หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รายงาน คสช.: Education Reform Lab

ความคืบหน้าการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ. เพื่อรายงาน คสช.
โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
พิทักษ์ โสตถยาคม (20 พ.ย. 2557)
การรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ขอแบ่งการนำเสนอออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย (1) แผนการดำเนินงานโครงการ (2) ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ และ(3) สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป ซึ่งมีข้อมูลโดยสรุป ดังนี้

ส่วนที่ 1 แผนการดำเนินงานโครงการ
แผนการดำเนินงานในการนำเสนอครั้งนี้จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ กรอบการดำเนินงาน และแผนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นภาพรวมของโครงการในการดำเนินงานและการขยายผลระยะยาว ดังนี้

กรอบการดำเนินงาน
จากนโยบายการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) ที่มุ่งวางยุทธศาสตร์ระยะยาวและระบบการพัฒนาต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นพลเมืองไทยที่ดี เริ่มต้นด้วยการนำร่องกระจายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างจริงจังไปยังเขตพื้นที่การศึกษา หนุนเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน พร้อมปลดล็อกอุปสรรคการบริหารจัดการศึกษาที่ขัดขวางการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยตนเองของโรงเรียน ด้วยการปฏิรูปการเรียนรู้เต็มรูปแบบ (Full Scheme Model) และดำเนินการวิจัยคู่ขนานให้ได้ข้อค้นพบเชิงประจักษ์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในวงจรการปฏิบัติระยะต่อไป ซึ่งกำหนดกรอบการดำเนินงานเบื้องต้นไว้ จำนวน 3 ปีต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2558-2560 หรือ พ.ศ.2557-2560 ดังแผนภาพ

แผนงาน
โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อนำร่องกระจายอำนาจลงสู่เขตพื้นที่การศึกษา โดยการแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการศึกษาระดับโรงเรียน ในด้านการบริหารบุคคล งบประมาณ และการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในสาระวิชาหลักให้สูงขึ้นกว่าเดิม และการพัฒนาผู้เรียนทันทีอย่างรอบด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะศตวรรษที่ 21 และความเป็นพลเมืองไทยที่ดี (3) เพื่อติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งโรงเรียน โดยใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารและครู

ลักษณะการดำเนินงานเป็นนำร่องปฏิรูปการเรียนรู้เต็มรูปแบบ โดยใช้สำนักงานเขตพื้นที่เป็นฐาน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนได้ใช้ศักยภาพและภาวะผู้นำการเรียนการสอนอย่างเต็มพิกัด ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่คุณภาพผู้เรียน พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานเป็นทีม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผลการปฏิบัติการสอนร่วมกัน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนของผู้บริหารและครูทุกคนเพื่อทำให้ลูกศิษย์แต่ละคน และทุกๆ คนเจริญงอกงามรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของการดำเนินการในระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2558-2560) ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนนำร่องครบ 100% ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด (225 เขต) มีโรงเรียนนำร่องทั้งสิ้น 3,375 โรงเรียน

สำหรับจำนวนโรงเรียนเป้าหมายแต่ละปีของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะมีโรงเรียนเข้าร่วมปฏิรูปการเรียนรู้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีแรกจะเริ่มต้นในโรงเรียน จำนวน 15 โรงเรียนและเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ เมื่อเข้าสู่ปีที่สองของการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะมีโรงเรียนเข้าร่วมปฏิรูปการเรียนรู้เพิ่มเป็น ร้อยละ 30 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ และจะเพิ่มเป็น ร้อยละ 50 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่เมื่อดำเนินการครบปีที่ 3 นั่นหมายความว่า หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการครบ 3 ปีนับจากเริ่มเข้าโครงการ จะมีโรงเรียนร่วมกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างจริงจัง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ หรืออาจกล่าวได้ว่า จะมีโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ครึ่งประเทศ หรือไม่น้อยกว่า 15,000 โรงเรียน ซึ่งรายละเอียดของจำนวนโรงเรียนเป้าหมายแต่ละปี ดังตาราง ต่อไปนี้


