ผลการศึกษาดูงานด้านการวิจัย
Benesse Educational Research and
Development Center
วันที่ 19 กรกฎาคม 2555
พิทักษ์
โสตถยาคม
|
สิ่งที่ประธานศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเบเนสเซ
ยกขึ้นมานำเสนอทีมงานของเราคือ ผลการสำรวจข้อมูลทางการศึกษา 6 ประเด็น ได้แก่
|
(1) ทุกปีที่มีการสำรวจ
พบว่า นักเรียนประถมศึกษามากกว่าร้อยละ 50 ชอบวิชาภาษาญี่ปุ่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ส่วนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายมีร้อยละของผู้ที่ชอบวิชาต่างๆ
ไม่ถึงร้อยละ 50 (น้อยสุดร้อยละ 34.7 และมากที่สุดร้อยละ 53.1) ยกเว้นวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นชอบร้อยละ
52.8 (ปี 1996) และร้อยละ 53.1 (ปี 2006)
(2) เมื่อพิจารณากลุ่มนักเรียนที่ชอบแต่ละวิชา พบว่า
นักเรียนประถมศึกษาชอบวิชาต่างๆ มากกว่ากลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
และกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนั้นพบว่า
กลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีร้อยละของความชอบวิชาต่างๆ น้อยที่สุด
ยกเว้นวิชาภาษาญี่ปุ่นที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชอบมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
(3) เมื่อพิจารณาวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า
นักเรียนประถมศึกษามีความชอบถึงร้อยละ 68.2-71.4
ซึ่งมากกว่าความชอบวิชาภาษาญี่ปุ่นและคณิตศาสตร์
ส่วนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายก็มีร้อยละของนักเรียนที่ชอบเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงปีที่มีการสำรวจ
(4) ร้อยละของนักเรียนประถมศึกษาชอบคณิตศาสตร์ในปี 2006 มากกว่าปี 1990
และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นชอบคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในปี 2006 พอๆ
กันกับปี 1996
|
|
|
|
|
นอกจากนำเสนอภาพรวมของการดำเนินงานของศูนย์ฯ
แล้ว ประธานศูนย์ฯ
ได้ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลโครงการด้าน ICT มาเล่าให้ฟังด้วยว่า
ทางศูนย์ฯ ได้จัดทำ LMS (Learning Management System) ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนการสอน
เขาเรียกระบบนี้ว่า Plus I ในระบบนี้มีส่วนของบทเรียน
การฝึกปฏิบัติ ผลการเรียน และตัวช่วยต่างๆ เขาบอกว่า
ระบบนี้เมื่อเปรียบเทียบกับแบบปกติ (แบบ Paper) แล้วดีกว่า
และเขาได้สร้างเกม social networks
ขึ้นมา เป็นเกมที่เล่นง่าย
เป็นช่องทางให้เด็กได้สื่อสารกับเพื่อน มีภารกิจให้เด็กได้เก็บแต้ม
มีเป้าหมายเล็กๆ ให้เด็กได้บรรลุ มีโบนัส เพื่อให้จูงใจให้เด็กได้เล่นต่อ
ซึ่งเขาก็มีโจทย์วิจัยว่า เกมนี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้และใช้ ICT (เกม และPlus i) อย่างต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
และผลก็ออกมาดี เด็กเกรด 7 สามารถสื่อสารกับเพื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และมีผลการเรียนรู้เนื้อหาวิชาได้ดีขึ้นด้วย
1.ลักษณะการวิจัยของภาคเอกชนมีเป้าหมายในเชิงธุรกิจเพื่อให้หน่วยงานมีผลประกอบการที่ดี
