หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

เมืองหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา: เตรียมประเมินการจัดงาน

เมืองหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา: เตรียมประเมินการจัดงาน
พิทักษ์ โสตถยาคม

       วันที่ 2 กันยายน 2556 ผมร่วมประชุมคณะทำงานจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนงานอาชีพในโรงเรียนโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ “เมืองหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา ครั้งที่ 2 ปี 2556” ณ ห้องประชุม สพฐ. อาคาร สพฐ.5 ชั้น 9 มี ผอ.วันเพ็ญ สุจิปุตโต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธาน การประชุมครั้งนี้เป็นการซักซ้อมความเข้าใจของคณะทำงานแต่ละฝ่าย และเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานจริง ในวันที่ 4-6 กันยายน 2556 ผมเป็นกรรมการอยู่ในคณะทำงานฝ่ายประเมินผลและจัดทำสรุปรายงาน ได้นำเสนอสิ่งที่ได้วางแผนการประเมินต่อที่ประชุม และได้ทราบว่าประธานคณะทำงานฝ่ายประเมินผลและจัดทำสรุปรายงาน (นายบุญพร้อม แสนบุญ รอง ผอ.สพป.ตาก เขต 1) ได้จัดทำเครื่องมือประเมินและมอบให้คณะทำงานอำนวยการเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ผมจึงได้หารือกับประธานคณะทำงานฝ่ายประเมินผลฯ และสรุปว่าจะใช้เครื่องมือที่ประธานคณะทำงานฯ จัดทำมา

        อย่างไรก็ตาม (ร่าง) ข้อเสนอการประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียน ที่ผมได้ยกร่างไว้ ก็ขอนำมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

ชื่อโครงการ:    การประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียน
ผู้รับผิดชอบ:    คณะทำงานประเมินผลและจัดทำสรุปรายงาน ประกอบด้วย     
บุญพร้อม แสนบุญ
ประธานกรรมการ
พิทักษ์ โสตถยาคม
กรรมการ
ผกาภรณ์ พลายสังข์
รองประธานกรรมการ
อรพิณ ไกรดิษฐ์
กรรมการ
วราภรณ์ เฉิดดิลก
กรรมการ
วัชรินทร์ ทองวิลัย
กรรมการ
ไพฑูรย์ เจริญประโยชน์
กรรมการ
วาสนา กรเกตุ
กรรมการ
นงนุช อุทั้ยศรี
กรรมการ
รุ่งอรุณ หัสชู
กรรมการและเลขานุการ
สุวรรณ หลายกิจพานิช
กรรมการ
ไพรวรรณ ตระกูลชัยชนะ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ปรีชา ปัญญาดี
กรรมการ
วสันต์ สุทธาวาศ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล
กรรมการ
ศรัญญา โชติ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หลักการและเหตุผล

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียน ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในปีนี้ใช้ชื่องาน “เมืองหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา ครั้งที่ 2 ปี 2556” จัดขึ้นในวันที่ 4-6 กันยายน 2556 ณ บริเวณถนนลูกหลวง เลียบคลองผดุงกรุงเกษม ตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์จนถึงเชิงสะพานวิศสุกรรมนฤมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพ โชว์ศักยภาพด้านการอาชีพของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการสอนอาชีพ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดรายได้ สร้างความตระหนักในคุณค่าการสอนอาชีพในโรงเรียนให้กับผู้เข้าชมงาน รวมทั้งเป็นการติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง 1 ทศวรรษ สพฐ. ด้วย
       คำถามการประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียน มีดังนี้
1.  การจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียนครั้งนี้มีประสิทธิผลระดับใด
2.  การจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียนครั้งนี้มีความพึงพอใจของผู้ชมงานระดับใด
3.  การจัดงานเผยแพร่ผลงานการสอนอาชีพในโรงเรียนครั้งนี้มีจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
       การประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียนมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้
       1. เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดงาน
       2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ชมงาน
       3. เพื่อศึกษาจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาการจัดงาน
นิยามศัพท์
        ประสิทธิผลของการจัดงาน หมายถึง ทัศนะของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับผลงานการสอนอาชีพ ศักยภาพด้านการอาชีพของนักเรียน แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการสอนอาชีพ การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ และความตระหนักในคุณค่าการสอนอาชีพในโรงเรียน ว่าปรากฏผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด วัดจากมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ
       ความพึงพอใจของผู้ชมงาน หมายถึง ความรู้สึกของผู้ชมงานเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า/ผลิตภัณฑ์ คุณภาพของการให้บริการ กิจกรรมการสอนอาชีพระยะสั้น การสาธิตการทำงานของนักเรียน และความสามารถของนักเรียนในการจำหน่ายสินค้า ว่ารู้สึกชอบมากน้อยเพียงใด วัดจากมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ
       
วิธีการประเมิน
       คณะทำงานประเมินผลและจัดทำสรุปรายงานได้กำหนดกรอบแนวทางการประเมินผลการจัดงานเผยแพร่ผลงานอาชีพในโรงเรียนไว้ดังนี้
วัตถุประสงค์
ตัวแปร
แหล่งข้อมูล
วิธีเก็บข้อมูล
การวิเคราะห์/ เกณฑ์ประเมิน
ผู้จัดงาน
ผู้ชมงาน
นร.
ครู
กรรมการ
1. เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดงาน
-ผลงานการเรียนการสอนอาชีพ
-ศักยภาพด้านการอาชีพของนักเรียน
-แรงจูงใจพัฒนาคุณภาพการสอนอาชีพ
-การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างรายได้
-ความตระหนักในคุณค่าการสอนอาชีพในโรงเรียน
P
P
P
P
-สอบถามด้วยแบบสอบถาม

-หาความถี่และร้อยละ
-ร้อยละ 80 ของผู้ตอบ ระบุแต่ละรายการ ไม่น้อยกว่าระดับมาก
2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ชมงาน
-คุณภาพของสินค้า/ผลิตภัณฑ์
-คุณภาพของการให้บริการ
-กิจกรรมการสอนอาชีพระยะสั้น
-การสาธิตการทำงานของนักเรียน
-ความสามารถของนักเรียนในการเรียนรู้งานอาชีพ
-
-
-
P
-สอบถามด้วยแบบสอบถาม
-หาความถี่และร้อยละ
-ร้อยละ 80 ของผู้ตอบ ระบุแต่ละรายการ ไม่น้อยกว่าระดับมาก
3. เพื่อศึกษาจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาของการจัดงาน
-จุดเด่นของการจัดงาน
-จุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาของการจัดงาน
-
P
P
P
-สอบถามด้วยแบบสอบถาม
-ประชุมกลุ่มผู้จัดงาน
-วิเคราะห์เนื้อหา

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
       หาความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์การประเมิน
-------------------------------