ส่วนที่ 2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานเป็นสิ่งที่ได้ดำเนินการแล้วเพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายของการทำงานในระยะแรกของปีที่ 1 นั่นคือ ให้ได้พื้นที่นำร่องทดลองปฏิรูปการเรียนรู้เต็มรูปแบบ จำนวน 20 เขต รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในพื้นที่ และวางระบบกลไกการส่งเสริมสนับสนุนและวิจัยติดตามผลด้วย ซึ่งมีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้

รายการ
ผู้เข้าร่วม
วันเวลา สถานที่
ผลการดำเนินงาน
1. ประชุมวางแนวทางดำเนินงานโครงการ
ทปษ.รมว.ศธ., ผช.เลขานุการ รมช.ศธ. เลขาธิการ กพฐ. รองเลขาธิการ กพฐ. ผอ.สำนักที่เกี่ยวข้องใน สพฐ.
24 ต.ค. 2557 ณ สพฐ.
ได้หลอมรวมความคิดระดับนโยบายเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ วางหลักการทำงาน กระบวนการ ผู้รับผิดชอบหลักของ สพฐ. และแหล่งงบประมาณเพื่อดำเนินการ

2. สร้างความเข้าใจภาพรวมโครงการให้ ผอ.เขตพื้นที่ทราบในการประชุม ผอ.สพป./ สพม.ทั่วประเทศ และให้แจ้งความประสงค์ร่วมโครงการ
ผอ.สพป./ สพม.ทั่วประเทศ จำนวน 225 คน, เลขาธิการ กพฐ.และผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ., ทปษ.รมว.ศธ., ผช.รมต.ศธ., ผช.เลขานุการ รมช.ศธ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของ สพฐ.
30 ต.ค. 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ หลักสี่
ผอ.สพป./ สพม. ทั่วประเทศได้รับทราบเป้าหมายเจตนาของโครงการ และแจ้งความประสงค์เข้าร่วมเป็นพื้นที่นำร่องดำเนินงานโครงการ โดยเขียนใบสมัคร จำนวน 153 เขตพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 68 ของสำนักงานเขตพื้นที่ทั้งหมด

3. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแนวทางดำเนินงานและพิจารณาข้อมูลของเขตพื้นที่ที่สมัครและจัดส่งข้อมูล SWOT Analysis เข้ามายัง สพฐ.
คณะทำงาน สพฐ. โดย ผอ.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาและคณะ และ ทปษ.รมว.ศธ.และคณะ
7 พ.ย. 2557 ณ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ได้รับทราบนโยบาย รมว.ศธ.เกี่ยวกับแนวทางนำร่องทดลองปฏิบัติการลงสู่เขตพื้นที่การศึกษาเต็มรูปแบบ เป็นการหนุนเสริมเชิงวิชาการและปลดล็อคอุปสรรคปัญหาการบริหารจัดการ และพิจารณาข้อมูลเขตพื้นที่ รวมทั้งเลือกเขตพื้นที่นำร่อง จำนวน 20 เขต ในจำนวนนี้มีเขตที่ทับซ้อนกับโครงการ Area-based Education: ABE อยู่ส่วนหนึ่ง เพื่อดูผลในมิติการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในจังหวัดด้วย
4. ประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณากรอบการดำเนินงาน
ทปษ.รมว.ศธ.และคณะ ผช.เลขานุการ รมช.ศธ. และคณะทำงาน สพฐ. โดย ผอ.สนก. และคณะ
12 พ.ย.2557 ณ ห้อง ทปษ.รมว.ศธ.
ได้กรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนจากนโยบาย รมว.ศธ.เพื่อนำไปสู่การนำร่องในปีที่ 1 จำนวน 60 เขต (ระยะแรก 20 เขต ระยะที่สอง 40 เขต) และแผนการขยายผลเต็มพื้นที่ 225 เขต ในระยะเวลา 3 ปี หากการดำเนินการระยะนำร่องได้ผลดี
5. ประชุม ผอ.สพป./ สพม.ที่จะนำร่องระยะแรก จำนวน 20 เขต เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
รมว.ศธ., ผช.รมต.ศธ., ทปษ.รมว.ศธ., ผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ., ผอ.สพป./ สพม. คณะทำงาน สพฐ. โดย ผอ.สนก.และคณะ และผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สกศ.
14 พ.ย.2557 ณ สพฐ.
ผอ.สพป./ สพป.ได้เห็นพ้องกับเป้าหมายโครงการและแสดงเจตจำนงที่จะร่วมทำให้สำเร็จ รวมทั้งได้รับรู้รับทราบความตั้งใจที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาที่แท้จริงของ รมว.ศธ.โดยผ่านหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่นำร่องที่จะเริ่มต้นดำเนินการในเดือนมกราคม 2557
6. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุม Reform Lab และ Coaching Lab จุดที่ 1 ของโครงการ
คณะทำงานของ ทปษ.รมว.ศธ., คณะทำงานของ สพฐ. และคณะทำงานของ สกศ.
15 พ.ย.2557 ณ สพฐ.
ได้แนวปฏิบัติในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (Reform Lab) และจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (Coaching Lab) ณ สพป.ภูเก็ต
7. ประชุมหารือเติมเต็มแนวทางการดำเนินงานโครงการจากภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา
ทปษ.รมว.ศธ., ผชช.พิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้  สพฐ. คณะทำงานของ สพฐ. และคณะทำงานของ สกศ., มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย, มูลนิธิสยามกัมมาจล
18 พ.ย.2557 ณ สพฐ.
ได้เห็นภาพรวมของโครงการและบทบาทของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการชัดขึ้น โดยเฉพาะการวิจัยติดตามผลโดย สกศ.

ส่วนที่ 3 สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
การดำเนินการต่อจากนี้จะเป็นการทำงานลงลึกและเกาะติดกระบวนการพัฒนาของสำนักงานเขตพื้นที่นำร่องทั้ง 20 เขต และประกบด้วยการวิจัยติดตามผลเพื่อให้ได้ข้อค้นพบที่ชัดเจนอันนำไปสู่การขยายไปสู่เขตพื้นที่อื่นๆ ซึ่งมีประเด็นที่จะต้องดำเนินการ อย่างน้อย 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การสร้างความเข้าใจให้บุคลากรของเขตพื้นที่ การส่งเสริมสนับสนุนของกระทรวงศึกษาธิการและ สพฐ. การดำเนินการปฏิรูปเต็มรูปแบบของเขตพื้นที่ และการวิจัยติดตามผลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีรายละเอียดของข้อมูล ดังนี้


1. เสริมสร้างความเข้าใจเขตนำร่อง เพื่อทำความเข้าใจในโครงการ การจัดทำแผนปฏิบัติการ และการปฏิบัติการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน โรงเรียน และการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยจะจัดสัมมนาปฏิบัติการ จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (Reform Lab) จำนวน 3-6 ครั้ง โดยใช้เขตพื้นที่ในโครงการ Area-based Education: ABE เป็นเจ้าภาพ ซึ่งครั้งที่ 1 ณ สพป.ภูเก็ต ในวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2557 และ(2) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (Coaching Lab) เป็นการสร้างความเข้าใจและเสริมศักยภาพผู้แทนเขตพื้นที่ เขตพื้นที่ละ 20 คน ประกอบด้วย ผอ.สพป./ สพม. 1 คน ทีมวิชาการของเขต 4 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน 15 คน ซึ่งจะจัดทั้งสิ้น 6 ครั้ง ดังนี้
2. จัดปัจจัยเกื้อหนุนและระบบส่งเสริม กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดปัจจัยเกื้อหนุน และระบบส่งเสริมการดำเนินงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3. ปฏิบัติการเต็มรูปแบบ สำนักงานเขตพื้นที่ดำเนินการนำร่องปฏิบัติการเต็มรูปแบบ
4. วิจัยติดตามผลทุกระยะ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาวิจัยติดตามโครงการเพื่อศึกษาระบบการจัดการแบบใหม่และผลที่เกิดขึ้นที่คุณภาพครูและผู้เรียน ระยะ 3 เดือน 6 เดือน และตลอดโครงการ

