หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.เชิญนักวิจัย 6 โรงเรียน สรุปผลโครงการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน


สพฐ.เชิญผู้บริหารสถานศึกษาและครูนักวิจัย จำนวน 6 โรงเรียน มาสรุปและนำเสนอผลการวิจัยรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ระหว่างวันที่ 1 - 5 เมษายน 2562 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โรงเรียนทั้ง 6 โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยและส่งเสริมการวิจัยของ สพฐ. โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ในโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีดำเนินการมาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2561   
โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายการวิจัย มี 6 โรงเรียน ดังนี้
1. โรงเรียนวัดบ้านก้อง สพป.ลำพูน เขต 1 
2. โรงเรียนบ้านบัววัด สพป.อุบลราชธานี เขต 4 
3. โรงเรียนบ้านป่ากล้วย สพป.ขอนแก่น เขต 5 
4. โรงเรียนวัดท่ากระทุ่ม สพป.กาญจนบุรี เขต 2 
5. โรงเรียนวัดเกาะถ้ำ สพป.สงขลา เขต 1
6. โรงเรียนเทพา สพม. เขต 16 
โรงเรียนวัดบ้านก้อง สพป.ลำพูน เขต 1
โรงเรียนวัดเกาะถ้ำ สพป.สงขลา เขต 1
โรงเรียนวัดท่ากระทุ่ม สพป.กาญจนบุรี เขต 2
โรงเรียนบ้านบัววัด สพป.อุบลราชธานี เขต 4
โรงเรียนบ้านป่ากล้วย สพป.ขอนแก่น เขต 5 

โรงเรียนเทพา สพม. เขต 16

การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม และครูผู้สอนเปลี่ยนวิถีในการวางแผนการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ใช้วิจัยเป็นฐานพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ การสอน และการบริหารจัดการ เป็นการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงห้องเรียนและโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับนโยบายของ สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์ชาติ



ขั้นตอนการดำเนินงานที่ผ่านมามีดังนี้: 1) ศึกษาสภาพปัญหา เอกสาร ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2) วางแผนการวิจัย จัดทำกรอบแนวคิด และจัดทำร่าง “แนวทางการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานของ สพฐ.” พร้อมทั้งจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3) ประชุมวางแผนการปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม 4) ปฏิบัติการวิจัยภาคสนามโดยนำแนวทางการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานของ สพฐ. สู่โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 5) กำกับ ติดตาม เติมเต็มการดำเนินงานวิจัยของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย สะท้อนผลการดำเนินงานของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 6) เก็บข้อมูล ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐานของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย และ 7) ประชุมปฏิบัติการสรุปรายงานโครงการวิจัยของ สพฐ. และโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งก็คือ workshop ที่จะจัดระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2562 นี้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการวิจัย: 1) ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในระดับสพฐ./สพท./โรงเรียน 2) ผู้บริหารและครู มีแนวทางในการบริหารจัดการ การพัฒนาครู และการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนในการใช้การวิจัยพัฒนานวัตกรรม 3) ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาได้ทุกระดับ 4) นักเรียนมีแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและพัฒนาไปสู่ความเป็นวัตกร 5) ผลการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายจะเป็นกรณีศึกษาหรือต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษาทั่วไป



คณะทำงานโครงการวิจัย:  1) ทีมนักวิชาการส่วนกลาง นายไตรรงค์ เจนการ (ข้าราชการบำนาญ) นางสาวประภาพรรณ เส็งวงศ์ (ข้าราชการบำนาญ) นางบัวบาง บุญอยู่ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. นายพิทักษ์ โสตถยาคม นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ และนางสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล นักวิชาการศึกษาชำนาญการ 2) ทีมศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่ นางธนชพร ตั้งธรรมกุล  สพม. เขต 16 นายประสิทธิ์  กะตะศิลา สพป.ลำพูน เขต 1 นางสาวนิภา สุขพิทักษ์ สพป.กาญจนบุรี เขต 2 นางสาวณัฐวดี ชูศรี สพป.สงขลา เขต 1 นายศิขริน  ตันเจียง สพป.ขอนแก่น เขต 5 และนางณัฐหทัย กอลล์ สพป.อุบลราชธานี เขต 4








Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม และสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล
Photo credit: นักวิจัยและคณะครู 6 โรงเรียน

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.เชิญชวนครูนักวิจัยและบุคลากรทางการศึกษา ลงทะเบียนเข้าร่วมงานและนำเสนอผลงานวิชาการ ในการสัมมนางานวิจัยจิตพฤติกรรมศาสตร์ด้านระบบพฤติกรรมไทย ภายใต้เรื่อง "พลังจริยธรรมนำแก้วิกฤตชาติ"


สพฐ.เชิญชวนครูนักวิจัยและบุคลากรทางการศึกษา ลงทะเบียนเข้าร่วมงานและนำเสนอผลงานวิชาการ ในการสัมมนางานวิจัยจิตพฤติกรรมศาสตร์ด้านระบบพฤติกรรมไทย ภายใต้เรื่อง "พลังจริยธรรมนำแก้วิกฤตชาติ" ระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส กรุงเทพมหานคร ดูรายละเอียดของโครงการและกำหนดการได้ที่นี่ https://goo.gl/cSX1z4

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานและนำเสนอผลงาน 
ที่นี่ https://goo.gl/2PwoLk

หรือดูรายละเอียดแต่ละประเด็น ดังนี้
1.ประกาศ
2.โครงการ
3.กำหนดการ
4.ดาวน์โหลด
แบบนำเสนอผลงาน

หนังสือราชการจาก สพฐ. แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต


วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.เชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุมหัวข้อ "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา: พื้นที่วิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ" ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)” กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ส่งผลงานที่เกี่ยวกับงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ประเด็นท้าทายทางสังคมเข้าร่วมงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2562 จำนวน 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา: พื้นที่วิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ เป็นการเข้าร่วมในภาคการประชุม ในวันที่ 8 เมษายน 2562 เวลา 09.00-12.00 น. มีวิทยากรหลัก จำนวน 4 คน ได้แก่

  1. ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 
  2. นายดาลัน นุงอาหลี ศึกษาธิการจังหวัดสตูล
  3. นายสุพรรณ หารธุจิต ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
  4. นายเสนีย์ เรืองฤทธิ์ราวี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

เรื่องที่สองคือ การบริหารจัดการและการหนุนเสริมระบบเครือข่ายงานวิจัยประเด็นการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสตูล เป็นการนำเสนอในภาคนิทรรศการ มีนักวิจัยหลักคือ  นายสุทธิ  สายสุนีย์ และคณะ (นายสมพงษ์ หลีเคราะห์, นางกริย๊ะ หลีเคราะห์, นายหรน หัสมา, นายหุดดีน อุสมา, นายพิเชษฐ์ เบญจมาศ)


ดังนั้น สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรในสังกัด สพฐ. และผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมภาคการประชุมและภาคนิทรรศการข้างต้น และยังสามารถเลือกรับชมกิจกรรมที่หลากหลายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)” ระหว่างวันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร โดยลงทะเบียนเข้าชมฟรี! ที่นี่ http://www.thailandresearchexpo2019.com/conference

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

สพฐ. ร่วมกับ ม.ศิลปากร เชิญชวนผู้สนใจส่งบทความวิจัยเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ภายในเดือนมีนาคม 2562


ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นเจ้าภาพจัดประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 The 6th International Conference on Education (ICE2019) and National Conference "Creative Paradigms towards Internationalizing Education" (กระบวนทัศน์เชิงสร้างสรรค์เพื่อมุ่งสู่ควมเป็นสากลทางการศึกษา) ในวันที่ 22 มิถุนายน 2562 ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม นั้น

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้รับมอบหมายจาก สพฐ. ให้เป็นผู้ประสานงานและประชาสัมพันธ์เชิญชวนครูและบุคลากรทางการศึกษาส่งบทความวิจัยเข้าร่วมนำเสนอในการประชุมนี้ จึงส่งหนังสือประชาสัมพันธ์งานและเชิญชวนเข้าร่วมประชุม ดังนี้ https://goo.gl/ZTz8SM ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถส่งบทความฉบับสมบูรณ์ ทาง email: w_thang@hotmail.com ภายในวันที่ 22 มีนาคม 2562 ส่วนผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าร่วมประชุมและลงทะเบียนในระบบได้จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2562 โดย download รายละเอียดและรูปแบบการจัดทำบทความวิจัยและลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://goo.gl/32HjEu

#ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยคลิกที่หัวข้อต่อไปนี้

เอกสารโครงการ
ตัวอย่างการอ้างอิง
แบบฟอร์มการส่งต้นฉบับ
รายละเอียดการนำเสนอบทความ
ตัวอย่างรูปแบบการเขียนบทความวิจัย
Conference Proceedings ICE 2 - ICE 5

แบบฟอร์มลงทะเบียนออนไลน์

ตรวจเช็คการลงทะเบียน (สำหรับผู้ลงทะเบียนออนไลน์แล้ว)

Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม 

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมของ สพฐ.

สพฐ. เปิดรับข้อเสนอแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2563 

ด้วย คณะกรรมการพิจารณาการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในฐานะเลขานุการร่วม สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563

วช. และ สวทน. ขอความร่วมมือ สพฐ. และหน่วยงานราชการต่างๆ ดำเนินการจัดทำข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Proposal) สำหรับแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2563 เป้าหมายที่ 1 และ 2 ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงหลักการแผนบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563

ในการนี้ สพฐ. จึงประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรของ สพฐ. จัดทำข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Proposal) สำหรับแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2563 ซึ่งก็คือ การจัดทำข้อเสนอแผนงานวิจัย เพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเมืื่อบุคลากรของ สพฐ. ดำเนินการและส่งข้อเสนอเข้าสู่ระบบ ภายในวันที่ 20 กันยายน 2561 แล้ว สพฐ. จะตรวจสอบและสรุปรายงานบัญชีโครงการวิจัยและนวัตกรรม (บวน.) ส่งไปยัง วช. ตามกำหนดต่อไป

จากเอกสารแนวทางการเสนอของบประมาณแผนงานบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2563 ได้ระบุไว้ว่า แผนงานวิจัยและนวัตกรรม ต้องมีลักษณะดังนี้

  1. มีผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
  2. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
  3. มีตัวชี้วัดที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมายในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในด้านความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลา และต้นทุน
  4. มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนที่จะนำผลผลิตจากงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
  5. มีผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยและนวัตกรรม
รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขของการเสนอแผนงานวิจัยและนวัตกรรมไว้ว่า จะต้องมีลักษณะครบถ้วน 7 ข้อ รายละเอียด ดังเอกสารนี้






สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเขียนข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Proposal) เพื่อจัดทำแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมเชิงรุก" ในวันที่ 10 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช.1 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ






วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

โรงเรียนแห่งอนาคต: Progress Report Term I

ผลการดำเนินงานวิจัยของโรงเรียนแห่งอนาคต 70 โรงเรียน ที่ได้ทุนอุดหนุนการวิจัยของ สพฐ.


