Sustainable Teacher Development*
ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า**
พิทักษ์ โสตถยาคม***
ประเด็นที่จำเป็นต้องวิเคราะห์ก่อนเริ่มต้นพัฒนาครู ก็คือ ครูมีประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นครูและการสอนมาอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดจึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูได้ไม่ง่ายนัก จากแผนภาพ Teacher' s learning experience นี้ จะเห็นได้ว่าเมื่อครั้งที่ครูเป็นนักเรียนประถมศึกษาเป็นเวลา
12
ปี ได้เห็นการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง ได้เรียนรู้แบบ passive
learning ทุกๆ วัน วันละ 7 ชั่วโมง
ต่อมาเข้าเป็นนักศึกษาครูเป็นเวลา 4 ปี ฝึกสอนอีก 1 ปี รวมทั้งบรรจุในโรงเรียนและได้เห็น-ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบ passive
learning อยู่ตลอดเวลา ทั้งจากครูอาจารย์และเพื่อนครูที่อยู่ล้อมรอบตัว
ถือเป็นการถูกกระทำแบบทับถมฝังลึกของประสบการณ์ passive learning ที่ยากมากที่จะเปลี่ยนครูไปสู่การจัดการเรียนรู้แบบ active
learning ได้ในระยะเวลาอันจำกัด เพราะครูเรียนรู้การเป็นครูจากการสังเกตซึมซับ passive
learning ทั้งด้วย ความตั้งใจและไม่ตั้งใจตั้งแต่เริ่มเป็นนักเรียน
ผลการวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการพัฒนาครูอย่างยั่งยืน
(Sustainable
Teacher Development Program) ได้ข้อสรุปว่า มี 3 องค์ประกอบ ที่มีความสำคัญจำเป็น หากขาดองค์ประกอบหนึ่งองค์ประกอบใดไปก็จะมีผลต่อความยั่งยืนในการพัฒนาครู นั่นคือ
(1)
Teacher as a Learner Workshop เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ให้ครู ในลักษณะ active learning experience ซึ่งครูจำเป็นต้องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้แบบ active learning แบบประจักษ์ชัด
ได้สัมผัสกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง จึงจะช่วยให้สามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้แบบ
active learning ให้กับนักเรียนได้
ดังนั้น องค์ประกอบแรกนี้เป็นการเน้นย้ำว่า หากต้องการให้ครูจัดการเรียนรู้แบบใด
ก็ต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบนั้นในการอบรมพัฒนาครู (2) One on One Supervision/ Coaching & Mentoring เป็นการนิเทศ
ติดตาม ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดจากผู้ชี้แนะ และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบนี้ เน้นย้ำว่า การฝึกอบรมเพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ครูเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนได้
และ (3)
Teacher Collaboration เป็นการช่วยให้ครูได้พูดคุย
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน
เติมเต็มให้สังคมของครูที่ค่อนข้างโดดเดี่ยวให้เป็นชุมชน/
สังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
จะเห็นได้ว่า
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนจาก passive learning
สู่ active learning ได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาและความตั้งใจจริงในการนำหลักคิดของการพัฒนาครูอย่างยั่งยืนนี้ไปสู่การปฏิบัติ
อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาครูต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะ ต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
ต้องเปิดโอกาสให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และต้องมีข้อมูลที่เหมาะสมในการสนับสนุนและช่วยเหลือที่ถูกทาง
หากสถาบันผลิตและพัฒนาครู อาทิ มหาวิทยาลัยโดยคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จับมือกับโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกันพัฒนาวิชาชีพครู
โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อพัฒนานักเรียน ก็จะเป็นการช่วยเสริมสร้างให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายพัฒนาไปสู่การเป็น
Professional
Development School เป็นการสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้จากการปฏิบัติร่วมกันของคณาจารย์
ผู้บริหารโรงเรียน ครูแกนนำ/ master teacher นิสิตนักศึกษาครู
และนักเรียน นับว่าเป็น win-win situation ที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันจากการร่วมมือรวมพลังในลักษณะนี้
อย่างไรก็ตาม กระบวนทัศน์ของนักพัฒนาครูมีความสำคัญยิ่งต่อการเสริมสร้าง
active learning
experience การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูให้เป็นจริงได้ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนาครูข้างต้น จะช่วยหนุนเสริมเติมเต็มมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของครู และร่วมมือรวมพลังร่วมพัฒนาวิชาชีพครูสืบไป
------------------------------------------------------------------------
* การอภิปราย เรื่อง การพัฒนาครูอย่างยั่งยืนด้วย Coaching และ Mentoring วันที่ 6 มีนาคม 2556 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ จัดโดยสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
** รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ วิทยากร
*** นักวิชาการศึกษา
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ./ ผู้สรุป