----------------------------------------

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คณะปฏิรูป สพฐ.: กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากภายใน

คณะปฏิรูป สพฐ.: กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากภายใน
พิทักษ์ โสตถยาคม
17 พ.ย. 2557

ผมได้รับการประสานจากทีมของผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. ให้ช่วยนำ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผ่านการพิจารณาของ กพฐ. และเลขาธิการ กพฐ. ไปให้ประธาน กพฐ. (ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์) ลงนาม เมื่อวันที่ พ.ย. 2557 ซึ่งประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ อาจารย์สุรัฐ ศิลปอนันต์ และมี ผอ.สนผ.เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ 

สำหรับเรื่องการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้ ผมได้ฟังท่านเลขาธิการ กพฐ. (ดร.กมล รอดคล้าย) กล่าวในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ประมาณ เดือน (เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557) ว่า สพฐ.จะเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา ใช้โอกาสนี้ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน และจะเรียนเชิญ ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์ ประธาน กพฐ. มาเป็นประธานอำนวยการปฏิรูปของ สพฐ. ผมเข้าใจว่า จากจุดนี้เอง สพฐ.จึงได้เสนอ กพฐ.ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดนี้ขึ้นมีหน้าที่หลักคือ เสนอรูปแบบ กระบวนการ และแนวทางปฏิรูปการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหวังให้เป็นกลไกสำคัญของการปฏิรูปจากภายในของ สพฐ.และการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย บุคคลจาก กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. จำนวน13 คน ได้แก่ เลขาธิการ กพฐ. รองเลขาธิการ กพฐ.ทุกคน ที่ปรึกษา ผอ.สำนัก และผู้เชี่ยวชาญ สพฐ  กลุ่มที่สองเป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) จำนวน 10 คน อาทิ นายมีชัย วีระไวทยะ นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ กลุ่มที่สามเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาทิ รศ.ประภาภัทร นิยม นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ดร.พิษณุ ตุลสุข รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย นอกจากนั้นยังมีผู้ช่วยเลขานุการอีก คน ซึ่งผมเป็นหนึ่งในนั้นด้วยครับ

