พิทักษ์ โสตถยาคม
เมื่อวาน (14 ตุลาคม
2558) ผมได้พบกับรองศาสตราจารย์ ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา ในมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู
ครั้งที่ 8 หรือ EDUCA2015 ณ อิมแพค
เมืองทองธานี อาจารย์ขอให้ผมช่วยสรุปว่าที่ผ่านมา
มีโครงการ หรือนวัตกรรมอะไรลงไปในพื้นที่และโรงเรียน สพฐ.บ้าง
นับตั้งแต่โครงการรุ่งอรุณ ในปี 2540 เป็นต้นมา
ผมทบทวนข้อมูลโครงการต่างๆ กับพี่ๆ ในสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ระหว่างนั่งรถจากเมืองทองธานีกลับกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ข้อมูลบางส่วน แล้วค้นข้อมูลสรุปโครงการต่างของ สพฐ.ที่ผมเคยประมวลไว้ครั้งก่อนๆ
ได้ข้อมูลดังนี้
แล้วนำข้อมูลมาลงใน Timeline เป็นแผนภาพ ดังต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่า โครงการต่างๆ จำนวน 33 โครงการเหล่านี้
ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีการดำเนินงานสู่โรงเรียน ยังมีโครงการอื่นๆ
อีกเป็นจำนวนมาก โครงการทั้งหมดนี้กระจายไปยังโรงเรียนที่หลากหลาย
แตกต่างกันไปตามจุดมุ่งหมายโครงการ
และบริบทของโรงเรียนเป้าหมาย รวมทั้งต่างในแต่ละช่วงปีที่ริเริ่มดำเนินการด้วย
อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ นวัตกรรม
เทคนิควิธีการ ร่องรอย หลักฐานของการดำเนินการโครงการเหล่านี้ ถือเป็นต้นทุนทางปัญญาที่มีอยู่ในโรงเรียน
สพฐ. ซึ่งครู ผู้บริหารโรงเรียนอาจจะใช้ทักษะการวิเคราะห์
ให้เห็นความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาตามยุคสมัย
กับต้นทุนหรือสิ่งดีที่มีอยู่เดิมของตนเอง ตั้งสติ พิจารณาเลือกและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับผู้เรียนและสภาพปัจจุบัน
ก็จะก่อเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและแวดวงวิชาชีพครูอย่างมาก
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก ก็คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล
หรือ Tacit
Knowledge เป็นความรู้บทเรียนของผู้ปฏิบัติ ทั้งในบทบาทของผู้กำหนดนโยบาย
การขับเคลื่อน การดำเนินการในหน้างาน ณ โรงเรียน ห้องเรียน ล้วนมีคุณค่า น่าเรียนรู้
น่าวางระบบ จัดวงคุย เชิญชวนผู้มีประสบการณ์เหล่านั้นมาบอกเล่า ทบทวนไตร่ตรอง
เพื่อแสวงหาแนวทางที่ควรเดินหน้า และระแวดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาด
ในงานโครงการที่จะดำเนินการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ ผู้ที่รับผิดชอบงานหนึ่งงานใด
ก็ควรจัดให้มีการทบทวน review อย่างเป็นระบบ จากเอกสารและบุคคลผู้มีประสบการณ์
โดยให้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญก่อนการดำเนินงาน ที่มุ่งเป้าหมายเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์จริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในงานที่รับผิดชอบ
--------------------------------------