ่งผมเป็นหนึ่งในนั้นด้วยครับ

 ภาพในบรรทัด 1

ภาพในบรรทัด 2


ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ผมได้มีโอกาสคุยกับประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์) ช่วงที่ถือคำสั่งไปให้ท่านลงนาม ท่านได้เล่าให้ฟังถึงเป้าหมายเจตนา กระบวนการทำงานของคณะอนุกรรมการ และฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการ ดังนี้
1. ระดมความคิดระดับสำนักงาน โดยเชิญชวนผู้บริหารระดับสูง ที่ปรึกษา สพฐ. ผอ.สำนัก และผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. มาประชุมเพื่อร่วมกันระดมความคิดเพื่อตอบคำถาม ที่จะตั้งคำถามล่วงหน้าให้ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมได้เตรียมคิดมาก่อน อย่างน้อย 2 คำถาม คือ
1) หลักการปฏิรูปคืออะไร
2) ประสบการณ์หรือบทเรียนของการปฏิรูปที่แต่ละคนได้เรียนรู้มามีอะไรบ้าง ทั้งจากการปฏิบัติ การศึกษาดูงาน หรือการศึกษาค้นคว้า ใน 2 ประเด็นคือ
2.1.1) มีอะไรดีๆ ที่จะใช้ในการปฏิรูปให้สำเร็จ ทั้งที่ สพฐ.ทำเอง และที่ได้รับรู้จากที่คนอื่นทำ เพื่อเก็บเกี่ยวสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้พิจารณาในการปฏิรูปครั้งนี้ให้ได้มากที่สุด
2.1.2) มีอะไรที่เป็นอุปสรรคปัญหาและปั่นทอนการปฏิรูปที่ผ่านมาบ้าง
2. ประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งแรก โดยจะมี 2 วาระสำคัญ ได้แก่ (1) การพูดคุยเกี่ยวกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการชุดนี้ และ(2) การระดมความคิดในระดับกรรมการ ลักษณะการทำงานของคณะอนุกรรมการจะเป็นแบบร่วมคิดร่วมทำ แต่ผู้รับผิดชอบหลัก (เจ้าภาพหลัก) ต้องเป็นคนของ สพฐ.ที่จะจริงจังและผลักดันการดำเนินการต่างๆ  ผลผลิตสุดท้ายจะนำไปสู่ 2 ส่วน ประกอบด้วย
2.1 การยกร่างการปฏิรูปการศึกษาของ สพฐ. ซึ่งจะประกอบด้วย การออกแบบการดำเนินการ รูปแบบ วิธีการทำงาน กระบวนการ/ ขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ
2.2 การสร้างแผนยุทธศาสตร์ ที่เป็นเสมือนร่มขนาดใหญ่ที่คลุมการปฏิบัติของสำนักงานในส่วนกลาง สำนักงานเขต และโรงเรียน ซึ่งเป็นดั่งแผนปฏิรูปการศึกษาหลัก ที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันและยึดถือนำไปปฏิบัติว่า จะขับเคลื่อนการดำเนินงานอะไร อย่างไร หรืออาจออกมาเป็นโครงการใหญ่ เช่น โครงการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน    
3. ระดมความคิดบุคลากรจากสำนักงานเขตและโรงเรียน เป็นการนำร่างการปฏิรูปการศึกษาของ สพฐ.ไปให้คนของเขตและโรงเรียนได้เสริมเติมเต็ม เป็นการดึงการมีส่วนร่วม และให้ทุกส่วนของ สพฐ.ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เราจะคิดและจะทำการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกันนับต่อจากนี้ ซึ่งการจัดระดมความคิดนี้อาจจัดขึ้น 1 ครั้ง แต่ให้มีตัวแทนมาจากทุกกลุ่มของ สพฐ. เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็จะนำไปสู่การยกร่างกระบวนการและขั้นตอน เป็นแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ สพฐ.
4. สัมมนาใหญ่ระดับชาติ เพื่อนำเสนอแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ สพฐ. ซึ่งจะนำโดยเลขาธิการ กพฐ. เป็นการรับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้จากภายนอก และเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดการศึกษามาร่วมเสริมเติมเต็มแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ สพฐ. นับว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนในวงกว้างได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานของ สพฐ.ด้วย
5. ดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ อาจเรียกชื่อว่า โครงการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ โครงการโรงเรียนในอนาคต (School of Future) ที่จะเป็นโรงเรียนเพื่อเด็กในอนาคต อาจใช้กรอบ 21st Century Skills ที่มีความชัดเจนในด้านเนื้อหาสาระและระบบสนับสนุนที่ควรพิจารณาดำเนินการ 

ซึ่งการทำงานของคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเดินหน้าไป พร้อมๆ กับการปฏิรูปประเทศในด้านอื่นๆ สำหรับการปฏิรูปการศึกษาอยู่ในความสนใจและหลายหน่วยงานคิดและทำด้วยเจตนาดีอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายก็ต้องส่งข้อเสนอให้ผู้มีอำนาจมาช่วยเปลี่ยนแปลงกระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. แต่การที่ สพฐ.ตระหนักเห็นประโยชน์ของการปฏิรูป และเข้าร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายในด้วยตนเอง น่าจะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วกว่าเดิม
---------------------------------