และมีรายได้จากการขายสินค้นหรือจากการบริการ ดังนั้น จะเห็นว่า
เมื่อบริษัทต้องการขายผลิตภัณฑ์ใด เขาก็จะศึกษาวิจัย และเก็บข้อมูล เพื่อนำมาสนับสนุนแนวคิดและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่บริษัทสร้างขึ้น
กรณีนี้ก็เช่นกัน บริษัทมี LMS หนึ่งตัว
และต้องการขายระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนนี้ให้กับผู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพัฒนาเด็ก
ทั้งกลุ่มผู้ปกครองและหน่วยงานทางการศึกษา เขาจึงเก็บข้อมูลทั้งเรื่องลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ของเด็ก
ศึกษาสิ่งจูงใจให้เด็กหันมาสนใจ LMS ตัวนี้มากขึ้น ศึกษาความชอบ/ความเข้าใจในวิชาที่เด็กเรียน
ฯลฯ
ทั้งนี้เพื่อบริษัทได้ข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจของตนเองให้สามารถตอบสนองความสนใจและความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ดีขึ้น
และบริษัทน่าจะทำกำไรจากการดำเนินธุรกิจมากขึ้นด้วย
2.ทีมงานที่ร่วมคณะไปดูงานด้วยกัน
ได้พูดถึงประเด็น/ โจทย์/ เรื่อง ที่ สพฐ. ควรจะดำเนินการวิจัย บ้างก็เห็นว่าควรวิจัยด้าน
ICT/ Tablet/ เกมแบบใดจะเหมาะกับเด็กแต่ละวัย บ้างก็เห็นว่าไม่ควรรีบสรุปว่าควรจะทำเรื่องใด
แต่ควรศึกษาปัญหาที่แท้จริงของเด็กไทยแล้วค่อยหาหนทางพัฒนา
ซึ่งผมเห็นด้วยกับการมองไปถึงลักษณะเด็กไทยที่จะอยู่รอดในสังคม
เด็กจะต้องมีทักษะการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง ทักษะต่างๆ
ที่เขาพูดกันเกี่ยวกับศตวรรษที่ 21 สิ่งสำคัญคือเราต้องช่วยให้เด็กมีลักษณะเช่นนั้น
ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนบทบาททั้งครู ผู้ปกครอง ผู้บริหาร
และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ดังนั้น
การวิจัยจึงควรกำหนดโจทย์เพื่อมุ่งเป้าหมายไปที่การสนับสนุนส่งเสริมเด็กให้มีทักษะเหล่านั้น
3.สิ่งที่น่าสนใจคือ
การสำรวจในประเด็นสำคัญๆ อย่างต่อเนื่อง เขาสำรวจทุก 5-6 ปี/ครั้ง
ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลและแนวโน้มชัดเจน ผมเห็นการเก็บข้อมูลแบบนี้ในบ้านเราเหมือนกัน
ที่ทำโดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ สถาบันรามจิตติ
ที่มีการติดตามสภาวการณ์ด้านเด็กและเยาวชนไทย
แต่ทีมงานที่ไปด้วยกันก็ตั้งข้อสังเกตว่า ประเด็นที่บริษัทนี้สำรวจเป็นประเด็นเชิงบวก
ซึ่งต่างจากประเด็นที่สถาบันรามจิตติที่เป็นประเด็นเชิงลบ
อย่างที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ.
ในสัปดาห์นี้ก็มีเรื่องการติดตามสภาวการณ์การเบิกจ่ายงบประมาณของสำนักต่างๆ
ซึ่งทำโดย สคส. ซึ่งก็ทำให้เกิดความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณได้ดี
ดังนั้น การสำรวจประเด็นทางการศึกษาที่เรามุ่งสนใจเป็นระยะๆ
ก็เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาดำเนินการ เช่น อาจเริ่มจากประเด็นฮอต “แท็ปเล็ต”
โดยสำรวจจากเด็กเกี่ยวกับลักษณะการใช้ เวลาที่ใช้ เรื่องที่เรียน ความชอบ ฯลฯ
ข้อมูลที่ได้จากเด็กจากทุกเขต
ก็จะทำให้เห็นภาพการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในโรงเรียนและห้องเรียน
--------------------------------------------