88ที่88
ชื่อโรงเรียน
รายงานความก้าวหน้า
ภาคเรียนที่ 1/ 2560
ชื่องานวิจัย
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน/ รก.ผอ.
1
กระเบื้องนอกพิทยาคม
การจัดการเรียนการสอนภายใต้รูปแบบ OPAS เพื่อพัฒนาทางปัญญาและสังคมของนักเรียน ตามนโยบายโรงเรียน ICU โรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม
นายภราดร พวงประโคน
2
กู่สวนแตงพิทยาคม
การพัฒนาการอ่านคล่องด้วยเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและสาระบันเทิงเพื่อพัฒนานักเรียนที่อ่านไม่คล่องของโรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม
นายศักดิ์ ซารัมย์
3
จะโหนงพิทยาคม
การพัฒนาทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคม ของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม จังหวัดสงขลา  ปีการศึกษา 2560 โดยใช้โครงการคุณธรรมนำชีวิต  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
นางศิรประภา ขวัญทอง
4
ชุมชนบ้านสี่แยก
รูปแบบสภาวิจัยในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
นายกันตพงศ์ คงหอม
5
ซับสมบูรณ์วิทยาคม
การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนโรงเรียนซับสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 จังหวัดเพชรบูรณ์
ว่าที่ร้อยตรีสมจิต รอดเรือง
6
ดงบังวิทยายน
การศึกษาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู  เพื่อยกระดับทักษะกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21  โรงเรียนดงบังวิทยายน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
นายสัมฤทธิ์ พรสุวรรณ์
7
ตำรวจตระเวนชายแดน
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
รถไฟมักกะสัน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ของโรงเรียนตชด.ผบ.ลส.รถไฟมักกะสัน
นายทิวากร จิตอารี
8
ท่านผู้หญิงสง่า 
อิงคุลานนท์
การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนระดับประถมศึกษาปีที่1
นายณัฐภัทร อุปจักร์
9
ท่ามะไฟหวานวิทยาคม
การสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยโครงการผู้ช่วยครู
นายสุทัศน์ ตนทา
10
นิคมสร้างตนเอง
จังหวัดระยอง 10
การพัฒนาทักษะทางปัญญาด้านการคิดแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 10
นางฉัตรมน อินทศร
11
บ้านกอกจูน
การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย   สำหรับนักเรียน                   ช่วงชั้นที่ 1 โรงเรียนบ้านกอกจูน โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ปีการศึกษา 2560
นายวิชาญ ใบยา
12
บ้านกิ่วจันทร์ 
(เสรินทวัฒน์อุปถัมภ์)
การพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร นักเรียนโรงเรียนบ้านกิ่วจันทร์(เสรินทวัฒน์อุปถัมภ์) ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวน 45 คน
นายกรวัฒน์ โนพิยะ
13
บ้านเกวต
การใช้สื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านเกวต จังหวัดน่าน
ว่าที่ร้อยโทสำอางค์ ใจการณ์
14
บ้านคลองกลุ่ม

การพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้วยการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักของโมเดลซิปปา
นายวินัย ป้อมดำ
15
บ้านคลองช้าง
การพัฒนาการอ่านออกเขียนได้โดยใช้เพลงคาราโอเกะของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
นายวิสุทธิ์ แวดอเล๊าะ
16
บ้านคลองโร
การจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นางสาวปวิชญา สินน้อย
17
บ้านค่ายวิทยา
การพัฒนาทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคมผู้เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางบ้านค่าย 4.0 โรงเรียนบ้านค่ายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30  Development of Intellectual skills and Social skills of Learners using the Guided Learning Bankhai Vittaya 4.0  Model  under the Office of the Secondary Education Service Area 30
นายนพดล กาญจนางกูร
18
บ้านคำหาด 
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาอย่างเร่งด่วน (ICU)โดยการสอนแบบคละชั้นเรียนโรงเรียนบ้านคำหาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
นายบุญทัย สุระมุล
19
บ้านโคกเพ็ก
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเพ็กโดยใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยโครงงาน
นายอภิวัฒน์ แถวพันธ์
20
บ้านโคกใหญ่
การประเมินการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกใหญ่ สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
นายทองอินทร์ อุบลชัย
21
บ้านโฉลกหลำ
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity – based learning) ในโรงเรียนบ้านโฉลกหลำ อำเภอเกาะพะงัน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นางสาวนิภาพร บินสัน
22
บ้านดอยแก้ว
การพัฒนาทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอยแก้ว   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)
นางสีดา นันตาเวียง
23
บ้านด่าน
การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการกลุ่มโรงเรียนบ้านด่าน
นายประดิษฐ์ ผาธรรม
24
บ้านท่ามะขาม 
การวิจัยชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียนแบบทั่วทั้งโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านท่ามะขาม อำเภอสวนผึ้ง  จังหวัดราชบุรี
นางอาภรณ์ทิพย์ เอื้อประเสริฐ
25
บ้านทุ่งแต
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION) ของโรงเรียนบ้านทุ่งแต
นายยุทธนา คงแหลม
26
บ้านทุ่งพร้าว (เพ็คกี้ฮิทค็อก)
วิจัย  เรื่องการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนบ้านทุ่งพร้าว (เพ็คกี้ฮิทค็อก)
นางสาวนฤมล เกิดมูล
27
บ้านนาบง
การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาบง โดยใช้รูปแบบ PLC
นางนุชนาถ ทีฆาวงค์
28
บ้านนาระยะพัฒนา
การพัฒนาทักษะทางสังคมและทักษะทางปัญญาของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาระยะพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs)
นางเยาวภา กล้าขยัน
29
บ้านนาสระลอย
การวิจัยส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
นายเกษม อบเชย
30
บ้านบกพร้าว
การพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนด้วยกิจกรรมพี่สอนน้องผ่านชุมชนการเรียนรู้ (PLC) 
นางสาวเพ็ญพักตร์ ภุมมาลา
31
บ้านบวกหญ้า
การพัฒนาทักษะทางด้านการอ่านการเขียนวิชาภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1
นายบุุญญฤทธิ์ ปันกัน
32
บ้านบาโด
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ของนักเรียนโรงเรียนบ้านบาโด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
นายหาษบูเลาะ สาแม
33
บ้านเปียงซ้อ
การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเปียงซ้อ  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน
นางสาวนันทรัตน์ สมมุติ
34
บ้านโป่ง

การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน(PBL) ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ GPAS 5 STEPs ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่ง
นายสุพัฒน์ เตชาติ
35
บ้านผาสิงห์
แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ด้วยหนังสือนิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
นายประเสริฐ ใชเด็ช
36
บ้านโพนครก
การพัฒนาทักษะการคิด และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนครกโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน
นายศุภณัฐ อินทร์งาม
37
บ้านไพศาล(ลี้ลอยอุทิศ)
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET และ NT  ของนักเรียนโดยกิจกรรมพี่ช่วยน้องผ่านกระบวนการProfessional Learning Community (PLC) 
นายภานุพงษ์ ศรีดารา
38
บ้านภูทอง
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านภูทอง สพป.ศรีสะเกษ เขต ๔
นายเขตต์อรัญ ธรรมรักษฺ์
39
บ้านร่องไผ่
การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมภาคี ๔ ฝ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๑
นางสมิหรา สาริกา
40
บ้านวังวัว(แดงอุทิศ)
การพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่านและพัฒนาทักษะทางปัญญาของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังวัว(แดงอุทิศ)ด้วยนิทานอีสป
นางสารภี ศรีราม
41
บ้านสบปืน
การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย  โดยใช้แบบฝึก ทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 โรงเรียนบ้านสบปืน
นางบุษณีย์ บึงกา
42
บ้านสันดาบ
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการเรียนรู้ตามขั้นตอน BANSANDAB MODEL โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสันดาบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
นางศศิธร บุตรเมือง
43
บ้านเสด็จพิทยาคม
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านเสด็จพิทยาคมโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตามรูปแบบ BSD PLC Model
นางสาวอมรรัตน์ โพธิ์เพชร
44
บ้านหนองค้า
การพัฒนาทักษะการสื่อสารวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาโดยใช้โปรแกรมการฝึกเรียนภาษาอังกฤษแบบธรรมชาติเพื่อการสื่อสาร
นายณัฐวุฒิ นามวงศ์
45
บ้านหนองเตา
การพัฒนาทักษะการคิดและทักษะทางสังคมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเตา            โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ Active Learning  
นางเยาวลักษณ์ เกษรเกศรา
46
บ้านหนองสองห้อง 
 (เทพผาประชานุกูล)
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การอ่านออก เขียนได้ ของโรงเรียนบ้านหนองสองห้อง(เทพผาประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
นางสาววราอินทร์ ปุผาลา
47
บ้านห้วยทรายขาว
การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึก ตามทฤษฎีการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง (Brain-Based Learning  :  BBL)   กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน
นายวิทยา ใจแก้ว
48
บ้านห้วยฟอง
การพัฒนาทักษะการอ่านออกและเขียนคำมาตราตัวสะกดโดยใช้แบบฝึก                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 
นางวรวรรณ แสงศิริโรจน์
49
บ้านหวาง
การปฏิบัติการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านหวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
นางณัฐธิดา แสงใส
50
บ้านเหล่า
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของนักเรียนโรงเรียนบ้านเหล่า
นายสุริยันต์ สายเมือง
51
ประณีตวิทยาคม
การพัฒนาการใฝ่รู้ใฝ่เรียนและความมีวินัยในตนเอง โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของนักเรียนโรงเรียนประณีตวิทยาคม ประจำปีการศึกษา 2560
นายคมสัน ณ รังษี
52
ปราสาทเบงวิทยา
โครงการวิจัย และพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การสอนด้วยรูปแบบโครงงานเป็นฐาน
นางสาวพิจิตรา คำมันตรี
53
แม่ริมวิทยาคม
คลินิกหมอภาษาพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
นายสำเร็จ ไกรพันธ์
54
ยางโกลนวิทยา

