หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.เชิญนักวิจัย 6 โรงเรียน สรุปผลโครงการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน


สพฐ.เชิญผู้บริหารสถานศึกษาและครูนักวิจัย จำนวน 6 โรงเรียน มาสรุปและนำเสนอผลการวิจัยรูปแบบการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ระหว่างวันที่ 1 - 5 เมษายน 2562 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โรงเรียนทั้ง 6 โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยและส่งเสริมการวิจัยของ สพฐ. โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ในโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีดำเนินการมาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2561   
โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายการวิจัย มี 6 โรงเรียน ดังนี้
1. โรงเรียนวัดบ้านก้อง สพป.ลำพูน เขต 1 
2. โรงเรียนบ้านบัววัด สพป.อุบลราชธานี เขต 4 
3. โรงเรียนบ้านป่ากล้วย สพป.ขอนแก่น เขต 5 
4. โรงเรียนวัดท่ากระทุ่ม สพป.กาญจนบุรี เขต 2 
5. โรงเรียนวัดเกาะถ้ำ สพป.สงขลา เขต 1
6. โรงเรียนเทพา สพม. เขต 16 
โรงเรียนวัดบ้านก้อง สพป.ลำพูน เขต 1
โรงเรียนวัดเกาะถ้ำ สพป.สงขลา เขต 1
โรงเรียนวัดท่ากระทุ่ม สพป.กาญจนบุรี เขต 2
โรงเรียนบ้านบัววัด สพป.อุบลราชธานี เขต 4
โรงเรียนบ้านป่ากล้วย สพป.ขอนแก่น เขต 5 

โรงเรียนเทพา สพม. เขต 16

การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม และครูผู้สอนเปลี่ยนวิถีในการวางแผนการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ใช้วิจัยเป็นฐานพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ การสอน และการบริหารจัดการ เป็นการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงห้องเรียนและโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับนโยบายของ สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์ชาติ



ขั้นตอนการดำเนินงานที่ผ่านมามีดังนี้: 1) ศึกษาสภาพปัญหา เอกสาร ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2) วางแผนการวิจัย จัดทำกรอบแนวคิด และจัดทำร่าง “แนวทางการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานของ สพฐ.” พร้อมทั้งจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3) ประชุมวางแผนการปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม 4) ปฏิบัติการวิจัยภาคสนามโดยนำแนวทางการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานของ สพฐ. สู่โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 5) กำกับ ติดตาม เติมเต็มการดำเนินงานวิจัยของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย สะท้อนผลการดำเนินงานของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 6) เก็บข้อมูล ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐานของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย และ 7) ประชุมปฏิบัติการสรุปรายงานโครงการวิจัยของ สพฐ. และโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งก็คือ workshop ที่จะจัดระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2562 นี้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการวิจัย: 1) ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในระดับสพฐ./สพท./โรงเรียน 2) ผู้บริหารและครู มีแนวทางในการบริหารจัดการ การพัฒนาครู และการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนในการใช้การวิจัยพัฒนานวัตกรรม 3) ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาได้ทุกระดับ 4) นักเรียนมีแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและพัฒนาไปสู่ความเป็นวัตกร 5) ผลการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายจะเป็นกรณีศึกษาหรือต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษาทั่วไป



คณะทำงานโครงการวิจัย:  1) ทีมนักวิชาการส่วนกลาง นายไตรรงค์ เจนการ (ข้าราชการบำนาญ) นางสาวประภาพรรณ เส็งวงศ์ (ข้าราชการบำนาญ) นางบัวบาง บุญอยู่ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. นายพิทักษ์ โสตถยาคม นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ และนางสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล นักวิชาการศึกษาชำนาญการ 2) ทีมศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่ นางธนชพร ตั้งธรรมกุล  สพม. เขต 16 นายประสิทธิ์  กะตะศิลา สพป.ลำพูน เขต 1 นางสาวนิภา สุขพิทักษ์ สพป.กาญจนบุรี เขต 2 นางสาวณัฐวดี ชูศรี สพป.สงขลา เขต 1 นายศิขริน  ตันเจียง สพป.ขอนแก่น เขต 5 และนางณัฐหทัย กอลล์ สพป.อุบลราชธานี เขต 4








Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม และสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล
Photo credit: นักวิจัยและคณะครู 6 โรงเรียน