 ภาพในบรรทัด 1

ภาพในบรรทัด 2


ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ผมได้มีโอกาสคุยกับประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์) ช่วงที่ถือคำสั่งไปให้ท่านลงนาม ท่านได้เล่าให้ฟังถึงเป้าหมายเจตนา กระบวนการทำงานของคณะอนุกรรมการ และฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการ ดังนี้
1. ระดมความคิดระดับสำนักงาน โดยเชิญชวนผู้บริหารระดับสูง ที่ปรึกษา สพฐ. ผอ.สำนัก และผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. มาประชุมเพื่อร่วมกันระดมความคิดเพื่อตอบคำถาม ที่จะตั้งคำถามล่วงหน้าให้ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมได้เตรียมคิดมาก่อน อย่างน้อย 2 คำถาม คือ
1) หลักการปฏิรูปคืออะไร
2) ประสบการณ์หรือบทเรียนของการปฏิรูปที่แต่ละคนได้เรียนรู้มามีอะไรบ้าง ทั้งจากการปฏิบัติ การศึกษาดูงาน หรือการศึกษาค้นคว้า ใน 2 ประเด็นคือ
2.1.1) มีอะไรดีๆ ที่จะใช้ในการปฏิรูปให้สำเร็จ ทั้งที่ สพฐ.ทำเอง และที่ได้รับรู้จากที่คนอื่นทำ เพื่อเก็บเกี่ยวสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้พิจารณาในการปฏิรูปครั้งนี้ให้ได้มากที่สุด
2.1.2) มีอะไรที่เป็นอุปสรรคปัญหาและปั่นทอนการปฏิรูปที่ผ่านมาบ้าง
2. ประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งแรก โดยจะมี 2 วาระสำคัญ ได้แก่ (1) การพูดคุยเกี่ยวกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการชุดนี้ และ(2) การระดมความคิดในระดับกรรมการ ลักษณะการทำงานของคณะอนุกรรมการจะเป็นแบบร่วมคิดร่วมทำ แต่ผู้รับผิดชอบหลัก (เจ้าภาพหลัก) ต้องเป็นคนของ สพฐ.ที่จะจริงจังและผลักดันการดำเนินการต่างๆ  ผลผลิตสุดท้ายจะนำไปสู่ 2 ส่วน ประกอบด้วย
2.1 การยกร่างการปฏิรูปการศึกษาของ สพฐ. ซึ่งจะประกอบด้วย การออกแบบการดำเนินการ รูปแบบ วิธีการทำงาน กระบวนการ/ ขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ
2.2 การสร้างแผนยุทธศาสตร์ ที่เป็นเสมือนร่มขนาดใหญ่ที่คลุมการปฏิบัติของสำนักงานในส่วนกลาง สำนักงานเขต และโรงเรียน ซึ่งเป็นดั่งแผนปฏิรูปการศึกษาหลัก ที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันและยึดถือนำไปปฏิบัติว่า จะขับเคลื่อนการดำเนินงานอะไร อย่างไร หรืออาจออกมาเป็นโครงการใหญ่ เช่น โครงการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน    
3. ระดมความคิดบุคลากรจากสำนักงานเขตและโรงเรียน เป็นการนำร่างการปฏิรูปการศึกษาของ สพฐ.ไปให้คนของเขตและโรงเรียนได้เสริมเติมเต็ม เป็นการดึงการมีส่วนร่วม และให้ทุกส่วนของ สพฐ.ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เราจะคิดและจะทำการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกันนับต่อจากนี้ ซึ่งการจัดระดมความคิดนี้อาจจัดขึ้น 1 ครั้ง แต่ให้มีตัวแทนมาจากทุกกลุ่มของ สพฐ. เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็จะนำไปสู่การยกร่างกระบวนการและขั้นตอน เป็นแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ สพฐ.
4. สัมมนาใหญ่ระดับชาติ เพื่อนำเสนอแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ สพฐ. ซึ่งจะนำโดยเลขาธิการ กพฐ. เป็นการรับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้จากภายนอก และเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดการศึกษามาร่วมเสริมเติมเต็มแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ สพฐ. นับว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนในวงกว้างได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานของ สพฐ.ด้วย
5. ดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ อาจเรียกชื่อว่า โครงการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ โครงการโรงเรียนในอนาคต (School of Future) ที่จะเป็นโรงเรียนเพื่อเด็กในอนาคต อาจใช้กรอบ 21st Century Skills ที่มีความชัดเจนในด้านเนื้อหาสาระและระบบสนับสนุนที่ควรพิจารณาดำเนินการ 

ซึ่งการทำงานของคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเดินหน้าไป พร้อมๆ กับการปฏิรูปประเทศในด้านอื่นๆ สำหรับการปฏิรูปการศึกษาอยู่ในความสนใจและหลายหน่วยงานคิดและทำด้วยเจตนาดีอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายก็ต้องส่งข้อเสนอให้ผู้มีอำนาจมาช่วยเปลี่ยนแปลงกระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. แต่การที่ สพฐ.ตระหนักเห็นประโยชน์ของการปฏิรูป และเข้าร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายในด้วยตนเอง น่าจะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วกว่าเดิม
---------------------------------