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  5  กลุ่มสาระการเรียนรู้  สำหรับนักเรียนโรงเรียนยางโกลนวิทยา
นายพร ดังดี
55
วังหินกิตติวิทยาคม
การพัฒนานวัตกรรม โรงเรียนต้นแบบแห่งความสุข   วังหินกิตติวิทยาคมสู่การปลอดการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
นางสาวลาวัลย์ เกติมา
56
วัดท่ากระทุ่ม
โครงการ ห้องเรียนคุณภาพสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นายอำพร เลิศอาวาส
57
วัดทุ่งขึงหนัง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   โรงเรียนวัดทุ่งขึงหนัง     อำเภอควนขนุน  จังหวัดพัทลุง
นายรัญช์วภพ ในเรือน
58
วัดหนองโพรง
การพัฒนาทักษะทางด้านปัญญา สังคม กระบวนการคิดของนักเรียนโดยใช้เทคนิคกระบวนการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหนองโพรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
นายกันพิเชฐษ์ มลิเกตุ
59
วาวีวิทยาคม
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวาวีวิทยาคมโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
นางณัชชาพัชร์ พันธุ์นิติภูมิ
60
วิเชียรมาตุ 3
การศึกษาผลการนิเทศภายในโดยใช้เทคนิคการโค้ชผ่านเลนส์ เพื่อการพัฒนาการสอนสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของครูในกิจกรรมเพิ่มเวลารู้  โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 
นายวรกร สวุรรณ์
61
เวียงชัยวิทยาคม
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเวียงชัยวิทยาคมโดยใช้กิจกรรม WCK TO GOAL
นายเกรียงศักดิ์ ยอดสาร
62
ศรีน้ำคำศึกษา
พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคมเพื่อพัฒนา  คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนศรีน้ำคำศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา   เขต  29
นายถนอม บรรลุศิลป์
63
สองแคววิทยาคม

การพัฒนาครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสองแคววิทยาคม ประจำปีการศึกษา 2560 โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)
นายชัยพันธ์ ศรีนันตา
64
สันติคีรีวิทยาคม
การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ  โรงเรียนสันติศีรีวิทยาคม อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
นายฐกฤต นวลคำมา
65
สุนทโรเมตตาประชาสรรค์
โรงเรียนแห่งความสุขตามรอยศาสตร์ของพระราชา วิชาของแผ่นดิน
นายชนมพันธ์ ทรัพย์ศิริ
66
หนองเสือพิทยาคม
การแก้ไขปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ 3 ต่อ 1 ห้องเรียนพิเศษโรงเรียนหนองเสือพิทยาคม
นางสมพิศ  เกิดนวล
67
หนองโสนพิทยาคม
การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง โสนพิทย์ฟาร์ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
นายชุมพล สุวิเชียร
68
เหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม
การพัฒนาทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคม ของนักเรียนโรงเรียนเหล่าใหญ่นาข่าวิทยาคม โดยใช้กิจกรรมพัฒนาการอ่านคล่องเขียนคล่อง  4 Group Development (4D)  และกิจกรรมเยาวชนคนดีวิถีพุทธ
นางลัดดา ผาพันธ์ 
69
แหลมรังวิทยาคม

การพัฒนาทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคม โดยใช้กระบวนการ PLC เป็นฐาน โรงเรียนแหลมรังวิทยาคม จังหวัดพิจิตร
นางสาวจิรวรรณ สุรเสียง
70
อรุโณทัยวิทยาคม
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านทักษะทางการสื่อสารและด้านความมีวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม
นายศรันย์ วรรณรัตน์